สำนักงาน ป.ย.ป. จับมือนำร่อง หน่วยงานรัฐ ลดใช้กระดาษ 

กรุงเทพ 30 ก.ย. – สำนักงาน ป.ย.ป. จับมือนำร่องหน่วยงานรัฐ ลดใช้กระดาษเต็มรูปแบบ 6 เดือนข้างหน้า ย้ำ สตง. กรมบัญชีกลาง ไม่ต้องเก็บหลักฐานกระดาษ ก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล 


นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “อีกก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลด้วยระบบ e-Document” เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานระบบ e-Document หลังจาก ครม.ได้สั่งการให้ส่วนราชการขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ป.ย.ป. จึงร่วมมือกับกระทรวงดีอีเอส กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม วันนี้ จึงนำร่องจากกระทรวงการอุดมศึกษาฯ เพื่อลงนามร่วมกัน หลังจากนั้นจะขยายความร่วมมือไปยังส่วนราชการ 19 กระทรวง 200 กรม

เมื่อ ป.ย.ป. ร่วมมือกับภาครัฐ จะทำให้การจัดการหลังบ้านของส่วนราชการ เลิกใช้หรือจัดเก็บเอกสาร เพื่อเลิกการเรียกเอกสารจากประชาชน เพราะขณะนี้ สตง. กรมบัญชีกลาง ศาลยุติธรรม แจ้งชัดเจนไม่มีเหตุขัดข้องต่อการใช้ระบบไร้กระดาษ เพื่อก้าวสู่รัฐบาลดิจิทัล


เนื่องจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ที่หน่วยงานต่าง ๆ ใช้กันในปัจจุบัน ยังมิใช่การปฏิบัติงานในรูปแบบดิจิทัลทั้งระบบ การขับเคลื่อนให้เกิดการใช้งานระบบ e-Document จะช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถบริหารจัดการงานสารบรรณบนแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชัน ตั้งแต่การยืนยันตัวตนในการเข้าใช้งานระบบ การสร้างเอกสารราชการแบบดิจิทัล (Digital Document) ผ่านแบบฟอร์มมาตรฐานในระบบดิจิทัล (Digital Form) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างหนังสือราชการ การแนบไฟล์เอกสารประกอบประเภทต่าง ๆ การเห็นชอบอนุมัติอนุญาต ตลอดจนการสั่งราชการในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีการลงนามผ่านระบบการเข้ารหัสและลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) ซึ่งสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล การระบุตัวตนของบุคคล และป้องกันการปฏิเสธความรับผิดชอบในการส่งข้อมูล อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม โดยการนำเอกสารไปใช้ประโยชน์จะมีผลผูกพันตามกฎหมาย และสามารถบังคับใช้ได้เช่นเดียวกับเอกสาร
ทางราชการทั่วไป มีความมั่นคงปลอดภัย และใช้เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการตามกฎหมายได้ จึงต้องการชักชวนให้ประชาชนที่อยู่ทั้งในและนอกระบบราชการ ได้ตระหนักในคุณประโยชน์ของระบบ e-Document หรือระบบเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์

ในการนี้ สำนักงาน ป.ย.ป. ได้ร่วมกับหน่วยงานหลักต่าง ๆ ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศอ.พว.) ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือการขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document แก่หน่วยราชการ ให้ได้ผลเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างเร่งด่วน และนำระบบ e-Document มาใช้ให้ทั่วถึงอย่างแท้จริง.-สำนักข่าวไทย 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง