fbpx

รัฐบาลขับเคลื่อนงานปฏิรูปการศึกษาต่อเนื่อง

ทำเนียบฯ 17 ก.ย.- โฆษกรัฐบาลเผย รัฐบาลขับเคลื่อนงานปฏิรูปการศึกษาของประเทศอย่างต่อเนื่อง มุ่งเน้น 5 กิจกรรมปฏิรูป เร่งยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ


วันนี้ (17 กันยายน 2565) นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยความคืบหน้าเรื่องการปฏิรูปการศึกษาว่า รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ได้เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนงานปฏิรูปการศึกษาของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยมีความคืบหน้าของงานตามลำดับ ตั้งแต่การวางโครงร่างปฏิรูปการศึกษาของประเทศ ในช่วงปี 2560-2562 การดำเนินงานร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ การกำหนดแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา 7 ด้าน 131 โครงการ รวมทั้งได้ปรับแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาฉบับที่ 2 เน้น 5 ประเด็นหลักหรือ 5 Big Rocks และประกาศใช้เมื่อต้นปี 2564 โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และมุ่งสู่ความเป็นเลิศและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

นายอนุชาฯ กล่าวย้ำถึงร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ว่า เป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ทั้งสติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีสาระสำคัญที่เน้นการปรับระบบการบริหารจัดการของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเน้นความสำคัญด้านสถานศึกษาและครู ให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัวของสถาบันการศึกษา เอื้อให้สามารถสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาและจัดการการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนเป็นการศึกษาเชิงรุก (Active Learning) เน้นให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะตามช่วงวัย ใช้เทคโนโลยีสาระสนเทศเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนการจัดการการศึกษา สร้างระบบนิเวศทางการศึกษา เป็นต้น โดยร่าง พรบ.การศึกษาแห่งชาติฯ เป็นกฎหมายแม่บทในการบริหารและการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในอนาคต เป็นกฎหมายปฏิรูปการศึกษาที่มีความสอดคล้องกับหลักการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) รวมทั้งแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาด้วย โดยประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับคือ การมีหลักเกณฑ์และวิธีการได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ และได้รับการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษา และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อันจะส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นต่อไป


นายอนุชาฯ กล่าวต่อไปถึงแผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาว่า ประกอบด้วย 7 เรื่อง 29 ประเด็น 131 กิจกรรม ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ขับเคลื่อนการดำเนินการกิจกรรมแล้ว ทั้งนี้ กอปศ. ได้กำหนดแผนงานเพื่อการปฏิรูปการศึกษา 7 เรื่อง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย
1) การปฏิรูประบบการศึกษาและการเรียนรู้โดยรวมของประเทศ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่และกฎหมายลำดับรอง
2) การปฏิรูปการพัฒนาเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
3) การปฏิรูปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
4) การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพครู และอาจารย์
5) การปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
6) การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน และยกระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา
7) การปฏิรูปการศึกษาและการเรียนรู้โดยการพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล (Digitalization for Educational and Learning Reform)

ทั้งนี้ แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา (พ.ศ. 2561-2565) กำหนดกิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rocks) มีเป้าหมายคือ ผู้เรียนทุกกลุ่มวัย ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และมีจิตสาธารณะ โดยกิจกรรมปฏิรูป 5 Big Rocks ประกอบด้วย
1) ปฏิรูปความเสมอภาคทางการศึกษา : การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย
2) ปฏิรูปการจัดการเรียนการสอนรับศตวรรษที่ 21 : การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21
3) ปฏิรูปการผลิตพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา : การสร้างระบบการผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
4) ปฏิรูประบบการอาชีวศึกษา : การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ นำไปสู่การจ้างงานและการสร้างงาน
5) ปฏิรูปบทบาทการวิจัยในสถาบันอุดมศึกษา : การปฏิรูปบทบาทการวิจัยและระบบธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลางอย่างยั่งยืน

“ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเป็นประเด็นปัญหาที่รัฐบาลเร่งแก้ไข ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากกับดักทางรายได้ของประเทศไทย ดังนั้น เพื่อพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักดังกล่าว คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา จึงเร่งรัดแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เพื่อสร้างความเสมอภาคตลอดช่วงวัย ตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงวัยแรงงาน เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครู และระบบการศึกษาตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา ไปจนถึงอุดมศึกษา รัฐบาลยืนยันว่าการปฏิรูปการศึกษาของประเทศช่วงที่ผ่านมา มีการเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และปฏิรูประบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับความหลากหลายของการจัดการศึกษา และตอบโจทย์การพัฒนาของโลกอนาคต ทั้งนี้ รัฐบาล ศธ. และ กอปศ. เร่งเดินหน้าขับเคลื่อนงานปฏิรูปการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับการศึกษาของประเทศไทยให้เป็นไปตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติต่อไป” นายอนุชากล่าว .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง