สหรัฐเบรกวัคซีนไฟเซอร์ ยังไม่ต้องฉีดเข็ม 3

สหรัฐฯ 10 ก.ค.- เอฟดีเอ-ซีดีซี ของสหรัฐ เบรกไฟเซอร์ ขอใช้วัคซีนเข็มที่ 3 ยันยังไม่ใช้ตอนนี้ พร้อมระบุว่าทางการอยู่ระหว่างศึกษาวิจัยว่าวัคซีนเข็มที่ 3 มีความจำเป็นหรือไม่


เอพีและเอเอฟพี รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม บริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค แถลงว่ากำลังเตรียมการเพื่อยื่นขอความเห็นชอบจากหน่วยงานกำกับดูแลทั้งในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป สำหรับการฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เป็นวัคซีนเข็มที่ 3 หลังจากการฉีดวัคซีน 2 เข็มแรกมาแล้ว 6-12 เดือน พร้อมกันนั้นก็เปิดเผยด้วยว่า กำลังพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ตัวใหม่เพื่อรับมือกับเชื้อเดลต้า ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักอยู่ในเวลานี้ โดยจะยื่นขออนุมัติใช้วัคซีนเข็ม 3 ของบริษัทเป็นกรณีฉุกเฉินต่อองค์การอาหารและยา (เอฟดีเอ) ของสหรัฐอเมริกาในราวเดือนสิงหาคมนี้ ต่อด้วย องค์การการแพทย์แห่งยุโรป (อีเอ็มเอ) และหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศต่างๆ เป็นลำดับถัดไป

ทั้งนี้ นายแพทย์ มิเกล โดลสเตน ประธานแผนกวิจัยและพัฒนาด้านการแพทย์ของบริษัทไฟเซอร์ระบุว่า ผลการทดลองเบื้องต้นของบริษัทซึ่งยังคงดำเนินอยู่ในเวลานี้ แสดงให้เห็นว่าระดับภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 เพิ่มสูงขึ้นสู่ระดับที่สูงกว่าระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการฉีดเข็มที่ 2 ระหว่าง 5-10 เท่าตัว


นายแพทย์โดลสเตน อ้างอิงผลจากการตรวจสอบพบในอิสราเอลที่มีผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ไปก่อนหน้านี้ติดเชื้อเดลต้าซ้ำ โดยระบุว่าผู้ที่ติดเชื้อซ้ำดังกล่าวส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนมาตั้งแต่เดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันลดระดับลงเหลือ 64 เปอร์เซ็นต์ดังกล่าว

ทางด้านเอฟดีเอและสำนักงานเพื่อการควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ออกแถลงการณ์ร่วมหลังจากการแถลงดังกล่าว โดยระบุว่าทางการกำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยว่าวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 มีความจำเป็นหรือไม่ หรือเมื่อใดจึงจำเป็นต้องใช้วัคซีนกระตุ้นดังกล่าว “คนอเมริกันซึ่งได้รับวัคซีนครบทั้งสองเข็มเรียบร้อยแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนกระตุ้นในเวลานี้” ถ้อยแถลงดังกล่าวระบุ โดยเสริมด้วยว่าทางเอฟดีเอและซีดีซี มีการเตรียมการพร้อมอยู่แล้วหากจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้น หรือเมื่อมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าวัคซีนกระตุ้นดังกล่าวมีความจำเป็น

ทั้งนี้นอกเหนือจากเตรียมการยื่นขออนุญาตใช้วัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 แล้ว ทางไฟเซอร์ยังเปิดเผยว่าทางบริษัทกำลังพัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์เดลต้าขึ้นมาเป็นการเฉพาะ โดยวัคซีนชุดแรกกำลังอยู่ระหว่างกระบวนการผลิตที่โรงงานของบริษัทไบออนเทค ที่เมืองไมนซ์ ในประเทศเยอรมนี โดยคาดว่าวัคซีนป้องกันเชื้อเดลต้าน่าจะผ่านเข้าสู่กระบวนการทดลองในคนได้ในราวเดือนสิงหาคมนี้เช่นเดียวกัน หากได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ.-สำนักข่าวไทย 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง