รัฐบาลเลบานอนสั่งกักบริเวณ จนท.ท่าเรือ หลังเหตุบึ้มครั้งใหญ่

เลบานอน 6 ส.ค. – รัฐบาลเลบานอนสั่งกักบริเวณเจ้าหน้าที่ท่าเรือทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสารแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งเป็นสาเหตุของเหตุระเบิดมหาวินาศในกรุงเบรุต ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งเป็นอย่างน้อย 135 คน บาดเจ็บอีกกว่า 4,000 คน


รัฐบาลเลบานอนแถลงหลังเกิดระเบิดว่า เจ้าหน้าที่ท่าเรือในกรุงเบรุตหลายคนถูกกักบริเวณรอการสอบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์ระเบิดที่โกดังเก็บสารแอมโมเนียมไนเตรท บริเวณท่าเรือหลักของเมืองหลวงเลบานอนเมื่อเย็นวันอังคารที่ผ่านมา ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 135 คน และบาดเจ็บมากกว่า 4,000 คน ทำให้รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลา 2 สัปดหาห์

ประธานาธิบดีมิเชล อูน กล่าวว่า เหตุระเบิดครั้งนี้เกิดจากสารแอมโมเนียมไนเตรท 2,750 ตัน ที่เก็บไว้อย่างไม่ปลอดภัยในโกดังแห่งหนึ่งที่ท่าเรือ


ด้านผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากร กล่าวว่า ทางสำนักงานเคยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงานขนย้ายสารเคมีอันตรายเหล่านี้ซึ่งยึดได้จากเรือขนส่งสินค้าลำหนึ่งตั้งแต่เมื่อ 6 ปีก่อนออกไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการสนองตอบ และทางท่าเรือตระหนักเป็นอย่างดีว่าสารแอมโมเนียมไนเตรทเป็นวัตถุอันตราย

ด้านสภาความมั่นคงสูงสุดของเลบานอนให้คำมั่นว่า ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องรับโทษหนักที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

นายราอูล เนห์เม รัฐมนตรีเศรษฐกิจเลบานอน กล่าวกับบีบีซีว่า เป็นการบริหารจัดการที่แย่มากๆ ต้องมีผู้รับผิดชอบจำนวนมาก และบางทีรัฐบาลชุดก่อนต้องร่วมรับผิดชอบด้วย


ส่วนนายมานัล อับเดล ซาหมัด รัฐมนตรีข้อมูลข่าวสาร กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ท่าเรือทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการเก็บสารแอมโมเนียมไนเตรท ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเก็บรักษาหรือดูแลด้านงานเอกสาร ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 ต้องถูกกักบริเวณระหว่างรอการสืบสวนสอบสวน

ผู้เชี่ยวชาญที่มหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ในสหราชอาณาจักร ประเมินว่าเหตุระเบิดครั้งนี้ มีความรุนแรงขนาด 1 ใน 10 ของระเบิดปรมาณูที่ถูกทิ้งถล่มเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และถือว่าเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ระเบิดที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ไม่ใช่เกิดจากระเบิดนิวเคลียร์

ทั้งนี้ สารแอมโมเนียไนเตรท ถูกใช้ในการผลิตปุ๋ยในภาคการเกษตร และขณะเดียวกัน ก็ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตระเบิดได้ด้วยเช่นกัน

มีรายงานว่าถูกเก็บไว้ในโกดังแห่งหนึ่งในท่าเรือกรุงเบรุตมานาน 6 ปีแล้ว หลังจากมันถูกขนขึ้นจากเรือขนส่งติดธงมอลโดวาลำหนึ่ง ซึ่งเข้าสู่ท่าเรือกรุงเบรุตเมื่อปี 2556 แต่ประสบปัญหาขัดข้องทางเทคนิคระหว่างการเดินทางจากจอร์เจียไปยังโมซัมบิก แต่เรือลำนี้ถูกเจ้าหน้าที่เลบานอนเข้าตรวจ และมีคำสั่งห้ามเดินทางออกนอกประเทศ จากนั้นเจ้าของเรือก็ทิ้งเรือ ก่อให้เกิดประเด็นทางกฎหมายฟ้องร้องหลายครั้ง ส่วนสินค้าบนเรือก็ถูกนำไปเก็บไว้ในโกดังที่ท่าเรือด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย.

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง