พฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช (endophytic oviposition) แสดงกลยุทธ์การสืบเผ่าพันธุ์อันสลับซับซ้อนของแมลง โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นจากการที่แมลงใช้กลไกการวางไข่แบบพิเศษ ซึ่งช่วยปกป้องไข่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการซุกซ่อนในเนื้อเยื่อพืช
เฝิงจัว นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน และทีมงาน ซึ่งทำการวิจัยภาคสนามระยะยาว ได้เก็บรวบรวมซากฟอสซิลพืชสภาพดีจำนวนมากในเมืองจื้อกง มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
ผลการศึกษาซากฟอสซิลข้างต้นพบหลักฐานฟอสซิลร่างกายของแมลงที่มีพฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการล่ากินไข่ โดยนักวิจัยศึกษารูในไข่และพบของเหลวในไข่ถูกกินโดยแมลงชนิดอื่นๆ
เฝิงกล่าวว่าของเหลวในไข่มีสารบำรุงกำลัง และการที่แมลงชนิดอื่นๆ สามารถค้นหาจนเจอไข่ที่ซุกซ่อนอยู่ในใบไม้เช่นนี้หมายความว่าพวกมันมีระบบประสาทดมกลิ่นหรือมองเห็นที่พิเศษ
“การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการกินของเหลวในไข่เป็นประโยชน์ต่อการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมทั้งสองปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อน” เฝิงกล่าว
อนึ่ง การค้นพบนี้เผยแพร่ทางออนไลน์ผ่านวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี (Current Biology) เมื่อวันอังคาร (8 พ.ย.) ที่ผ่านมา
点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/science/2022-11/09/c_1310674959.htm
อ่านข่าวภาษาอังกฤษ http://english.news.cn/20221109/03da97f78e2b41cd9a7520a7b4d212f7/c.html
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/319797_20221111
ขอบคุณภาพจาก Xinhua
(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพฟอสซิลพืชที่แมลงวางไข่)