fbpx

สาวอิหร่านหลงใหลในวัฒนธรรมลี่เจียง

ยูนนาน 10 เม.ย.- สตรีชาวอิหร่านคนหนึ่งหลงใหลในวัฒนธรรมลี่เจียงของจีน ถึงกับย้ายมาอยู่หลังจากสำเร็จการศึกษา ยูนนานเดลี่รายงานเรื่องราวของ “หลานหลาน” สตรีชาวอิหร่านที่ตัดสินใจตั้งรกรากในเมืองลี่เจียง มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน หลังจากเรียนจบที่มหาวิทยาลัยหนิงโป มณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน เพราะติดใจในสภาพภูมิอากาศของยูนนานที่น่ารื่นรมย์ วัฒนธรรมชาติพันธุ์ที่หลากหลาย และอาหารที่แสนอร่อย หลานหลานเผยว่า  หากต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมลี่เจียงให้ลึกซึ้งถ่องแท้ จะต้องศึกษาวรรณกรรมโบราณ ภาพวาดโบราณ และดนตรีโบราณไปพร้อมกันด้วย เธอเรียน “ดนตรีโบราณน่าซี” จากอาจารย์ที่เป็นชายหนุ่มชาวน่าซี และพยายามฝึกซ้อมจนได้แสดงร่วมกับนักดนตรีโบราณมืออาชีพในห้องแสดงดนตรีโบราณน่าซี ดนตรีโบราณน่าซี เป็นวัฒนธรรมดนตรีของชนชาติน่าซีในเมืองลี่เจียง มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า มีต้นกําเนิดในศตวรรษที่ 14 จัดเป็นดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในมณฑลยูนนาน และของประเทศจีน นอกจากนี้สาวอิหร่านรายนี้ยังได้ถ่ายคลิปแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตในเมืองลี่เจียงลงในติ๊กต็อก เช่น การเรียนดนตรีโบราณน่าซี ประสบการณ์การเป็นชาวสวนผลไม้ การเรียนร้องเพลงคลาสสิกของชนชาติลีซอ การเข้าร่วมงานแต่งงานของชาวน่าซี และการลองใส่ชุดน่าซี.-814.-สำนักข่าวไทย

สาวยูนนานเปิดโลกใหม่ให้สินค้าเกษตรที่ราบสูงจีน

ยูนนาน 29 มี.ค.- สาวชาวมณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการทำให้สินค้าเกษตรจากที่ราบสูงของจีนเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น จั๋วจั่ว สาวชาวยูนนานวัย 28 ปี และเพื่อน ๆ เริ่มต้นทำงานกันอย่างขะมักเขม้นตั้งแต่พระอาทิตย์เพิ่งขึ้นได้ไม่นาน เธอจบการศึกษาจากวิทยาลัยสาธารณสุขต้าหลี่ และเริ่มต้นเส้นทางการทำงานที่หลากหลาย เช่น พนักงานโรงพยาบาล ร้านขายยา และเคยเปิดร้านขายชานม สุดท้ายเธอเลือกที่จะทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซร่วมกับหนุ่มสาวคนอื่น ๆ ในยุคที่อินเตอร์เน็ตกำลังมาแรง จั๋วจั่วกลับมาที่บ้านเกิดในอำเภอเวยซานในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 และใช้อินเทอร์เน็ตในการพัฒนาหมู่บ้าน จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดมา เธอเริ่มโพสต์คลิปเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในเวยซาน คลิปของเธอได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักของผู้คนมากขึ้น จากจุดนี้เองจั๋วจั่วจึงเล็งเห็นโอกาสและเริ่มต้นทำธุรกิจไลฟ์สดขายสินค้าออนไลน์ เธอเลือกขายวอลนัทที่เป็นของดีประจำอำเภอ และมีลูกค้าสนใจจากทั่วประเทศ การไลฟ์สดวอลนัทของเธอมีอัตราการซื้อซ้ำมากถึงร้อยละ 25 เธอใช้เวลาแค่เดือนกว่าก็สามารถขายวอลนัทได้มากกว่า 50 ตัน เธอเผยว่า ทุกวันคือการเริ่มต้นใหม่ และทุกวันต้องเผชิญกับความท้าทายและความยากลําบากที่แตกต่างกัน แต่ก็พร้อมที่จะต่อสู้และก้าวไปข้างหน้า ในอนาคตเธอจะทำคลิปเผยแพร่ให้ผู้ชมได้รับรู้ว่าอำเภอเวยซานยังมีผลิตภัณฑ์ดี ๆ อีกมากมาย.-814.-สำนักข่าวไทย

ธุรกิจเที่ยวชมดอกซากุระกระตุ้นการบริโภคในจีน

ยูนนาน 29 มี.ค.- การเที่ยวชมดอกซากุระกำลังเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจํานวนมากในจีน และกําลังปลุกกระแสการบริโภคในช่วงฤดูใบไม้ผลิในจีน ยูนนานเดลีรายงานว่า เดือนมีนาคมและเมษายนเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในการเที่ยวชมดอกไม้ของประเทศจีน โดยเฉพาะดอกซากุระ ข้อมูลจากเหม่ยถวน แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชื่อดังของจีน และต้าจ้งเตี่ยนผิง แอปพลิเคชั่นไลฟ์สไตล์ยอดฮิตของชาวจีนพบว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม (จนกระทั่งถึงวันที่ 21 มีนาคม) คำค้นหาเกี่ยวกับ “ซากุระ” เพิ่มขึ้นร้อยละ 146 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเมืองที่ได้รับการค้นหามากที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ อู่ฮั่น เซี่ยงไฮ้ หางโจว ปักกิ่ง ซูโจว อู๋ซี เฉิงตู ฉงชิ่ง ซีอาน และคุนหมิง ดอกซากุระไม่เพียงช่วยตกแต่งภูมิทัศน์ให้ถนนในฤดูใบไม้ผลิสวยงาม ยังช่วยผลักดันการท่องเที่ยวในเขตเมืองและกระตุ้นการบริโภคอีกด้วย ตามข้อมูลจากเหม่ยถวน และต้าจ้งเตี่ยนผิงระบุว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม (จนกระทั่งถึงวันที่ 21 มีนาคม) จํานวนคําสั่งซื้อของธุรกิจบริการที่เกี่ยวกับ “ดอกซากุระ” เพิ่มขึ้นมากกว่า 6 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ในจำนวนนี้ ยอดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่เกี่ยวกับดอกซากุระเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้น 16 เท่าเมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ขณะเดียวกันผู้ประกอบการด้านสถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม […]

รู้จัก “วิถีชีวิตสไตล์ยูนนาน”

ยูนนาน 19 มี.ค.- มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนมีวิถีชีวิตที่เป็นรูปแบบของตนเอง ท่ามกลางกระแสท่องเที่ยวที่คึกคักและการดำรงชีวิตที่มีความสุข ยูนนานเดลีรายงานว่า นายหวังหนิง ผู้แทนประชาชนและเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำมณฑลยูนนาน ได้เขียนบทความถึงชาวเน็ตเมื่อไม่นานมานี้เล่าถึงวิถีชีวิตสไตล์ยูนนานว่า นอกจากกระแสการท่องเที่ยวที่มีความคึกคักแล้ว คนในมณฑลนี้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข เพราะมีการแก้ปัญหาให้แก่ประชาชน เช่น กลุ่มเด็กและคนชรา ให้มีชีวิตที่อยู่ดีมีสุข ทุกปีจะมีชาวยูนนานมากกว่า 15 ล้านคนออกไปทำงานต่างพื้นที่ ส่งผลให้ผู้สูงอายุจํานวนมากประสบปัญหาในการดำรงชีวิตและการรักษาพยาบาล ขณะที่เด็ก ๆ เผชิญปัญหาด้านการศึกษา ความปลอดภัย และสภาพจิตใจ ทางการมณฑลยูนนานจึงได้ออกมาตรการต่าง ๆ เช่น สร้าง “โรงอาหารอิ่มสุข” และ “บ้านสงเคราะห์เด็ก” ในพื้นที่ชนบทและชุมชน ช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องการหุงหาอาหารให้กับผู้สูงอายุจำนวนมาก และสร้างความมั่นใจได้ว่าเด็ก ๆ จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน ทางการได้พัฒนาการท่องเที่ยวในชนบทและส่งเสริมการทำหัตถกรรมโบราณอย่างจริงจัง พัฒนาการเพาะปลูกผลไม้ ดอกไม้ และสมุนไพรจีน เพื่อเปลี่ยนทรัพยากรในชนบทให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีเอกลักษณ์ โดยเมื่อปี 2566 มีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายมากถึงร้อยละ 74.3 สำหรับพัฒนาการดํารงชีวิตของประชาชน.-814.-สำนักข่าวไทย

ภาพของจิตรกรยูนนานได้รับการพิมพ์บนแก้วสตาร์บัคส์

ยูนนาน 11 มี.ค.- ฤดูใบไม้ผลินี้ จิตรกรชาวนายูนนาน 4 คนได้รังสรรค์วาดภาพฤดูใบไม้ผลิและได้รับการพิมพ์ลงบนถ้วยกระดาษของสตาร์บัคส์ นับเป็นครั้งแรกที่ผลงานศิลปะจากคนธรรมดาได้รับการพิมพ์ลงบนถ้วยกระดาษสตาร์บัคส์ของประเทศจีน ยูนนานเดลีรายงานว่า สตาร์บัคส์มีโจทย์เพียงข้อเดียวสำหรับการวาดภาพครั้งนี้คือคําว่า “ฤดูใบไม้ผลิ” จิตรกรชาวนาเหล่านี้อาศัยอยู่ในชนบทของมณฑลยูนนาน จึงเคยเห็นฤดูใบไม้ผลิที่งดงามและสดใสที่สุด เข้าใจความสวยงามของฤดูใบไม้ผลิในแง่มุมที่แตกต่างกันออกไป จั๋ว ลี่ผิง อาศัยอยู่ในนครคุนหมิง เป็นจิตรกรวาดภาพมานานกว่า 20 ปี เธอได้นำ “ภาพการไถหว่านในฤดูใบไม้ผลิ” มาแสดงให้เห็นถึง “ฤดูใบไม้ผลิ” ในผลงานของเธอ ความทรงจําในฤดูใบไม้ผลิที่ยากจะลืมเลือนที่สุดของเธอคือฉากการไถหว่านในฤดูใบไม้ผลิของครอบครัวเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ภาพวัวอ้วนตัวหนึ่งกำลังไถนาอยู่ ข้างๆ มีลูกสุนัขวิ่งเล่นอยู่ ฝ่ายสามีกําลังทํานา ส่วนลูกเล็กสองคนกำลังเล่นซุกซนอยู่แถวนั้น ในทุ่งนายังมีต้นสาลี่ที่กำลังออกดอกสีขาวบานสะพรั่งสวยงามราวกับหิมะสีขาวโพลน หลัว ลี่เจิน จิตรกรผู้สร้างผลงานชื่อ “ทิวทัศน์ในฤดูใบไม้ผลิของแม่น้ำเลาอวี๋เหอ” เป็นชาวคุนหมิงเช่นกัน ทะเลสาบเตียนฉือเป็นแรงบันดาลใจในการวาดภาพของเธอ ปลาจินเสี้ยนปา (ปลาชนิดหนึ่งในทะเลสาบเตียนฉือ) ในภาพวาดเป็นปลาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น ซึ่งเป็นภาพทิวทัศน์ที่แสนประทับใจของเธอ ภาพปลาจินเสี้ยนปา 9 ตัวบ่งบอกถึงความเป็นศิริมงคลและมีเงินมีทองเหลือกินเหลือใช้ทุกปี ส่วนดอกคอสมอสในภาพวาดซึ่งเบ่งบานในช่วงระยะเวลาอันสั้นช่วยเตือนให้ผู้คนหวงแหนช่วงเวลาที่งดงามของฤดูใบไม้ผลิ ซี ฟาเสี่ยน อายุใกล้ 70ปี ผลงานของเขาคือ”ภาพหญิงชาวไตเก็บใบเฟิร์น” เขาเลือกใช้สีชมพูเป็นสีหลักในการวาดภาพ โดยอธิบายว่า […]

ดอกคามิเลียในคุนหมิงบานสะพรั่งต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ

ยูนนาน 4 มี.ค.- ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ดอกไม้นานาพรรณจะเบ่งบานอวดโฉมต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ หนึ่งในนั้นคือ ดอกคามิเลียที่กำลังบานสะพรั่งในวัดจินเตี้ยนหรือวัดตำหนักทอง ที่นครคุนหมิง มณฑลยูนนาน ยูนนานเดลีรายงานว่า คณะกรรมการประจําสภาประชาชนเมืองคุนหมิงกําหนดให้ดอกคามิเลียยูนนานเป็นดอกไม้ประจําเมืองคุนหมิงมาตั้งแต่ปี 2526 มณฑลยูนนานมีประวัติการเพาะปลูกต้นดอกคามิเลียมานาน ขณะที่วัดทั่วเมืองคุนหมิงปลูกต้นดอกคามิเลีย เพราะเมืองนี้มีสภาพดินร่วนซุย มีปริมาณฮิวมัสสูง อีกทั้งเป็นที่ราบสูงศิลาแลงมีสภาพเป็นกรดอ่อน ๆ เหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นดอกคามิเลียยูนนาน ดอกคามิเลียติดอันดับ 1 ใน 8 ดอกไม้ที่มีชื่อเสียงของมณฑลยูนนาน ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ดอกคามิเลียยูนนานมีประวัติการเพาะปลูกมานานกว่า 1,500 ปี และภายในวัดตำหนักทองมีต้นคามิเลียต้นหนึ่งที่ชื่อว่า “ปีกผีเสื้อ” ซึ่งมีรูปร่างคล้ายผีเสื้อหลากสีกำลังสยายปีก บานสะพรั่งหลายร้อยดอกทุกปี ขณะที่ดอกคามิเลียสีแดงเบ่งบานในยามเช้า ก็พลอยทำให้อาณาบริเวณวัดสว่างไสวตามไปด้วย คามิเลียจึงถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “แดงสว่างวัด” สวนตะวันออกของสวนพฤกษศาสตร์คุนหมิง สถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง สภาวิทยาศาสตร์ของจีน เป็นแหล่งรวมพันธุ์ดอกคามิเลียยูนนานที่หลากหลายที่สุด และมีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุดในประเทศจีน ต้นคามิเลียยูนนานที่ปลูกในสวนส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปแล้วดอกคามิเลียจะเริ่มบานตั้งแต่เดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป ช่วงที่เหมาะที่สุดสำหรับการชมคือช่วงเทศกาลตรุษจีน.-814.-สำนักข่าวไทย

ตั้งพันธมิตรสื่อเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ยูนนาน 7 ก.พ.- ยูนนานเดลีรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา มีพิธีจัดตั้งพันธมิตรสื่อเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จัดขึ้นที่กรุงปักกิ่งของจีน พันธมิตรสื่อเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแนวคิดริเริ่มและจัดตั้งขึ้นโดยศูนย์การสื่อสารระหว่างประเทศเอเชียใต้– เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งยูนนานและสำนักข่าวไชน่าเดลี่ สาขาเอเชียแปซิฟิก รวมถึงสื่อกระแสหลัก สมาคมนักข่าว และองค์กรข่าวจากประเทศเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนประเทศที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมพันธมิตร พันธมิตรสื่อเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมมือกันจัดทำโครงการต่าง ๆ มากถึง 21 โครงการ และได้เปิดตัวโครงการและแผนปฏิบัติการพันธมิตรสื่อเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2567 ในงานครั้งนี้ด้วย โดยในปี 2567 ศูนย์การสื่อสารระหว่างประเทศเอเชียใต้– เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งยูนนานจะร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องและสื่อกระแสหลักในประเทศต่าง ๆ เช่น ไทย กัมพูชา ลาว เนปาล และประเทศอื่น ๆ เพื่อดําเนินความร่วมมือในโครงการต่าง ๆ เช่น ผลิตรายงานข่าวสารร่วมกัน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การพัฒนานวัตกรรมด้านวัฒนธรรม ตลอดจนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น.-814.-สำนักข่าวไทย

10 สุดยอดข่าวเด่นความร่วมมือล้านช้าง – แม่น้ำโขงประจำปี 2566

ยูนนาน 7 ก.พ.- หลายหน่วยงานในจีนร่วมกันจัดงานแถลงข่าว 10 สุดยอดอันดับข่าวเด่นความร่วมมือล้านช้าง – แม่น้ำโขงประจำปี 2566 และงานฉลองตรุษจีน “วิถีชีวิตแห่งยูนนาน” โรดโชว์อินปักกิ่ง ยูนนานเดลีรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา ได้มีการจัดงานแถลงข่าว 10 สุดยอดอันดับข่าวเด่นความร่วมมือล้านช้าง – แม่น้ำโขงประจำปี 2566 และงานฉลองตรุษจีน “วิถีชีวิตแห่งยูนนาน” โรดโชว์อินปักกิ่ง ขึ้นที่กรุงปักกิ่งของจีน โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันจัดงานครั้งนี้ ได้แก่ ศูนย์สื่อสารเอเชียแปซิฟิก สำนักสารนิเทศต่างประเทศแห่งประเทศจีน สํานักงานสารนิเทศรัฐบาลมณฑลยูนนาน และศูนย์การสื่อสารระหว่างประเทศเอเชียใต้– เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งยูนนาน สำหรับ 10 สุดยอดข่าวเด่นเกี่ยวกับความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขงประจำปี 2566 มีดังนี้ 1. การทูตประมุขแห่งรัฐนําไปสู่ความก้าวหน้าในการสร้างประชาคม LMC แห่งอนาคตร่วมกัน 2. การติดต่อระดับสูงระหว่างประเทศ LMC ส่งเสริมความไว้วางใจ ช่วยขับเคลื่อนความร่วมมือในด้านต่าง ๆ 3. ความคืบหน้าในการพัฒนา LMC […]

อาหารจากความร้อนใต้พิภพที่ยูนนาน

ยูนนาน 5 ก.พ.- เมืองเถิงชง มณฑลยูนนาน มีทรัพยากรความร้อนใต้พิภพ ที่นอกจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสําหรับการพักผ่อนและดูแลสุขภาพแล้ว ยังมีอาหารที่ได้จากความร้อนใต้พิภพ ซึ่งดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการด้วย ยูนนานเดลี่รายงานเรื่องการปรุงอาหารในเมืองเถิงชงว่า ไม่จําเป็นต้องมีเตาไฟหรือฟืน เพราะสามารถใช้ความร้อนใต้พิภพตามธรรมชาติที่จะเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารแบบดั้งเดิมอย่างการผัดและทอด ไปเป็นการนึ่งด้วยความร้อนจากน้ำพุร้อน ทำให้สามารถรักษาสารอาหารต่าง ๆ ไว้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีแร่ธาตุในน้ำพุร้อนผสานรวมอยู่ด้วย สอดคล้องกับความต้องการของคนสมัยใหม่ที่รักสุขภาพ เมนูอาหารที่น่าสนใจ เช่น ข้าวมัลติเกรน 5 สี ขุมทรัพย์ทั้ง 4 จากความร้อนใต้พิภพ ผักใบเขียวลวก ไข่ลวกด้วยความร้อนใต้พิภพ ขนมจีนเอ่อซือลวก และไก่หม้อไอน้ำ ข้าวมัลติเกรนได้รับความร้อนจากไอร้อนใต้พิภพ นอกจากมีคาร์โบไฮเดรตสูงแล้ว ยังอุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร ข้าวมัลติเกรนประกอบด้วยสีต่าง ๆ 5 สี ได้แก่ แดง เขียว เหลือง ม่วง ขาว เป็นสีที่ได้มาจากดอกไม้และพืชตามธรรมชาติ จึงมั่นใจได้ว่าไม่มีสารเคมีเจือปน เวลารับประทานจะได้กลิ่นหอมจาง ๆ ของดอกไม้และพืชอีกด้วย ขุมทรัพย์ทั้ง 4 จากความร้อนใต้พิภพประกอบด้วยซันเย่า (ฮ่วยซัว) ข้าวโพด เผือก และมันเทศ […]

ตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้ “เจ้าแห่งการปลอมตัว” แห่งยูนนาน

ยูนนาน 25 ม.ค.- มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนพบตั๊กแตนสีชมพู เป็นตั๊กแตนตำข้าวกล้วยไม้ที่ได้ชื่อว่า ““เจ้าแห่งการปลอมตัว” ยูนนานเดลี่อ้างรายงานของหนังสือพิมพ์ The People’s Daily ว่า เมื่อวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ชาวบ้านคนหนึ่งในหมู่บ้านเหยาฝาง ตำบลหลีหมิง อำเภอปกครองตนเองชนชาติฮานีและหยี-หนิงเอ่อ เมืองผูเอ่อร์ มณฑลยูนนาน พบตั๊กแตนตําข้าวสีชมพูระหว่างเดินทางกลับบ้าน มีรูปร่างคล้ายกับกล้วยไม้และสวยงามมากจึงโทรหาเจ้าหน้าที่ของสถานีป่าไม้ให้มาตรวจสอบดูว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่หรือไม่ ผู้อํานวยการศูนย์บริการป่าไม้และทุ่งหญ้าของตำบลหลีหมิงเผยว่า แมลงตัวนี้เป็นตั๊กแตนตําข้าวกล้วยไม้ในตระกูลแมลงตั๊กแตนตําข้าวดอกไม้ โดยจะปลอมตัวเป็นดอกไม้ในระหว่างการหาอาหาร เพื่อตะครุบเหยื่อ ถือเป็น “เจ้าแห่งการปลอมตัว” ในธรรมชาติ นอกจากนี้ การที่เป็นตั๊กแตนที่มีความสวยงามมากจึงอาจเรียกว่า เป็น “นางฟ้าแห่งดอกไม้” ในหมู่แมลงด้วย ตั๊กแตนตําข้าวชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสีชมพู ลำตัวยาวประมาณ 6 ซม. ลักษณะเท้ากว้างและแบนสีชมพูเหมือนกลีบดอก ท้องและหลังสีขาวมีจุดสีเหลืองเล็กน้อย และคอเป็นสีเขียวอ่อน ขณะเกาะนิ่งอยู่บนใบไม้สีเขียวจะดูเหมือนดอกไม้กำลังบานสะพรั่ง ตามข้อมูล ตั๊กแตนตําข้าวกล้วยไม้จะพบเห็นได้ยาก ส่วนใหญ่พบในป่าฝนเขตร้อนของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย พม่า และไทย เป็นต้น แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พบในแคว้นสิบสองพันนา อำเภอหนิงเอ่อ และอำเภอเจียงเฉิง มณฑลยูนนาน […]

พาชิมขนมโบราณกว่า 100 ปี ของยูนนาน

ยูนนาน 23 ม.ค.- เมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปีแห่งหนึ่งในมณฑลยูนนาน มีตำบลหนึ่งที่ทำขนมโดยใช้ใบเพาโลเนียและเป็นสูตรที่สืบทอดกันมานานกว่า 100 ปี ยูนนานเดลี่รายงานว่า ตำบลหนิวจีตั้งอยู่ในอำเภออี๋เหลียง เมืองจาวทง เป็นเมืองโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานนับพันปี ตำบลนี้ก่อตั้งขึ้นในราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ. 25– ค.ศ. 220) และเป็นเมืองตลาดที่สําคัญบนถนนม้าชาโบราณเส้นทางจากยูนนานไปยังเสฉวน นักธุรกิจจาก 10 กว่ามณฑลและเมืองมาทําธุรกิจ และได้นําวัฒนธรรมของพื้นที่ต่าง ๆ ทําให้เมืองโบราณแห่งนี้มีวัฒนธรรมประจําภูมิภาคที่เป็นเอกลักษณ์ ตำบลหนิวจี ตั้งอยู่บริเวณฝั่งแม่น้ำ สภาพอากาศมีฝนตกชุกและอากาศร้อนในเวลาเดียวกัน เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นเพาโลเนีย ใบเพาโลเนียมีสรรพคุณในการป้องกันการเน่าเสียของอาหาร ชาวบ้านในหมู่บ้านหม่าอานซานได้นำใบเพาโลเนียห่อน้ำข้าวหมักสำหรับทําขนมใบเพาโลเนีย และพบว่าแม้แต่ในฤดูร้อน ขนมที่ห่อด้วยใบเพาโลเนียสามารถเก็บไว้ได้นานถึง 2-3 วัน สูตรการทําขนมใบเพาโลเนียจึงสืบทอดต่อ  ๆ กันมาและมีประวัติยาวนานกว่า 100 ปี ขนมใบเพาโลเนียตำบลหนิวจีสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และกลายเป็นหนึ่งในอาหารเด่นเมืองจาวทง การทำขนมใบเพาโลเนีย ต้องเลือกใช้ข้าวที่ผลิตในท้องถิ่น ส่วนหนึ่งจะถูกล้างและแช่ในน้ำเย็นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง และอีกส่วนหนึ่งจะนำไปหุงให้สุก จากนั้นจะนำข้าวทั้งสองส่วนมารวมกันแล้วบดเป็นน้ำข้าวที่โรงโม่หิน แล้วนำไปหมักในภาชนะ จากนั้นใส่น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลทรายขาวที่ต้มแล้ว และใส่น้ำมันหมูตามสัดส่วน แล้วห่อด้วยใบเพาโลเนีย สุดท้ายนำไปนึ่งเป็นเวลา 30 นาที.-814.-สำนักข่าวไทย

เปิดตัวอาหารยูนนานที่คนไม่รู้

ยูนนาน 23 ม.ค.- มณฑลยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนมีอาหารขึ้นชื่อหลายอย่างที่ชาวยูนนานบางคนอาจไม่รู้ ยูนนานเดลี่จึงนำอาหารเหล่านี้มาแนะนำให้รู้จัก บิสกิตมัตสึตาเกะ : ทำจากเห็ดมัตสึตาเกะยูนนานที่ได้รับการยกย่องจากนักชิมทั้งในและต่างประเทศ โดยทั่วไปแล้วเห็ดมัตสึตาเกะในจีน 5 ดอก มักเป็นเห็ดจากยูนนาน 2 ดอก และเป็นของขวัญที่มอบให้แก่แขกผู้ร่วมการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสมัยที่ 15 (COP15) ถั่วแมคคาเดเมีย : เมืองหลินชางมีพื้นที่ปลูกถั่วแมคคาเดเมียราว 1,090,332 ไร่ คิดเป็น 40% ของพื้นที่ปลูกถั่วแมคคาเดเมียทั่วโลก จัดเป็นแหล่งปลูกถั่วแมคคาเดเมียที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังได้สร้างห้องปฏิบัติการสําหรับทดสอบถั่วแมคคาเดเมีย ซึ่งมีเฉพาะที่ยูนนานเพียงแห่งเดียว ปูขน : อำเภอสือผิงมีประวัติการเพาะพันธุ์ปูขนมานานหลายปี เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางนิเวศที่ดีทำให้สามารถเลี้ยงปูขนได้คุณภาพดี การเลี้ยงปูขนของชาวบ้านในตำบลเป่าซิ่วจะบริหารจัดการเองทุกขั้นตอน เช่น การเพาะพันธุ์ การขาย และการจัดการในท้องถิ่น อันเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านและพัฒนาหมู่บ้าน คาเวียร์ปลาสเตอร์เจียน : อำเภอฮุ่ยจื๋อ เมืองฉวี่จิ้ง มีแหล่งแปรรูปและส่งออกปลาสเตอร์เจียนคาเวียร์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน ด้วยทรัพยากรน้ำจืดที่อุดมสมบูรณ์และสภาพแวดล้อมทางนิเวศที่ดี คาเวียร์ในอำเภอนี้จึงสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดยุโรปและอเมริกาได้ อะโวคาโด : ในอดีตเป็นสินค้านำเข้าของจีนจึงทำให้มีราคาสูง ต่อมาในปี 2550 อำเภอปกครองตนเองชนชาติไตลาหู่ และว้า-เมืองแลม ได้คัดเลือกพันธุ์อะโวคาโดที่เหมาะสําหรับการปลูกในท้องถิ่นและมีมูลค่าสูงมากกว่า 20 […]

1 2 3 26
...