เคาะ 7 โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

กระบี่ 16 พ.ย.-นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 6 จังหวัด เห็นชอบ 7 โครงการเร่งด่วน กรอบวงเงิน 494 ล้านบาท พร้อมพัฒนากลุ่มจังหวัดอันดามันอย่างยั่งยืน 5 ด้าน


พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง และสตูล) โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด พร้อมด้วยผู้แทนภาคเอกชนเข้าร่วมหารือ ได้แก่ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ หอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประธานสภาอุตสาหกรรมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ หอการค้าไทย โดยที่ประชุมเห็นชอบ โครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วน 7 โครงการ กรอบวงเงิน 494 ล้านบาท และข้อเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 5 ด้านสำคัญ ได้แก่ การเยียวยา การท่องเที่ยว การเกษตร การพัฒนาคุณภาพชีวิต และ โครงสร้างพื้นฐาน ณ ห้องโภคีธรา โรงแรมโซฟิเทล กระบี่ โภคีธรา กลอ์ฟ แอนด์ สปา 

ทั้งนี้ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญการประชุม ดังนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณประชาชนกระบี่ สำหรับการต้อนรับที่อบอุ่นจากการลงพื้นที่วานนี้ รู้สึกดีใจที่เห็นความก้าวหน้าและสัมผัสได้ถึงความมีชีวิตชีวา หลังจากที่รัฐบาลมีนโยบายการเปิดประเทศ 1 พ.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งในการประชุมเอเปคที่ผ่านมา ยังได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ทราบและหลายประเทศสนใจแนวทางการดำเนินการเปิดประเทศของไทย ที่สำคัญที่เราต้องทำต่อไป คือ การติดตามและอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้า-ออก การบริหารจัดการท่าอากาศยานให้มีความสะดวก รวดเร็ว วันนี้แนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่และผู้เสียชีวิตมีทิศทางลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความร่วมผิดชอบร่วมกันของภาครัฐ ประชาชน รวมทั้งผู้ประกอบการ และภาคเอกชน ที่ต้องช่วยกันดำเนินการตามมาตรการสาธารณสุข เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด เพื่อให้เป็นการท่องเที่ยวปลอดภัยมากขึ้น


นายกรัฐมนตรียังชื่นชมการทำงานของภาคเอกชนในการเสนอโครงการระยะเร่งด่วน ซึ่งจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาความจำเป็นเร่งด่วน และให้ดำเนินการที่สอดคล้องกับวงเงินงบประมาณ โดยที่ประชุมเห็นชอบข้อเสนอโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี จำนวน 7 โครงการ ภายใต้กรอบวงเงิน 494 กว่าล้านบาท ดังนี้

1.โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล 2.โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ อนุรักษ์ฟื้นฟูพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก จังหวัดตรัง 3.โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และสิ่งแวดล้อม จังหวัดระนอง 4.โครงการ Phuket Health Sandbox จังหวัดภูเก็ต 5.โครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา จังหวัดพังงา (The Park Khaolak) 6.โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสาร-ท่องเที่ยวปากคลองจิหลาด จังหวัดกระบี่ 7.โครงการพัฒนาแหล่งสปาวารีบำบัดน้ำพุร้อนคลองท่อมเมืองสปา จังหวัดกระบี่

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังเห็นชอบในหลักการข้อเสนอการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 5 ด้านสำคัญ โดยมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาเพื่อกำหนดในแผนงานเพื่อเสนอตามขั้นตอน ประกอบด้วย 1. ด้านการเยียวยา ฟื้นฟู และช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่ 1.ANDAMAN ECONOMIC TOURISM (เขตเศรษฐกิจเพื่อการท่องเที่ยวอันดามัน) 2.ANDAMAN GO GREEN สร้างต้นแบบในการใช้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว 3) การเสนอเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 (พ.ศ. 2568)


2. ด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1.การยกระดับและพัฒนาศักยภาพศูนย์สั่งการและระบบการแพทย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 2.การยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการบริการสินค้าเพื่อสุขภาพ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 3.การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (ปรับปรุงจวนข้าหลวงเก่า) ระยะที่ 1 4.Khaolak Surf Town พัฒนาพื้นที่เขาหลักจังหวัดพังงาให้เป็นเมืองแห่งเซิร์ฟ 5.การพัฒนาและฟื้นฟูศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์พื้นที่อุทยานพระนารายณ์เชื่อมโยงมรดกทางวัฒนธรรมอันดามัน 6.การพัฒนาสนามกีฬาเทศบาลนครตรังสู่มาตรฐานสากล 7.การปรับปรุงภูมิทัศน์คลองพังงา 8.การพัฒนาอุตสาหกรรมมารีน่า

ด้านการเกษตรได้แก่ 1.การพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันทั้งระบบแบบยั่งยืน 2.การพัฒนาการประมงในอ่าวพังงาอย่างยั่งยืน (2566-2570) (Andaman Sustainable Fisheries Development Project, 2023-2027) 3.การส่งเสริมการเลี้ยงแพะและแปรรูปผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรตามมาตรฐานอาหารฮาลาล

ด้านที่ 4 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่ 1.การเพิ่มศักยภาพบริการทางการแพทย์และการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดพังงา 2. การพัฒนาขยายพื้นที่ให้การรักษาพยาบาลโรงพยาบาลระนอง และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ 1.โครงการยกระดับศูนย์วิจัยและบริการวิชาการภูมิภาคอันดามัน 2.การศึกษาระบบเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางบก ทางน้ำ ระบบราง และอากาศ (Multimodal Transportation) 3.การศึกษาโครงข่ายคมนาคมแก้ไขปัญหาจราจรในเขตเมืองและสนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 4.การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพประเภทเกาะในกลุ่มจังหวัดอันดามัน 5.การก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดิน พื้นที่เขตอนุรักษ์ย่านการค้าเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต 6.การปรับปรุงสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระนอง 7.การก่อสร้างขุดลอกและบำรุงรักษาร่องน้ำชายฝั่งทะเล 8.การยกระดับสนามบินนานาชาติกระบี่เป็น Cargo Hub และ 9.การก่อสร้างระบบผลิตน้ำประปา RO. เกาะพีพี อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่

ในโอกาสนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้ประเทศไทย โดย สสปน. (TCEB) ยื่นเสนอประมูลสิทธิ์ให้จังหวัดภูเก็ต เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo 2571 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภูเก็ตระยะยาว ซึ่งคาดว่าจะมีเงินสะพัดทางเศรษฐกิจถึง 49,231 ล้านบาท มีการจ้างงาน 113,439 ตำแหน่ง รัฐบาลจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีภาครัฐ 9,512 ล้านบาท ในช่วงการจัดงานด้วย

ทั้งนี้ ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า วันนี้ ภาคเอกชนไม่จำเป็นต้องกล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรี เพราะรัฐบาลชุดนี้ มีหน้าที่ดูแลคนไทยทั้ง 77 จังหวัด และต้องอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการให้ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาล อยู่แล้ว เอกชนจะต้องเป็นผู้ขับเคลื่อนต่อไป อย่างไรก็ตาม ขอให้เข้าใจว่า เงินงบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งเป็นเงินของคนไทยทุกคน รัฐบาลมีหน้าที่จัดสรร เพื่อให้เกิดการใช้อย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์สูงสุด ภายใต้วินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

Satellite images show wake of destruction of wildfires burning across California

เปิดปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าแอลเอไหม้ลามหนัก

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ไฟป่าในเทศมณฑลลอสแอนเจลิสหรือแอลเอ (LA) ในรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐไหม้ลามเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นวิกฤตไฟป่าครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูงฝั่งปอยเปต พบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา

รู้ตัวคนไทยพลัดตกตึกสูง 18 ชั้น ฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เบื้องต้นพบไม่ได้ถูกจับโยนลงมา และอาคารดังกล่าวถูกระบุเป็นฐานบัญชาการของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยมีคนไทยถูกหลอกไปทำงานที่นี่จำนวนมาก

Palisades Fire

สหรัฐสั่งอพยพกว่าแสนคนหนีไฟป่า 6 จุดในแคลิฟอร์เนีย

ลอสแอนเจลิส 9 ม.ค.- สหรัฐสั่งอพยพประชาชนมากกว่า 100,000 คน เนื่องจากจำนวนไฟป่าที่โหมไหม้ในเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนียเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 6 จุดแล้ว เพราะกระแสลมแรงเทียบเท่าเฮอริเคนและสภาพอากาศแล้ง เจ้าหน้าที่เผยว่า ในจำนวนไฟป่าทั้ง 6 จุด มีอยู่ 4 จุดที่ยังไม่สามารถควบคุมได้เลย ไฟป่าจุดแรก คือ พาลิเซดส์ไฟร์ (Palisades Fire) เกิดขึ้นช่วงเช้าวันที่ 7 มกราคมตามเวลาท้องถิ่นใกล้แปซิฟิก พาลิเซดส์ ซึ่งเป็นย่านที่พักอาศัยทางตะวันตกเฉียงเหนือของเทศมณฑล ต้นเพลิงมาจากไฟไหม้พุ่มไม้ที่โหมไหม้จนเกินควบคุมเพราะกระแสลมแรง ต้องอพยพคนอย่างน้อย 30,000 คน ไฟป่าจุดที่ 2 คือ อีตันไฟร์ (Eton Fire) เกิดขึ้นในเย็นวันเดียวกันที่หุบเขาอีตันแคนยอน เผาไหม้พื้นที่ขยายวงกว้างมากพอ ๆ กับไฟป่าจุดแรก ไฟป่าจุดที่ 3 คือ เฮิร์ตส์ไฟร์ (Hurst Fire) เกิดขึ้นกลางดึกวันเดียวกันในย่านซิลมาร์ของนครลอสแอนเจลิส จากนั้นในเช้าวันที่ 8 มกราคมเกิดไฟป่าจุดที่ 4 คือ วูดลีไฟร์ […]

ข่าวแนะนำ

จับนายอำเภอเหนือคลอง เรียกรับเงินผู้รับเหมา แลกจบงาน

ตำรวจแถลงผลปฏิบัติการ “ไม่จ่าย ไม่จบ” จับนายอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ พร้อมเจ้าหน้าที่ปกครอง เรียกรับเงินใต้โต๊ะบริษัทรับเหมา 50,000 บาท แลกจบงาน

นายกฯ เผยไม่มีคนไทยบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุไฟป่าแอลเอ

นายกฯ เผย ไม่มีคนไทยได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จากเหตุไฟป่าที่แอลเอ มีเพียงร้านอาหารไทยที่ได้รับความเสียหาย สั่ง กงสุลเปิดศูนย์ช่วยเหลือคนไทย