ชัวร์ก่อนแชร์: ไก่บ้านออกไข่ลดลง ตามแผนดัดแปลงอาหารไก่ จริงหรือ?

29 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับการขึ้นราคาไข่เผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างสาเหตุที่ไข่ไก่ในสหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้น ตามแผนการที่ร่วมมือกันระหว่างอุตสาหกรรมอาหารไก่และอุตสาหกรรมไข่ไก่ ในการปรับเปลี่ยนสูตรอาหารไก่อย่างจงใจเพื่อให้ไก่หยุดออกไข่ ส่งผลกระทบต่อผู้เลี้ยงไก่ในสวนหลังบ้านที่ผลิตไข่ได้น้อยลง และต้องไปซื้อไข่จากผู้ผลิตรายใหญ่ที่โก่งราคาในช่วงที่ไข่ไก่ขาดแคลนระหว่างไข้หวัดนกระบาด บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ไม่มีหลักฐานการเปลี่ยนสูตรอาหารไก่ อย่างไรก็ดี เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารไก่ที่ถูกโจมตีทางออนไลน์ต่างยืนยันว่าไม่มีการเปลี่ยนสูตรอาหารไก่แต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ด้านการเกษตรในหลายรัฐของสหรัฐฯ ไม่พบรายงานปัญหาการผลิตไข่ไก่ที่เกี่ยวข้องกับอาหารไก่ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าการเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นเรื่องยาก เพราะมีหน่วยงานตรวจสอบคุณภาพอาหารไก่ให้เป็นไปตามข้อมูลที่กำหนดไว้บนบรรจุภัณฑ์ แม้ในอดีตจะมีการเรียกคืนอาหารสัตว์ที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีสมคบคิดเรื่องการดัดแปลงสูตรอาหารให้ไก่หยุดออกไข่อย่างแน่นอน ปัจจัยทำให้ไก่หยุดออกไข่ ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า สาเหตุที่ทำให้ไก่ในสวนหลังบ้านออกไข่ลดลงมี 2 ปัจจัย ได้แก่ ปริมาณแสงและการผลัดขนไก่ในช่วงฤดูหนาว เคน แอนเดอร์สัน ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมสัตว์ปีก มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตท อธิบายว่า ไก่จะออกไข่อย่างสม่ำเสมอ หากได้รับปริมาณแสงอย่างน้อย 14 ชั่วโมงต่อวัน แต่ในช่วงฤดูหนาวซึ่งตอนกลางวันสั้นกว่าตอนกลางคืน การเลี้ยงไก่ในสวนหลังบ้านซึ่งพึ่งพาแสงธรรมชาติและไม่สามารถควบคุมปริมาณแสงได้เหมือนอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ในระบบปิด จะส่งผลให้ไก่ออกไข่ที่น้อยลงได้ นอกจากนี้ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงคือช่วงที่ไก่ทำการสลัดขน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไข่แดงป้องกันโควิด-19 ได้ จริงหรือ?

26 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จพยายามเชื่อมโยงวิกฤตขาดแคลนไข่ไก่ปี 2023 กับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าสาเหตุที่ไข่ไก่ขาดแคลนอย่างหนักในหลายประเทศช่วงปี 2023 เนื่องจากมีรายงานพบความสำเร็จในการผลิตไข่แดงที่สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ นำไปสู่แผนการทำลายสัตว์ปีกอย่างแพร่หลายเพื่อขัดขวางประชาชนเข้าถึงไข่ไก่แทนการใช้วัคซีน จนนำไปสู่สภาวะขาดแคลนไข่ไก่ไปทั่วโลก บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : การทดลองใช้แอนติบอดีจากไข่แดงยับยั้งไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยง ข้ออ้างเรื่องไข่แดงป้องกันโควิด-19 ได้ นำมาจากงานวิจัยที่ทดลองฉีดโปรตีนหนามของไวรัสโควิด-19 ไปในตัวแม่ไก่ เมื่อไข่ถูกฟัก จึงสกัดเอาแอนติบอดีจากไข่แดงของไก่ที่ได้รับโปรตีนหนามมาทดลองกับเซลล์เพาะเลี้ยงที่ถูกทำให้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทีมวิจัยพบว่า แอนติบอดีจากไข่แดงของไก่ที่ได้รับโปรตีนหนาม สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยง ต่างจากแอนติบอดีของไข่แดงจากแม่ไก่ทั่วไปที่ใช้ไม่ได้ผล ไข่ไก่ทั่วไปป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ จากการทดลองสามารถบอกได้ว่า แอนติบอดีจากไข่แดงของไก่ที่ได้รับโปรตีนหนามเท่านั้น ที่สามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยง ดังนั้นไข่ไก่ทั่วไปที่จำหน่ายในท้องตลาด ไม่สามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 ได้ กินไข่มีแอนติบอดีก็ป้องกันโควิด-19 ไม่ได้ แม้ไข่แดงที่มีแอนติบอดีไวรัสโควิด-19 จะสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ในเซลล์เพาะเลี้ยงได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กินไข่เสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันในหัวใจ จริงหรือ?

24 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการกินไข่ไก่เผยแพร่ทาง Facebook และเว็บไซต์ในสหรัฐอเมริกา เมื่อมีการอ้างว่าพบงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าการกินไข่ไก่คือสาเหตุทำให้ชาวอเมริกันมีอาการลิ่มเลือดอุดตันหลายพันราย บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้ออ้างที่เผยแพร่ทางออนไลน์ นำมาจาก NewsPunch หรือ The People’s Voice เว็บไซต์ที่มีประวัติเผยแพร่ข่าวปลอมบ่อยครั้ง โดยบทความอ้างงานวิจัยที่พบว่า โคลีน (Choline) สารที่อยู่ในไข่แดงคือตัวการทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจจากลิ่มเลือดอุดตัน Choline โคลีน (Choline) คือสารที่จำเป็นต่อร่างกาย และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ วงการแพทย์เคยจัดให้โคลีนเป็นหนึ่งในวิตามินบี 4 แม้ร่างกายสามารถผลิตโคลีนได้เอง แต่มีในปริมาณน้อย จึงจำเป็นต้องได้รับโคลีนที่มีอยู่ในอาหาร ได้แก่ เนื้อแดง ไข่แดง ผลิตภัณฑ์จากนม และถั่วต่าง ๆ การขาดโคลีนนำไปสู่โรคไขมันพอกตับและการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ แต่หากได้รับโคลีนมากเกินไป นำไปสู่ปัญหาความดันต่ำ ท้องเสีย และการมีกลิ่นตัวเหมือนกลิ่นปลา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การกินไข่กับความเสี่ยงโรคหัวใจ (2024)

22 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อสงสัยเรื่องการบริโภคไข่กับความเสี่ยงการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ กลายเป็นประเด็นโต้เถียงมาอย่างยาวนาน เนื่องจากมีข้อสรุปที่พบว่าการกินไข่ส่งผลเสียต่อหัวใจ กินไข่ส่งผลดีต่อหัวใจ และการกินไข่ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อโรคหัวใจ อย่างไรก็ดี การวิจัยเกี่ยวกับการบริโภคไข่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับไข่และสุขภาพมีความชัดเจนมากกว่าการศึกษาไข่กับผลกระทบต่อโรคหัวใจในอดีตที่ผ่านมา คอเลสเตอรอลและไขมันในไข่ แคลอรีครึ่งหนึ่งที่ได้รับจากการกินไข่ มาจากไขมันที่อยู่ในไข่แดง ไขมันในไข่แดงประมาณ 2 ใน 3 คือไขมันไม่อิ่มตัว ส่วน 1 ใน 3 คือไขมันอิ่มตัว ไข่ไก่ทั่วไปจะมีปริมาณคอเลสเตอรอลสูงประมาณ 200 มิลลิกรัม ในขณะที่ไข่แดงอุดมไปด้วยคอเลสเตอรอล แต่ไข่ขาวมีไขมันอยู่เพียง 0.2% และไม่มีคอเลสเตอรอลเลย โทษของไข่แดงกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ? ปี 2021 มีบทความวิชาการตีพิมพ์ทางวารสารของสมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา (American Heart Association) ในหัวข้อ Cardiovascular Harm From Egg Yolk and Meat : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไข่เบอร์ไหนดี ที่เหมาะกับเรา จริงหรือ ?

จากกรณีมีการแชร์คำแนะนำเรื่องการเลือกไข่ ว่าขนาดหรือเบอร์ไหนที่เหมาะกับเรานั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับ รศ.ดร.ประไพศรี ศิริจักรวาล ที่ปรึกษาสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ Q : มีไข่ที่เหมาะกับกลุ่มใดเป็นพิเศษ จริงหรือ ?A : ไม่จริง เบอร์ของไข่มีความต่างกันเรื่องสารอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องเจาะจงว่าไข่เบอร์ไหนเหมาะกับใคร Q : ไข่ขนาด M หรือ เบอร์ 3 เบอร์ 4 มีคอเลสเตอรอลต่ำ โซเดียมต่ำ ไขมันปานกลาง โปรตีนต่ำ ความเข้มข้นวิตามินสูง จริงหรือ?A : ที่แชร์บอกว่า “คอเลสเตอรอลต่ำ” นั้นยังไม่ถูกต้อง ควรใช้คำว่า “ไข่เบอร์เล็กมีคอเลสเตอรอลต่ำกว่าเบอร์ใหญ่” จึงจะถูกต้อง แต่ถึงอย่างไรไม่ว่าจะเป็นไข่ชนิดไหนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพด้วยกันทั้งนั้น หากกินในปริมาณที่เหมาะสม Q : ไข่ขนาด M เหมาะกับผู้สูงวัย ผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคไต จริงหรือ ?A : […]

ฟอสซิล 200 ล้านปี เผยจุดเชื่อมโยง ‘แมลงวางไข่-แมลงล่าไข่’ ในใบไม้

พฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช (endophytic oviposition) แสดงกลยุทธ์การสืบเผ่าพันธุ์อันสลับซับซ้อนของแมลง โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นจากการที่แมลงใช้กลไกการวางไข่แบบพิเศษ ซึ่งช่วยปกป้องไข่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการซุกซ่อนในเนื้อเยื่อพืช เฝิงจัว นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน และทีมงาน ซึ่งทำการวิจัยภาคสนามระยะยาว ได้เก็บรวบรวมซากฟอสซิลพืชสภาพดีจำนวนมากในเมืองจื้อกง มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ผลการศึกษาซากฟอสซิลข้างต้นพบหลักฐานฟอสซิลร่างกายของแมลงที่มีพฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการล่ากินไข่ โดยนักวิจัยศึกษารูในไข่และพบของเหลวในไข่ถูกกินโดยแมลงชนิดอื่นๆ เฝิงกล่าวว่าของเหลวในไข่มีสารบำรุงกำลัง และการที่แมลงชนิดอื่นๆ สามารถค้นหาจนเจอไข่ที่ซุกซ่อนอยู่ในใบไม้เช่นนี้หมายความว่าพวกมันมีระบบประสาทดมกลิ่นหรือมองเห็นที่พิเศษ “การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการกินของเหลวในไข่เป็นประโยชน์ต่อการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมทั้งสองปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อน” เฝิงกล่าว อนึ่ง การค้นพบนี้เผยแพร่ทางออนไลน์ผ่านวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี (Current Biology) เมื่อวันอังคาร (8 พ.ย.) ที่ผ่านมา 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/science/2022-11/09/c_1310674959.htmอ่านข่าวภาษาอังกฤษ http://english.news.cn/20221109/03da97f78e2b41cd9a7520a7b4d212f7/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/319797_20221111 ขอบคุณภาพจาก Xinhua (แฟ้มภาพซินหัว : ภาพฟอสซิลพืชที่แมลงวางไข่)

เกาหลีเหนืออ้างไม่มีคนเป็นไข้รายใหม่แล้ว

เปียงยาง 30 ก.ค.- เกาหลีเหนือแจ้งในวันนี้ว่า ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการไข้รายใหม่เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ยอมรับในเดือนพฤษภาคมว่า พบผู้ติดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในประเทศเป็นครั้งแรก และมีผู้เสียชีวิต ศูนย์ต่อต้านการระบาดฉุกเฉินของเกาหลีเหนือแจ้งผ่านสื่อทางการว่า ไม่พบผู้ป่วยที่มีไข้ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ส่วนยอดผู้ป่วยมีไข้สะสมอยู่ที่ 4 ล้าน 8 แสนคน ซึ่งหายดีแล้วร้อยละ 99.99 และมีผู้เสียชีวิตคงเดิมที่ 74 คน อัตราการเสียชีวิตเท่ากับร้อยละ 0.0016 เกาหลีเหนือแจ้งพบผู้ป่วยมีไข้ลดลงอย่างฮวบฮาบ จากที่เคยสูงสุดถึงวันละ 400,000 คนในเดือนพฤษภาคม เหลือ 11 คน และ 3 คน เมื่อวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ที่ผ่านมา และมีผู้ป่วยมีไข้เพียงจำนวนน้อยที่เกาหลีเหนือยืนยันว่า เป็นผู้ป่วยโควิด ผู้เชี่ยวชาญมองว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่า เกาหลีเหนือจะประกาศว่ามีชัยชนะเหนือโควิดอย่างเป็นทางการและยกเลิกมาตรการจำกัดเมื่อใด เพราะอาจเสียหน้าได้หากโรคกลับมาระบาดใหม่ดังที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ อย่างไรก็ดี การอ้างว่าไม่พบผู้ป่วยที่มีไข้รายใหม่มีความหมายสำคัญเชิงสัญลักษณ์ในการสร้างภาพลักษณ์ของนายคิม จอง-อึน ผู้นำประเทศว่า สามารถควบคุมการระบาดได้รวดเร็วกว่าประเทศอื่น เพราะเขาต้องระดมเสียงสนับสนุนจากประชาชนในการเอาชนะความยากลำบากทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการปิดพรมแดนเพราะโควิดและมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ.-สำนักข่าวไทย

เกาหลีเหนือพบผู้มีอาการไข้กว่า 200,000 ราย

เกาหลีเหนือรายงานวันนี้ว่ามีคนไข้รายใหม่มากกว่า 100,000 ราย ที่มีอาการไข้ เป็นวันที่ 5 ติดต่อกัน ในขณะที่เกาหลีเหนือกำลังพยายามรับมือกับการระบาดของไวรัสโรคโควิด-19 ที่มีการยืนยันการระบาดอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก

“จุรินทร์” เบรกขึ้นราคาไข่-เนื้อไก่ หวั่นผู้บริโภคเดือดร้อนหนัก

รัฐมนตรีพาณิชย์เบรกขึ้นราคาไข่-เนื้อไก่ หวั่นผู้บริโภคเดือดร้อนหนัก สั่งกรมการค้าภายในติดตามใกล้ชิด เตรียมเสนอของบกลางแก้ปัญหาหมูแพง

กรีซร้อนจนทอดไข่สุก

คลื่นความร้อนถล่มกรีซแรงสุดในรอบกว่า 30 ปี ระบบไฟฟ้าใกล้ล่ม อะโครโพลิส เปิดรับนักท่องเที่ยวแค่ครึ่งวัน คาดอุณหภูมิพุ่งสูงสุด 46 องศาเซลเซียส ร้อนจัดจนทอดไข่ดาวสุกด้วยแดดเปรี้ยง ๆ

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไข่เป็ดเสี่ยงเชื้อไทฟอยด์ ต้องกินสุกสนิทเท่านั้น จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์คำเตือนว่า ไข่เป็ดปนเปื้อนเชื้อไทฟอยด์ ต้องกินแบบสุกเท่านั้น แต่ไข่ไก่ไม่มีเชื้อโรคปน เลยกินแบบลวก แบบลาวา แบบยางมะตูมได้ ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

1 2 3
...