ฟอสซิลเผยข้อมูลเชิงลึกของไดโนเสาร์กินเนื้อในจีนตอนใต้
คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนยืนยันว่าฟันไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ จำนวน 4 ซี่ ที่ขุดพบในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มาจากไดโนเสาร์วงศ์ไทแรนโนซอรอยเดีย (Tyrannosauroidea) ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 66-70 ล้านปีก่อน
คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนยืนยันว่าฟันไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ จำนวน 4 ซี่ ที่ขุดพบในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มาจากไดโนเสาร์วงศ์ไทแรนโนซอรอยเดีย (Tyrannosauroidea) ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 66-70 ล้านปีก่อน
คณะนักโบราณคดีของจีนค้บพบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ในวงศ์ยูคาริโอต (eukaryote) ที่มีอายุย้อนกลับไป 1,630 ล้านปีก่อน โดยถือเป็นการค้นพบฟอสซิลประเภทนี้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ผู้แทนจากเกือบ 200 ประเทศทั่วโลกเห็นพ้องในระหว่างการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ คอป 28 (COP28) ที่นครดูไบ
จิราตา 9 พ.ย.- อินโดนีเซียเริ่มโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 3,544 ล้านบาท) เพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่การใช้พลังงานสะอาดและหมุนเวียน ประธานาธิบดีโจโก วิโดโดของอินโดนีเซียกล่าวเปิดโครงการโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำจิราตา (Cirata) ภายในอ่างเก็บน้ำขนาด 2 ตารางกิโลเมตรของจังหวัดชวาตะวันตก ห่างจากกรุงจาการ์ตาไป 130 กิโลเมตรว่า วันนี้เป็นวันประวัติศาสตร์ เพราะความฝันของอินโดนีเซียที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่เป็นจริงแล้ว อินโดนีเซียกำลังจะสร้างโซลาร์ฟาร์มลอยน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทไฟฟ้าแห่งชาติของอินโดนีเซียกับมาสดาร์ (Masdar) บริษัทพลังงานหมุนเวียนในอาบูดาบีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่นของญี่ปุ่น, โซซิเอเต้ เจเนเรลของฝรั่งเศส และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดของสหราชอาณาจักร ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ทั้งหมด 340,000 แผง กำหนดดำเนินการแล้วเสร็จใน 3 ปี ผลิตไฟฟ้าป้อนได้ 50,000 ครัวเรือน รัฐบาลอินโดนีเซียตั้งเป้าจะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2603 ปัจจุบันอินโดนีเซียใช้พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมแต่ละประเภทไม่ถึงร้อยละ 1 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด เพราะยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก และยังเดินหน้าสร้างโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินที่อนุมัติไปแล้ว แม้รับปากว่าจะไม่อนุมัติเพิ่มก็ตาม.-สำนักข่าวไทย
กรุงเทพฯ 18 ต.ค. – กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) ร่วมกับภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแถลงผลการศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ของ อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก “อัลลิเกเตอร์ มูลเอนซิส (Alligator munensis) หรืออัลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล” โดยพบว่า มีอายุประมาณ 230,000 ปีก่อน นายฐิติพันธ์ จูจันทร์โชติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณีเป็นประธานการแถลงข่าวผลการศึกษาศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ของ อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก โดยกรมทรัพยากรธรณีร่วมกับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทือบิงเกน ประเทศเยอรมนี นำโดย Dr.Gustavo Darlim และภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งนี้กรมทรัพยากรธรณีได้รับแจ้งจากผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนครราชสีมาเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2548 ว่า พบซากดึกดำบรรพ์และนำมาเก็บรักษาไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอโนนสูง ทีมสำรวจจึงเข้าไปตรวจสอบ พบว่า เป็นกะโหลกสัตว์โบราณ 1 ชิ้น กรามสัตว์โบราณ 2 ชิ้น และกระดูกสัตว์โบราณ 5 ชิ้น จากการลงพื้นที่บ้านเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นแหล่งที่ขุดพบซากดึกดำบรรพ์คือ นายสมพร โนกลาง […]
ไทยพบฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลกที่ จ.กาฬสินธุ์ อายุ 150 ล้านปี มีชีวิตในยุคจูแรสซิกตอนปลาย โดยเป็นไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลก ตั้งชื่อว่า “มินิโมเคอร์เซอร์ ภูน้อยเอนซิส” กรมทรัพยากรธรณีเชื่อว่าแหล่งขุดค้นภูน้อย อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ จะยังคงมีซากดึกดำบรรพ์เต็มทั้งพื้นที่
ฉางซา, 13 ก.ค. (ซินหัว) — ผลการศึกษาจากวารสารฮิสตอริคัล ไบโอโลจี (Historical Biology) เปิดเผยว่าคณะนักวิจัยของจีนค้นพบฟอสซิลปลากาเลียสปิด (galeaspid) สายพันธุ์ใหม่ในหมวดหินซิ่วซาน ณ มณฑลหูหนานทางตอนกลางของจีน ซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 438 ล้านปี โดยปลาสายพันธุ์นี้เคยมีชีวิตอยู่ในยุคไซลูเรียน (Silurian) เมื่อ 410-440 ล้านปีก่อน หมวดหินซิ่วซานยุคไซลูเรียนเป็นหมวดหินทางบรรพชีวินวิทยาที่กระจายตัวเป็นวงกว้างทางตอนใต้ของจีน โดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญมองว่าหมวดหินแห่งนี้เป็นแหล่งสืบพันธุ์ที่สำคัญของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ไม่ใช่แหล่งอาศัยที่เหมาะสมสำหรับปลากาเลียสปิด รายงานระบุว่าปลากาเลียสปิด สายพันธุ์ “ต้ายงกัสปิส โคลูบรา” (Dayongaspis colubra) ถือเป็นฟอสซิลปลาชนิดดังกล่าวกลุ่มแรกในหมวดหินซิ่วซาน ซึ่งท้าทายมุมมองดั้งเดิมที่ว่าปลาโบราณนี้ไม่สามารถอยู่รอดได้ในหมวดหินซิ่วซาน อนึ่ง การค้นพบนี้ยังบ่งชี้ว่าฟอสซิลปลากาเลียสปิดกระจายตัวตั้งแต่ตอนบนของหมวดหินหรงซีจนถึงตอนล่างของหมวดหินซิ่วซาน ซึ่งบ่งชี้ช่วงลำดับชั้นหินกว้างกว่าที่เคยสันนิษฐานก่อนหน้านี้ – สำนักข่าวซินหัว อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/370852_20230713ขอบคุณภาพจาก Xinhua
ลาซา, 23 พ.ค. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนค้นพบซากฟอสซิล “หิมาลายาซอรัส” (Himalayasaurus) สัตว์นักล่าใต้ทะเลลึกยุคก่อนประวัติศาสตร์ จำนวน 2 รายการ บริเวณพื้นที่ที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลราว 4,000 เมตร ในเขตปกครองตนเองทิเบต (ซีจ้าง) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน รายงานระบุว่ามีการค้นพบซากฟอสซิลหิมาลายาซอรัสใกล้กับตำบลกังกาของอำเภอติ้งรื่อ ซึ่งอยู่ห่างจากเบสแคมป์ภูเขาโชโมลังมาราว 100 กิโลเมตร โดยการค้นพบนี้จะเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่ที่สุดบนที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต และส่งเสริมการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในภูมิภาคระหว่างมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Era) หิมาลายาซอรัสถือเป็นสัตว์เลื้อยคลานสูญพันธุ์ที่เคยครอบครองท้องทะเลเมื่อ 210 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่ไดโนเสาร์จะครอบครองผืนดิน โดยหิมาลายาซอรัสมีปากยาว ฟันแหลมคม และลำตัวยาวมากกว่า 10 เมตร จัดเป็นนักว่ายน้ำตัวฉกาจที่กินปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ เป็นหลัก คณะนักวิจัยของจีนเคยค้นพบซากฟอสซิลหิมาลายาซอรัสครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1960 ระหว่างการสำรวจพื้นที่ภูเขาโชโมลังมา ซึ่งยกตัวขึ้นจากทะเลลึกเพราะการชนกันของแผ่นเปลือกโลก และกลายเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกวันนี้ ส่วนการค้นพบครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อต้นปีนี้โดยทีมสำรวจอันประกอบด้วยคณะนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและบรรพมานุษยวิทยา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ซึ่งกำลังมุ่งวิจัยขนาด พฤติกรรม และถิ่นที่อยู่ของหิมาลายาซอรัสในปัจจุบัน หวังเวย นักวิจัยร่วมของสถาบัน ระบุว่าฟอสซิลเหล่านี้ประกอบด้วยกระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงสภาพดีที่หาได้ยากในการค้นพบก่อนหน้านี้ โดยส่วนตัดขวางของกระดูกมนุษย์มีขนาดเท่าเหรียญ แต่ส่วนตัดขวางของกระดูกสันหลังที่เพิ่งค้นพบมีขนาดราวหมวกเบสบอล คณะนักวิจัยวางแผนแกะซากฟอสซิลหิมาลายาซอรัสออกจากก้อนหินที่ล้อมรอบ และตรวจสอบซากฟอสซิลเหล่านี้อย่างละเอียดด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์และการสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) […]
ปักกิ่ง, 16 เม.ย. (ซินหัว) — คณะนักวิทยาศาสตร์ยืนยันแล้วว่าฟอสซิลรอยเท้าไดโนเสาร์ที่พบในร้านอาหารแห่งหนึ่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เป็นของไดโนเสาร์คอยาวที่อาศัยอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 100 ล้านปีก่อนการค้นพบสุดแปลกนี้เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วโดยลูกค้าร้านอาหารจีนแห่งหนึ่ง ก่อนจะกลายเป็นไวรัลทั่วโลกเนื่องจากเป็นการพบรอยเท้าในสถานที่ที่แปลกไปจากเดิม ปัจจุบัน ทีมนักบรรพชีวินวิทยานานาชาติได้เผยแพร่การค้นพบนี้ในวารสารครีเทเชียส รีเสิร์ช (Cretaceous Research) ฉบับล่าสุด หลังจากพวกเขาใช้เครื่องสแกนสามมิติเพื่อวิเคราะห์ “รอยเท้าที่พบในร้านอาหาร” เหล่านี้นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่ากลุ่มรอยเท้า ซึ่งมีความยาวตั้งแต่ 50-60 เซนติเมตรเหล่านี้ อาจเป็นของไดโนเสาร์ซอโรพอดที่มีความยาว 8-10 เมตร จำนวนหนึ่งซอโรพอดมีหัวเล็ก คอยาว หางยาว และถูกกล่าวขานว่าเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดที่เคยอาศัยอยู่บนบกเท่าที่มีข้อมูลจวบจนปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สิ่งมีชีวิตขนาดมหึมานี้มีย่างก้าวที่สั้นมาก พวกมันเดินทางได้ไกล 2 กิโลเมตรต่อชั่วโมงวันที่ 10 ก.ค. 2022 โอวหงเทา ลูกค้าร้านอาหารแห่งหนึ่งในเมืองเล่อซานของมณฑลเสฉวน สังเกตเห็นรอยยุบที่แปลกตาบนพื้นของร้าน ด้วยความที่เขาสนใจศึกษาความรู้ด้านบรรพชีวินวิทยา จึงสันนิษฐานว่ารอยดังกล่าวน่าจะเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์ ก่อนจะติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้านไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียงอย่างรองศาสตราจารย์สิงลี่ต๋า จากมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน (China University of Geosciences) ให้มาตรวจสอบ6 วันถัดมา รองศาสตราจารย์สิงได้นำทีมนักวิจัยเข้าตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว ซึ่งอยู่ห่างจากองค์พระใหญ่เล่อซาน พระพุทธรูปหินสลักที่ใหญ่ที่สุดในโลก อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของจีน ไปเพียง […]
รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก หรือ จี 7 ให้คำมั่นในวันนี้ว่า จะเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้เร็วกว่าเดิม แต่ไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับกำหนดเส้นตายในการเลิกใช้แหล่งพลังงานก่อมลพิษ เข่น ถ่านหิน
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ 4 สายพันธุ์ ซึ่งรวมถึง เมกะแรพเตอร์ ในบริเวณหุบเขาแห่งหนึ่งในภูมิภาคพาตาโกเนียที่ปลายสุดของทวีปอเมริกาใต้ในเขตประเทศชิลี ซึ่งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากลายเป็นพื้นที่สำคัญของการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์
อู่ฮั่น, 27 ธ.ค. (ซินหัว) — เมื่อวันจันทร์ (26 ธ.ค.) สำนักวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน ประกาศความสำเร็จในการขุดฟอสซิล “กะโหลกของมนุษย์อวิ๋นเซี่ยน หมายเลข 3” และคณะนักวิจัยได้เริ่มซ่อมแซมและทำการวิจัยกะโหลกดังกล่าวแล้ว กะโหลกชิ้นนี้ถูกเชื่อว่าเป็นตัวอย่างมนุษย์โบราณโฮโม อีเร็กตัส (Homo erectus) สภาพสมบูรณ์ที่สุดจากยุคเดียวกันที่พบในแผ่นดินทวีปยูเรเชีย โดยถูกพบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. บริเวณซากโบราณยุคหินเก่าตอนต้นในมณฑลหูเป่ย ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกับที่มีการค้นพบกะโหลกชิ้นแรกและชิ้นที่สอง อายุระหว่าง 800,000-1.1 ล้านปี ในปี 1989 และ 1990 ตามลำดับ รายงานระบุว่าการขุดค้นเผชิญอุปสรรคหลายประการ เนื่องจากกะโหลกชิ้นที่ 3 ถูกล้อมรอบไปด้วยฟอสซิลสัตว์หลายชิ้น ซึ่งนักโบราณคดีต้องใช้เวลา 6 เดือน เพื่อกำจัดหินที่อยู่รอบกะโหลกและแยกฟอสซิลมนุษย์ออกจากฟอสซิลสัตว์และวัตถุหิน ลู่เฉิงชิว ผู้อำนวยการโครงการขุดค้น ระบุว่าทีมวิจัยทำการสร้างแบบจำลองสามมิติมากกว่า 20 ครั้ง ถ่ายภาพมากกว่า 200,000 ภาพ ถ่ายวิดีโอกระบวนการขุดค้นทั้งหมด และเก็บตัวอย่างตะกอนมากกว่า 1,400 รายการ ด้านเกาซิง นักวิจัยสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล (IVPP) […]