สภาไม่รับข้อสังเกตรายงาน กมธ.ศึกษาแนวทางนิรโทษกรรม

รัฐสภา 24 ต.ค.-สภาไม่รับข้อสังเกตรายงาน กมธ.ศึกษาแนวทางการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ส่งแต่ตัวรายงานให้ ครม. ด้านประธาน กมธ. ย้ำไม่มีเรื่องแก้ ม.112 เป็นเพียงเปิดทางรับทราบข้อเท็จจริง และสมัยประชุมหน้ามีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทางการเมืองรอ 4 ฉบับ

การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ช่วงบ่ายวันนี้ (24 ต.ค.) มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม


น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ กรรมาธิการฯ อภิปรายว่า การนิรโทษกรรมทางการเมืองเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนในยุคนี้ ในเมื่อนักการเมือง จับมือกันได้ ทำไมถึงมีปัญหากับการนิรโทษกรรมให้กับประชาชน ซึ่งการนิรโทษกรรมคือความหวังของพี่น้องประชาชน และเมื่อถามแกนนำผู้ชุมนุมทุกคน ที่มาชี้แจงต่อกรรมาธิการฯทุกคนเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมโดยรวมคดีมาตรา112 ซึ่งการนิรโทษกรรม ไม่ใช่การแก้ไขกฎหมาย หรือยกเลิกกฎหมาย แต่ทำให้ประชาชนได้กลับไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ และถ้าไม่รวม มาตรา112 ก็ไม่เห็นประโยชน์อะไร ที่จะมานิรโทษกรรม เพราะคดีส่วนใหญ่ที่ตนว่าความเกือบร้อยละ 90มาจากมาตรการตรา 112

นายชัยธวัช ตุลาธน กรรมาธิการฯ กล่าวว่า ในอดีตเราเคยมีการนิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 มาแล้ว กรณี 6 ตุลา ฯ แลัในข้อเท็จจริงปฏิเสธไม่ได้ว่า แม้จำนวนคดี112 อาจจะดูน้อย แต่คดีทางการเมืองที่เป็นความขัดแย้ง มีการโต้เถียงกัน มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีกระบวนการยุติธรรมมีปัญหา ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ในกระบวนการยุติธรรมอย่างที่ควรจะเป็นนั้น ล้วนแล้วแต่อยู่ที่คดีตามมาตรา 112 ทั้งสิ้น ปรากฏการณ์ที่เราถกเถียงกันในสภาในหลายครั้งก็สะท้อนชัดเจนว่า เรื่องคดีตามมาตรา 112 เป็นความขัดแย้งที่มีนัยสำคัญอย่างแหลมคมในการเมืองไทยในปัจจุบัน ดังนั้นหากเราไม่พิจารณานิรโทษกรรมตามคดี 112 ด้วย จะคลี่คลายความขัดแย้งได้จริงหรือไม่ จึงเป็นที่มาข้อเสนอทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งในรายงานนิรโทษกรรม ซึ่งเข้าใจฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดี 112 ทั้งหมดทีเดียวเลย กับฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยด้วยเหตุผลต่างๆ จึงเป็นที่มาว่าเรามีพื้นที่ตรงกลางที่พอจะยอมรับร่วมกันได้หรือไม่ คือการพิจารณานิรโทษกรรมคดีมาตรา 112 อย่างมีเงื่อนไข โดยมีคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณา


นายชัยธวัช กล่าวว่า เราให้อำนาจกับคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาตามกฎหมาย ในการตั้งกระบวนการกำหนดเงื่อนไข กำหนดมาตรการในการพิจารณาเป็นรายคดีว่าคดีตามมาตรา 112 แต่ละคดีมีรายละเอียดอย่างไร และควรจะให้สิทธิ์ในการพิจารณานิรโทษกรรมหรือไม่ เช่น รูปธรรม อาจจะเป็นกระบวนการที่ต้้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดได้มีโอกาสที่จะแถลงข้อเท็จจริง ว่าเหตุอะไรที่ทำให้พวกเขามีพฤติกรรมแบบนั้นจนถูกดำเนินคดี เพื่อเป็นโอกาสที่เรารับฟังผู้ที่ถูกกล่าวหาแล้วปรับความเข้าใจ ลดช่องว่างของความเข้าใจซึ่งกันและกันให้ได้มากที่สุด ให้ผู้ที่ถูกกล่าวหามีโอกาสสานเสวนากับผู้เห็นต่าง รวมถึงฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาลในการรับฟัง ให้ข้อเท็จจริงอีกด้าน แลกเปลี่ยนความเห็นที่แตกต่างกัน เราอาจจะได้ข้อมูลและความเห็นที่เป็นประโยชน์ในการนำไปสู่ความปรองดอง สุดท้ายกระบวนการนี้ เราสามารถนำไปสู่การกำหนดเงื่อนไขได้ว่า ถ้ายอมที่จะเข้าสู่กระบวนการ พิจารณานิรโทษกรรม จะต้องกระทำการแบบไหนบ้าง ในช่วงเวลาที่กำหนด ระหว่างนั้นก็พัก การดำเนินคดี พักการรับโทษไปก่อน และเมื่อถึงเวลาก็สามารถเข้าสู่การนิรโทษกรรมได้อย่างสมบูรณ์ และเราอาจจะใช้โอกาสนี้ในการพลิกวิกฤตเป็นโอกาส ที่จะปกป้องส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทย

นายจาตุรนต์ ฉายแสง กรรมาธิการฯ กล่าวว่า ต้องกล่าวถึงความเป็นมาก่อนที่จะมาเกิดรายงานนี้ พบว่ามีความขัดแย้งเกิดขึ้นหรือต่อเนื่องกันมา 20 ปี มีบางพรรค มีประชาชน เสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเข้ามาที่สภาแห่งนี้ มีการหารือกันพิจารณากันแล้ว เพื่อไทยได้ตัดสินใจว่าต้องการให้สส ทั้งหลายมีความคิดเห็น มีการศึกษากันอย่างให้จริงจังถ่องแท้เสียก่อน ที่จะไปพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหล่านั้น พรรคเพื่อไทยจึงได้เสนอ ญัตติตั้งกรรมาธิการคณะนี้ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทยเป็นประธาน สมาชิกจากทุกพรรคเข้ามาเป็นกรรมาธิการฯ โดยไม่มีกรรมาธิการฯคนใดมีความเห็นหรือแสดงความเห็นแตกต่างว่าไม่เห็นชอบกับรายงาน จะมีความแตกต่างกันที่บันทึกไว้ ก็คือมีความเห็นต่อการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหว ซึ่งเขาก็เปิดโอกาสให้กรรมาธิการแต่ละคนให้ความเห็นส่วนตัวเป็นบันทึกเอาไว้

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า รายงานนี้ได้ตอบคำถามสิ่งที่ประชาชนต้องการ คือการคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทยใน 20 ปีมานี้ เขาถึงได้บอกว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขความขัดแย้งที่มีมานาน การนิรโทษกรรมเป็นความจำเป็นเร่งด่วน อันจะนำมาซึ่งความปรองดองสมานฉันท์ และทำให้สังคมคืนสู่สภาพปกติ ถ้าเราไม่เห็นชอบข้อสังเกตเท่ากับเราไม่เห็นชอบกับข้อความนี้ แต่ข้อความนี้มันจะช่วยตอบคำถามแก้ปัญหาคลี่คลายความขัดแย้งทางสังคมได้ แม้แก้ไม่ได้หมด และการนิรโทษได้นำมาใช้หลายครั้ง เฉพาะปี 48 มาถึงปัจจุบัน มีการนิรโทษกรรม งคณะรัฐประหาร โดยนิรโทษกรรมให้ตนเองไปอย่างสบายสบาย และต้นเหตุทำให้มีผู้มาสนับสนุนการรัฐประหารก็เกิดเป็นคดีการเมือง มีผู้ต่อต้านการรัฐประหาร ก็เกิดเป็นคดีการเมือง มีผู้ไม่เห็นด้วยกับการปกครองของคณะรัฐประหารก็เป็นคดีที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองคณะรัฐประหาร นิรโทษตัวเองไปแล้ว แต่ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายทุกฝ่ายยังต้องอยู่กับการถูกดำเนินคดีถูกลงโทษ ทั้งๆที่เป็นเรื่องคดีทางการเมือง กรรมาธิการบางคนอภิปรายว่า จะนิรโทษกรรมต้องยอมรับสารภาพว่าผิดเสียก่อน อันนั้นท่านเข้าใจผิด การนิรโทษกรรมในอดีตไม่ใช่อย่างนั้น การนิรโทษกรรมในอดีตในกรณีของ6ตุลา เขานิรโทษไม่ใช่ว่านักศึกษายอมรับกระทำผิด เพราะนักศึกษาไม่ได้ทำผิดอะไรเลย แต่เขาตั้งข้อหากล่าวหาร้ายแรงขึ้นศาลทหาร สุดท้ายพิจารณากันไปทั่วโลกประณามการรัฐไทยที่ไปทำอย่างนั้นกับนักศึกษาประชาชน ในที่สุดรัฐบาลในขณะนั้นจึงต้องนิรโทษกรรมทุกคนในเหตุการณ์ ซึ่งความจริงแล้วเป็นการนิรโทษผู้ที่สั่งให้ฆ่านักศึกษาประชาชนด้วยซ้ำ แต่ประชาชนได้ ด้วย


นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่จะใช้คำว่าคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง กรณีนี้ ฟังดูแล้วมีผู้ห่วงว่า รายงานนี้จะทำให้เกิดการแก้ไขการนิรโทษ เรื่องที่เกี่ยวกับมาตรา112 ขอย้ำว่าไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับการนิรโทษคดี 112 วันนี้ไม่ใช่การเสนอพ.ร .บ. แก้ไขมาตรา 112 แต่ควรจะตั้งคำถามว่า คดีเกี่ยวกับมาตรา 112 เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง หรือความขัดแย้งในสังคมไทยหรือไม่ ถ้ามีเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองและความขัดแย้งทางสังคมที่ไปโยงกับมาตรา112 เราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมกันอย่างไร แล้วจะทำยังไงกับการบังคับใช้กฎหมายนี้ เป็นเรื่องที่ต้องศึกษากันต่อ และไม่ใช่ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นวาระโอกาสที่พรรคการเมืองจะมาแข่งกัน แสดงความจงรักภักดี ว่าจะเห็นด้วยกับการนิรโทษก็แสดงว่าไม่จงรักภักดี

ด้านนายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า รายงานนี้มิใช่การเสนอกฎหมาย ว่าจะนิรโทษกรรมการกระทำอะไรมาตราอะไร เข้าใจว่า หลายท่านที่อภิปรายไป คงเข้าใจตรงกันแล้วว่า รายงานนี้เป็นเพียงการศึกษาหาแนวทางในการตรากฎหมายหรือตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมว่ามาควรจะเป็นอย่างไร จะนิรโทษกรรมการกระทำอะไรบ้าง แต่โดยนัย มีความหมายเรื่องแรกก็คือ ให้มีการนิรโทษกรรมการกระทำทางการเมือง ที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา ซึ่งทุกคนเห็นด้วย คือวไม่ได้ฟันธงเรื่องว่าจะมีนิรโทษกรรม มาตรา 112 หรือไม่ เป็นเพียงความเห็นกว้างๆ 3 ทาง และเราสรุปไว้ในข้อสรุปท้ายว่า เรื่องนี้ยังเป็นประเด็นอ่อนไหว ยังมีความเห็นขัดแย้ง ตนคิดว่าโดยส่วนตัวของกรรมาธิการฯมีความรู้สึกว่าประเด็นใดที่ยังไม่มีข้อยุติ ทางออกของประเทศที่ดีที่สุดก็คือการรับรู้รับทราบ ข้อเท็จจริงทุกฝ่ายว่าเขามีความเห็นอย่างไร ท้ายสุดแล้วถ้าเราไม่ทราบข้อเท็จจริง ไม่รับทราบเหตุการณ์การกระทำที่เกิดขึ้นทั้งหลาย ผลสุดท้ายจะกลายเป็นว่า ว่าเราจะตรากฎหมายโดยไม่รอบคอบ ไม่ระมัดระวัง และจะกลายเป็นปัญหาของสังคมในอนาคต ความจริงตนเชื่อว่ารายงานเนี้เป็นประโยชน์สำหรับสมาชิกที่จะนำไปศึกษา ที่ประกอบการพิจารณา ว่าถ้าเราจะตรากฎหมายนิรโทษกรรม แล้วควรจะคำนึงถึงอะไรบ้าง ควรจะมีสาระสำคัญอย่างไร

นายชูศักดิ์ กล่าวด้วยว่า อย่างน้อยที่สุด เปิดประชุมสมัยหน้ามา จะมี ร่างกฎหมาย 4 ร่างกฎหมาย ที่พวกเราคงจะต้องมาพิจารณาร่วมากันอีกครั้งหนึ่ง โดยมีร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่บุคคลลซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมือง พ ศ เสนอโดยนายชัยธวัช ตุลาธน มีร่างพ.ร.บ.สร้างเสริมสันติสุข ของนายปรีดา บุญเพลิง ร่างพ.ร.บ. สร้างเสริมสันติสุข พ.ศ. ของนายพิชัย สุขสวาสดิ์ และร่างพระราชบัญญ.การนิรโทษกรรมประชาชน เสนอโดยนายพูนสุข พูนสุขเจริญ กับประชาชน 36,400 กว่าคน ซึ่งร่างกฎหมายเหล่านี้อยู่ในระเบียบวาระ

ภายหลังเปิดให้กรรมาธิการและสมาชิกชี้แจง สุดท้ายที่ประชุมฯ ได้ลงมติเกี่ยวกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ปรากฎว่า ที่ประชุมเสียงข้างมาก มีมติ 268 ต่อ 149 เสียง ไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ โดยมีผู้งดออกเสียง 5 คน ทำให้ข้อสังเกตตกไป โดยสภาจะส่งเฉพาะรายงานให้ ครม.เท่านั้น

ทั้งนี้ ในช่วงท้ายก่อนการลงมติ บรรยากาศภายในห้องประชุมเป็นไปอย่างเข้มข้น เมื่อนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมได้ให้สมาชิกแจ้งว่ามีใครไม่เห็นด้วยกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการหรือไม่ พร้อมกับผู้รับรอง

ทำให้ นพ.ชลน่าน สส.น่าน พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วง และแย้งว่า ประธานฯ ทำผิดข้อบังคับ เพราะเมื่อสภาฯ มีข้อสังเกตต้องให้ลงมติ ไม่ใช่เสนอญัตติ โดยจะต้องถามว่าใครเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ปรากฏว่า นายพิเชษฐ์ได้โต้แย้งอย่างมีอารมณ์ว่า ก็ลงมติไงครับ จนนายแพทย์ชลน่าน ชี้หน้าว่า “หากท่านทำไม่ได้ก็เปลี่ยนให้รองประธานสภาฯ คนที่ 2 เถอะครับ” ซึ่งนายพิเชษฐ์ ได้กล่าวอย่างมีอารมณ์ว่าไม่ต้องชี้หน้า.-312.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พระขโมยรถยนต์โยมวันเข้าพรรษา

กาฬสินธุ์ 12 ก.ค.-วงการผ้าเหลืองไม่แผ่ว พระหนุ่มขโมยรถยนต์ญาติโยมที่มาทำบุญวันเข้าพรรษา ถูกตำรวจสกัดจับได้ทันควัน ตำรวจ สภ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ สกัดจับรถเก๋งสีดำคันบริเวณสี่แยกไฟแดง อ.สมเด็จ หลังรับแจ้งว่าพระสงฆ์หนุ่มแอบขโมยรถจากญาติโยมที่มาทำบุญในวันเข้าพรรษา แล้วขับหนีมาทาง อำเภอสมเด็จ ตำรวจจึงออกสกัดจับจนเจอ ส่วนพระสงฆ์ที่ก่อเหตุมีอาการพูดจาวกไปวนมา ตำรวจจึงนำตัวมาสงบสติอารมณ์ที่โรงพัก และแจ้งให้เจ้าของรถมารับรถคืน เตรียมดำเนินคดีกับพระรูปนี้ต่อไป หลังสึกจากการเป็นพระ.-สำนักข่าวไทย

น้ำป่าทะลักท่วมแพร่ บ้านเรือนเสียหายหนัก

แพร่ 12 ก.ค.-ฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ จ.แพร่ น้ำป่าทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรช่วงกลางดึก เสียหาย 2 อำเภอ เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมพื้นที่ชุมชนในตำบลแดนชุมพล จังหวัดแพร่ และอำเภอร้องกวางบางส่วน เนื่องจากมีฝนตกลงมาอย่างหนักในช่วงค่ำคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้บ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มและแนวทางน้ำธรรมชาติที่รับน้ำจากภูเขาและป่าใกล้เคียง ปริมาณน้ำที่หลากเข้ามาเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องตลอดช่วงคืนที่ผ่านมา ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านไม่ทันตั้งตัว ทรัพย์สินของประชาชนบางส่วนได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะบ้านโทกค่า อำเภอสอง จังหวัดแพร่ หลายหลังคาเรือนได้รับผลกระทบเนื่องจาก ไม่เคยเกิดเหตุแบบนี้มาก่อน ปีนี้น้ำมากกว่าทุกปี ทำให้เก็บข้าวของไม่ทัน ได้รับความเสียหาย ครั้งสุดท้ายที่เคยท่วม ตั้งแต่ปี 2538 .-สำนักข่าวไทย

สองสาวใหญ่ย่องเข้ากุฏิพระอาพาธ ฉกมือถือ

กทม. 12 ก.ค. – สองสาวใหญ่ ย่องเข้ากุฏิพระอาพาธ ฉกโทรศัพท์มือถือลอยนวล พบเคยเข้ามาขอเงินหลวงตาแล้วครั้งหนึ่ง กล้องวงจรปิดบันทึกภาพขณะ ผู้หญิง 2 คนเข้าไปในกุฏิที่พระสงฆ์นอนอาพาธอยู่ คนหนึ่งนั่งพื้นส่วนอีกคนยืนอยู่แล้วเอื้อมมือไปหยิบโทรศัพท์มือถือบนเตียงนอนไป เหตุการณ์นี้ นายมนูญ อายุ 29 ปี หลานชายของพระลูกวัดแห่งหนึ่ง ในซอยประชาอุทิศ 27 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ร้องเรียนกับผู้สื่อข่าว ให้ช่วยตามหาสองสาวใหญ่ ย่องเข้ากุฏิ “หลวงตาสุข” อายุ 80 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรคประจำตัว ประกอบกับอายุมากเดินได้ไม่ปกติ โดยหลวงตาสุข เป็นพระลูกวัด พักอยู่กุฏิด้านหลังโบสถ์ เมื่อวานนี้ (11 ก.ค.) ประมาณ 13.45 น. ขณะกำลังนอนพักผ่อนอยู่ มีหญิงร่างท้วม 2 คนเข้าไปในกุฏิ จากนั้นคนใส่เอี๊ยมสีเขียวผมสั้นลงมือค้นหาสิ่งของบนหัวเตียง ส่วนอีกคนที่มาด้วย คอยดูต้นทาง จนกระทั่งหญิงคนที่รื้อหาสิ่งของมองเห็นโทรศัพท์มือถือ ราคาประมาณ 4,000 บาท ของพระที่วางไว้หัวเตียง […]

มองเป็นการกระทำส่วนบุคคล ปมมีชื่อพระโผล่คลิปสีกา ก.

กรุงเทพฯ 11 ก.ค. – เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรฯ เผยกรณีปรากฏชื่อ “พระปริยัติธาดา” ในคลิปพัวพันสีกา ก. มองเป็นการกระทำส่วนบุคคล ส่วนตัวอยากเห็นคลิปเพื่อยืนยันว่าท่านเกี่ยวข้องอย่างไร จากกรณีปรากฏรายชื่อพระในคลิปมีความสัมพันธ์กับ “สีกา ก.” จนถึงขั้นปาราชิก หนึ่งในนั้นคือ พระปริยัติธาดา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร และมีรายงานข่าวว่าท่านหายตัวจากวัดหลังจากตกเป็นข่าว ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ไปยังวัดกัลยาณมิตรฯ พบว่าพระของวัดทุกรูปลงโบสถ์เพื่อประกอบศาสนกิจเนื่องในวันเข้าพรรษา ภายในพระอุโบสถ ภายหลังประกอบศาสนกิจลงโบสถ์ของพระวัดกัลยาณมิตรฯ เสร็จสิ้น พระพรหมกวี เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตรฯ ได้ถ่ายรูปกับพระใหม่และพระสงฆ์ในวัด และให้ผู้สื่อข่าวเข้าไปถ่ายภาพ พร้อมกับพูดคุยเบื้องต้น กรณีปรากฏชื่อของพระปริยัติธาดา เป็นหนึ่งในบุคคลในคลิปที่เกี่ยวข้องกับสีกา ก. ว่าส่วนตัวไม่ทราบ คนเราไม่ได้รู้เรื่องส่วนตัวของคนอื่น มองเป็นเรื่องธรรมชาติในสังคมที่มีทั้งคนดีและไม่ดี เรื่องนี้เป็นการกระทำส่วนบุคคล ส่วนตัวอยากเห็นคลิปเพื่อยืนยันว่าท่านเกี่ยวข้องอย่างไร และอยากถาม พล.ต.ต.จรูญเกียรติ ปานแก้ว เพื่อขอดูคลิปที่กล่าวอ้าง ถ้าภาพมันชัดเจนก็ต้องออกตามกฎ ซึ่งใครทำอะไรก็ได้อย่างนั้น เมื่อถามว่า พระปริยัติธาดา ออกไปจากวัดตั้งแต่เมื่อไร พระพรหมกวี บอกว่า ท่านออกไปจากวัด 6-7 วันแล้ว ก็ออกไปเฉยๆ ไม่ได้สึกออกไป และไม่รู้ว่าตอนนี้สึกหรือยัง แต่หากจะสึกต้องแจ้งมาที่วัด […]

ข่าวแนะนำ

พระปรางค์วัดอรุณ

ข่าวดี “พระปรางค์วัดอรุณฯ” ได้รับบรรจุขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดกโลก

กรุงเทพฯ 13 ก.ค.- “แพทองธาร” เผยข่าวดี “พระปรางค์วัดอรุณฯ” ได้รับบรรจุขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดกโลกของยูเนสโกแล้ว นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยที่ได้ร่วมเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม โพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ระบุว่า “ข่าวดีของคนไทย “พระปรางค์วัดอรุณ ราชวรารามราชวรมหาวิหาร” ได้รับการบรรจุขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้นมรดกโลก (Tentative List) ของยูเนสโกแล้วค่ะ ดิฉันได้รับรายงานจากคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ณ กรุงปารีส แจ้งว่า ที่ประชุมได้รับทราบว่าพระปรางค์วัดอรุณฯ เป็นหนึ่งในรายชื่อบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการยกระดับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างสมบูรณ์ในอนาคต กระทรวงวัฒนธรรมมอบหมายให้กรมศิลปากรดำเนินการจัดทำเอกสารเสนอชื่อ (Nomination Dossier) ควบคู่กับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และจัดการพื้นที่ตามหลักสากล เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ขั้นตอนต่อไป ความคืบหน้านี้เป็นมากกว่าการอนุรักษ์สถานที่ แต่คือการยืนยันอัตลักษณ์ไทยที่งดงามและทรงคุณค่าในสายตาชาวโลก นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ที่ได้ร่วมเป็นเจ้าของมรดกทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่นี้” .-316 สำนักข่าวไทย

ตรวจสอบรายรับรายจ่ายวัดใหญ่จอมปราสาท

สมุทรสาคร 13 ก.ค. – เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบรายรับรายจ่ายของวัดใหญ่จอมปราสาท นำมาเทียบกับเส้นเงินของของเจ้าอาวาสที่หนีไป หลังตรวจพบโอนเงินให้สีกา ก. กว่า 1 ล้านบาท ที่วัดใหญ่จอมปราสาท ต.ท่าจีน อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร พล.ต.ต.ประสงค์ เฉลิมพันธ์ ผบก.ปปป. พร้อมด้วย พ.ต.ท.สิริพงษ์ ศรีตุลา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. นำคณะเข้าพบ พระครูสาครสุตกิจ เจ้าคณะตำบลท่าฉลอม เจ้าอาวาสวัดน้อยนางหงษ์ คณะพระสงฆ์ (พระลูกวัด) วัดใหญ่จอมปราสาท ผู้นำชุมชน และคณะกรรมการวัด เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ระบบการเงินในวัดใหญ่จอมปราสาท เพื่อนำไปเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบเส้นทางการเงินของพระมหาทิวากร เจ้าอาวาสวัดใหญ่จอมปราสาท ที่ตรวจพบว่าได้โอนเงินกว่า 1 ล้านบาทไปให้สีกา ก. แต่ยังไม่มีเรื่องชู้สาวเข้ามาเกี่ยวข้อง ประเด็นที่ต้องการทราบเพิ่มเติมคือ เงินที่โอนให้สีกาเป็นเงินส่วนไหน แล้วเงินวัดมีรายรับจากที่ใดบ้าง มีรายจ่ายอย่างไร รวมถึง เงินวัดนั้นเข้าบัญชีใคร มีไวยาวัจกรณ์เบิกจ่ายหรือไม่ หรือใครเป็นผู้ทำหน้าที่รับและเบิกจ่ายเงินทั้งหมด ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงว่า ทางวัดยังไม่มีไวยาวัจกรวัดคนใหม่ หลังจากคนเก่าลาออกไปเล่นการเมืองท้องถิ่น ส่วนเงินวัดนั้นเจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเงินวัดก็จะมีรายรับมาจากให้ที่จอดเรือบริเวณหน้าวัด ประมาณเดือนละ […]

รถพ่วงเบรกแตกลงเขา ชนแหลก 10 คัน เจ็บ 3

นครราชสีมา 13 ก.ค. – รถพ่วงเบรกแตกลงเขามอกลางดง ชนแหลกรวมสิบคัน บาดเจ็บ 3 คน ทำถนนมิตรภาพรถติดยาวหลายกิโลเมตร คนขับรถพ่วงบาดเจ็บ แต่ยังให้การได้ รถพ่วงบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ชนแหลกนับ 10 คัน บนถนนมิตรภาพ ขาเข้ากรุงเทพมหานคร ช่วงลงเขามอกลางดง กิโลเมตรที่ 37-38 อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ตำรวจ สภ.กลางดง พร้อมเจ้าหน้าที่กู้ภัยหลายหน่วยระดม เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุ และช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ที่เกิดเหตุพบรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์คันต้นเหตุ ยี่ห้อฮีโน่ สีขาว ทะเบียน กรุงเทพมหานคร ด้านหน้าหัวลากพังยับ นายวิทยา อายุ 34 ปี คนขับ ได้รับบาดเจ็บที่ขาซ้าย ยังนั่งอยู่บริเวณที่นั่งข้างคนขับ โดยเล่าว่า บรรทุกของมาเต็มตู้คอนเทนเนอร์ ช่วงลงเขาเกิดเบรกไม่อยู่ เนื่องจากลมหมด จึงทำให้พุ่งชนท้ายรถพ่วงบรรทุกไม้อีกคันที่อยู่ด้านหน้า จนกระเด็นไปคนละทิศละทาง ไม้กระจายเกลื่อนถนน ด้วยความแรงยังวิ่งไปเฉี่ยวชนกับรถที่วิ่งอยู่ด้านหน้าเสียหายอีก 8 คัน เป็นรถกระบะ 5 คัน, รถเก๋ง […]

มส.มีมติสั่งปลด-ถอดสมณศักดิ์ พระอาบัติปาราชิก เรียกพระ 5 รูปแจงด่วน

กรุงเทพฯ 13 ก.ค.-มหาเถรสมาคม ประชุมนัดพิเศษ มีมติสั่งปลด-ถอดสมณศักดิ์ พระอาบัติปาราชิก เผยสึกแล้ว 6 คน ยังติดต่อไม่ได้ 2 คน เตรียมแก้กฎมหาเถรสมาคม อ้างสุดล้าหลังกว่า 50 ปี ขณะที่พระเทพพัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดชูจิตฯ ชิงลาออกแล้ว นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แถลงข่าวภายหลังการประชุมมหาเถรสมาคมนัดพิเศษ ครั้งที่ 1/2568 ว่า สมเด็จพระสังฆราชห่วงใยต่อกระแสข่าวที่เกิดขึ้น จึงมีพระบัญชาให้มหาเถรสมาคม นิมนต์กรรมการฯประชุมเร่งด่วน ซึ่งทางกรรมการฯ มีข้อห่วงใย และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยมีมติ ดังนี้ -พระที่ถูกกล่าวหา ต้องอาบัติปราชิก ถือว่าสิ้นสุดความเป็นพระภิกษุทางวินัย และต้องสึกโดยทันที ส่วนพระที่ยังไม่ถึงขั้นปราชิก ก็ให้ปลดออกจากตำแหน่งเจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกรูป และจะมีมติขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตถอดสมณศักดิ์-ในระยะเร่งด่วน ให้เจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ทุกระดับ ตรวจสอบดูแลและกำกับพฤติกรรมองพระในปกครองอย่างใกล้ชิด หากพบพฤติกรรมละเมิดพระธรรมวินัยให้ดำเนินการสอบสวน และรายงานมหาเถรสมาคมโดยเร็ว-กรณีพระภิกษุถูกกล่าวหาผิดพระธรรมวินัย ประเภทครุกาบัติ ให้ออกคำสั่พักการปฏิบัติหน้าที่ และให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามกฏหมาย พร้อมขอให้ระมัดระวังการให้ข้อมูลต่อสื่อมวลชนและสาธารณชน เนื่องจากยังเป็นเพียงผู้ถูกกล่าวหา-และทบทวนปรับปรุงกฎระเบียบคณะสงฆ์ว่าด้วยการประทำผิดพระธรรมวินัย ประเภทครุกาบัติ โดยมหาเถรสมาคม เห็นควรขอประทานพระวินิจฉัยสมเด็จพระสังฆราช มีพระบัญชาโปรดให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อคุ้มครองพระพุทธศาสนาคณะหนึ่ง […]