พบซากฟอสซิลกรามแรด ที่ จ.กระบี่

พบซากฟอสซิลฟันกรามแรดขนาดใหญ่ สภาพสมบูรณ์ ที่ถ้ำยายรวก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ คาดอยู่ในยุคน้ำแข็ง อายุ 80,000-200,000 ปี เผยที่ผ่านมาเคยพบฟอสซิลไฮยีน่าลายจุดมาแล้ว จนท.ส่งพิสูจน์ที่ห้องปฏิบัติการฯ

จีนพบฟอสซิล ‘รอยเท้าไดโนเสาร์’ หายากกว่า 30 รอย

ฝูโจว, 22 พ.ย. (ซินหัว) — รอยเท้าไดโนเสาร์สภาพดีขนาดราว 15 ตารางเมตร ถูกขุดพบในอำเภอซ่างหาง เมืองหลง เหยียน มณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกของจีน คณะผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมการด้านบรรพชีวินวิทยาและซากดึกดำบรรพ์แห่งชาติ กล่าวว่าการค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์สภาพดีในพื้นที่ขนาดใหญ่เช่นนี้เกิดขึ้นน้อยมากทั่วโลก ฟอสซิลดังกล่าวเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์สกุลซอโรพอดและเทโรพอด และมีโครงสร้างรอยริ้วคลื่นสมมาตรที่ชัดเจน ซึ่งสะท้อนสภาพแวดล้อมการสะสมของตะกอนของซากสิ่งทับถมในทะเลสาบในยุคสมัยนั้น โดยมีการค้นพบรอยเท้าของไดโนเสาร์ 6 สายพันธุ์มากกว่า 30 รอย คณะนักวิจัยกล่าวว่าฟอสซิลเหล่านี้ค่อนข้างหายากทั้งในแง่จำนวนและความชัดเจน ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาพฤติกรรมการดำรงชีวิตและสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ยุคครีเทเชียสตอนปลาย หวังเสี่ยวหลิน เจ้าหน้าที่คณะกรรมการฯ เผยว่าปัจจุบันฟอสซิลรอยเท้าไดโนเสาร์ส่วนใหญ่ที่พบในจีนและต่างประเทศเป็นของยุคจูราสสิกและยุคครีเทเชียสตอนต้น ส่วนรอยที่พบในอำเภอซ่างหางนั้นเป็นของยุคครีเทเชียสตอนปลาย ซึ่งบ่งชี้ถึงการมีชีวิตของไดโนเสาร์ในระยะสุดท้ายก่อนที่พวกมันจะสูญพันธุ์ ทั้งนี้ อำเภอซ่างหางขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์หลากหลายชนิด นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2020 ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกมันอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้เป็นเวลานาน อ่านข่าวภาษาอังกฤษhttps://english.news.cn/20221121/b9551b81987e4391b0319fd542a30965/c.html อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องhttps://www.xinhuathai.com/life-cul/321625_20221122 ขอบคุณภาพจาก Xinhua

ฟอสซิล 200 ล้านปี เผยจุดเชื่อมโยง ‘แมลงวางไข่-แมลงล่าไข่’ ในใบไม้

พฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืช (endophytic oviposition) แสดงกลยุทธ์การสืบเผ่าพันธุ์อันสลับซับซ้อนของแมลง โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นจากการที่แมลงใช้กลไกการวางไข่แบบพิเศษ ซึ่งช่วยปกป้องไข่อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการซุกซ่อนในเนื้อเยื่อพืช เฝิงจัว นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยอวิ๋นหนาน และทีมงาน ซึ่งทำการวิจัยภาคสนามระยะยาว ได้เก็บรวบรวมซากฟอสซิลพืชสภาพดีจำนวนมากในเมืองจื้อกง มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ผลการศึกษาซากฟอสซิลข้างต้นพบหลักฐานฟอสซิลร่างกายของแมลงที่มีพฤติกรรมการวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการล่ากินไข่ โดยนักวิจัยศึกษารูในไข่และพบของเหลวในไข่ถูกกินโดยแมลงชนิดอื่นๆ เฝิงกล่าวว่าของเหลวในไข่มีสารบำรุงกำลัง และการที่แมลงชนิดอื่นๆ สามารถค้นหาจนเจอไข่ที่ซุกซ่อนอยู่ในใบไม้เช่นนี้หมายความว่าพวกมันมีระบบประสาทดมกลิ่นหรือมองเห็นที่พิเศษ “การวางไข่ในเนื้อเยื่อพืชและการกินของเหลวในไข่เป็นประโยชน์ต่อการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยพฤติกรรมทั้งสองปรากฏขึ้นมาตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อน” เฝิงกล่าว อนึ่ง การค้นพบนี้เผยแพร่ทางออนไลน์ผ่านวารสารเคอร์เรนต์ ไบโอโลจี (Current Biology) เมื่อวันอังคาร (8 พ.ย.) ที่ผ่านมา 点击浏览中文新闻 (คลิกเพื่ออ่านข่าวภาษาจีน) http://www.news.cn/science/2022-11/09/c_1310674959.htmอ่านข่าวภาษาอังกฤษ http://english.news.cn/20221109/03da97f78e2b41cd9a7520a7b4d212f7/c.htmlอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง https://www.xinhuathai.com/china/319797_20221111 ขอบคุณภาพจาก Xinhua (แฟ้มภาพซินหัว : ภาพฟอสซิลพืชที่แมลงวางไข่)

ซาอุฯ ประกาศปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2603

ซาอุดีอาระเบียประกาศจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2603 เพื่อร่วมกับอีก 100 กว่าประเทศหาทางรับมือและจำกัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมของคน

ผู้นำออสเตรเลียไม่รับปากทยอยเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

เมลเบิร์น 26 ก.ย.- นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสันของออสเตรเลียไม่รับปากเรื่องจะทยอยเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ออสเตรเลียในฐานะผู้ส่งออกถ่านหินและก๊าซรายใหญ่ของโลกถูกกดดันให้กำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก่อนถึงการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ที่สกอตแลนด์ในเดือนพฤศจิกายนนี้ นายกรัฐมนตรีมอร์ริสันให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์เอสบีเอส (SBS) ในออสเตรเลีย หลังประชุมที่กรุงวอชิงตันในสหรัฐและออกอากาศเมื่อวันเสาร์ว่า รัฐบาลของเขากำลังตระเตรียมเรื่องแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ แต่ไม่ได้เตรียมการเรื่องยกเลิกอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเชื้อเพลิงฟอสซิลโดยทันทีเพราะไม่มีความจำเป็น การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา และกว่าจะมีเทคโนโลยีในเรื่องนี้ต้องรออีก 20-30 ปี ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในข้ามคืน ด้านนายบาร์นาบี จอยซ์ รองนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียซึ่งไม่เชื่อเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์เอบีซี (ABC) ในวันนี้ว่า รัฐบาลกำลังไตร่ตรองเพื่อสร้างความมั่นใจว่า คนชนบทจะไม่ตกงานโดยไร้เหตุผล รายได้จากอุตสาหกรรมทำเหมืองและการเกษตรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเมืองตามชนบท อย่าลืมว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลคือสินค้าส่งออกหลักของออสเตรเลีย หากยกเลิกไป ก็ต้องยอมรับมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ต่ำลงให้ได้.-สำนักข่าวไทย

ทุเรียนพันธุ์ใหม่ “ฟอสซิล”

ช่วงนี้นับเป็นช่วงเวลาทองของผู้ที่ชื่นชอบทุเรียน เพราะมีทุเรียนนานาชนิดออกสู่ตลาดจำนวนมาก เช่นเดียวกับที่ อ.สะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งล่าสุดมีการค้นพบทุเรียนพื้นบ้านชนิดใหม่ ที่มีลักษณะรสชาติก้ำกึ่งระหว่างทุเรียนพื้นบ้านและทุเรียนพันธุ์ที่นิยม ซึ่งมีการตั้งชื่อว่า “ทุเรียนฟอสซิล”

มลพิษทางอากาศทำโลกเสียหายวันละเกือบ 250,000 ลบ.

ศูนย์การวิจัยพลังงานและอากาศสะอาดและกลุ่มกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ออกรายงานว่า มลพิษทางอากาศอันเกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลสร้างความเสียหายแก่โลกวันละ 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

พิสูจน์ฟอสซิลสวนปาล์มสระแก้วเป็นซากดึกดำบรรพ์ไครนอยด์

นักธรณีวิทยาลงสระแก้วพิสูจน์ฟอสซิลสวนปาล์มอำเภอเขาฉกรรจ์ ระบุเป็นซากดึกดำบรรพ์ไครนอยด์สัตว์ในทะเล สันนิษฐานอายุกว่า 200 ล้านปี อาจเป็นทะเลน้ำตื้นมาก่อน เร่งวิเคราะห์สภาพพื้นที่ก่อนประกาศเป็นเขตศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์

นักวิจัยผู้ให้กำเนิดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคว้าโนเบลเคมีปี 2562

สวีเดนประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2562 ให้แก่นักวิจัยสามคนที่ทำให้เกิดการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน สร้างโลกที่สามารถอัดประจุเชื้อเพลิงใหม่ได้

พบซากฟอสซิล “ไฮยีน่าลายจุด-แรดชวา” อายุราว 7 แสนปี

– นักวิชาการด้านธรณีวิทยาตื่น พบซากฟอสซิลไฮยีน่าลายจุด และแรดชวา ยุคดึกดำบรรพ์ อายุราว 7 แสนปี ในถ้ำยายรวก -เขาถ้ำเพชร ต.อ่าวลึกเหนือ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่

1 2 3
...