นายกฯ เชื่อความร่วมมือเป็นหัวใจสำคัญผ่านวิกฤติ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 16 พ.ย.-นายกฯ ปาฐกถาเปิดงาน APEC University Leader’s Forum : 2022 ย้ำแนวคิด “Open. Connect. Balance.” ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด เชื่อความร่วมมือคือหัวใจสำคัญให้ผ่านวิกฤติ


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษงาน “ APEC University Leaders’ Forum (AULF)” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดผู้นำ APEC CEO Summit 2022 โดยมีผู้นำธุรกิจ ผู้กำหนดนโยบาย และอธิการบดีจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ใน The Association of Pacific Rim Universities หรือ APRU ซึ่งเป็นเครือข่ายมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศรอบมหาสมุทรแปซิฟิค 60 แห่งจาก 19 เขตเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคเอเปคร่วมประชุม ภายใต้หัวข้อ “การเตรียมพร้อมรับมือโรคระบาดครั้งต่อไป”

“งานวันนี้ถือเป็นโอกาสให้เครือข่ายการศึกษาทั่วโลกได้พัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในระดับนานาชาติ และแบ่งปันประสบการณ์ในมิติต่างๆ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนนั้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน อีกทั้งเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดการฟื้นฟูและเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมั่นคงและยั่งยืนได้ต่อไป” นายกรัฐมนตรี กล่าว


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับการเป็นเจ้าภาพ APEC ของไทยในปีนี้ เรามุ่งผลักดันการสร้างความร่วมมือภายใต้แนวคิด “Open. Connect. Balance.” เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในยุคหลังโควิด-19 ซึ่งผลลัพธ์สำคัญของการเป็นเจ้าภาพเอเปคในครั้งนี้ คือ ไทยจะเสนอให้ผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค รับรองเอกสาร “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG” เพื่อนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ของไทยมาเร่งกระบวนการทำงานในเอเปค และวางบรรทัดฐานใหม่ให้เอเปคมุ่งเน้นการสร้างเสริมการค้าการลงทุนควบคู่ไปกับการสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ นอกจากความสำคัญด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังขยายไปถึงการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย เพื่อยกระดับองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาสังคมและสร้างความปลอดภัยในชีวิตให้แก่ประชาชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

“เชื่อว่าขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ผู้วางนโยบาย และผู้นำธุรกิจจะได้มาร่วมมือกันสร้างสรรค์นโยบาย ออกแบบทิศทางและแผนการบริหารประเทศที่สอดรับกับวิถีความปกติใหม่ของโลก โดยเฉพาะความปลอดภัยด้านสาธารณสุข ที่แม้ว่าเราจะก้าวผ่านการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 มาแล้ว แต่องค์ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุขยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ความจำเป็นเร่งด่วนของทั่วโลกในขณะนี้คือ การทำวิจัยที่เกี่ยวกับชีวการแพทย์ การบำบัดโรค และการพัฒนาเทคโนโลยีการแพทย์ที่พร้อมต่อการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ โดยสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการนำงานวิจัยมาใช้ให้เกิดระโยชน์สูงสุด และเกิดผลเป็นรูปธรรมสำหรับประชาชนอย่างทั่วถึง”นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวิกฤติสาธารณสุขที่ผ่านมา ความถูกต้องของข้อมูลและการเผยแพร่รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน เพื่อขจัดข้อมูลเท็จ โฆษณาชวนเชื่อ และข่าวปลอม อีกทั้ง การสร้างความร่วมมือระหว่างกันเป็นหัวใจสำคัญในการนำพาประเทศให้ก้าวผ่านวิกฤติไปได้ โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับคำชมจากองค์การอนามัยโลก และนานาประเทศ ถึงนโยบายและมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการดูแลประชาชน ทั้งการป้องกัน การควบคุมโรค การรักษาพยาบาล และการฉีดวัคซีน ด้วยความสำเร็จนี้ องค์การอนามัยโลกเลือกให้ประเทศไทยเป็นประเทศต้นแบบโครงการนำร่อง “การทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า เมื่อเดือนเมษายน 2565 ที่ผ่านมา ถือเป็นความภาคภูมิใจที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน


นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ชื่นชมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคการศึกษาทั้งหมดที่ได้ร่วมมือกับศบค.ช่วยเหลือประเทศ ภายใต้รูปแบบ “นวัตกรรมเพื่อสังคม” โดยได้นำผลการศึกษาวิจัยมาพัฒนาให้สามารถใช้งานได้จริง และนำมาช่วยเหลือสังคมในช่วงวิกฤติ เช่น CU-RoboCOVID (ซี-ยู-โรโบ-โควิด) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ให้การสนับสนุนด้านการแพทย์ภายในโรงพยาบาลสนาม และ Chula COVID-19 Strip Test (จุฬา-โควิด-19-สตริป-เทสต์) รวมถึงนวัตกรรมการรักษา “วัคซีนใบยา” ที่เป็นวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ที่ทางมหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้น

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการรับมือกับโรค คือ นโยบายในการวางรากฐานระบบหลักประกันสุขภาพ และความพร้อมของเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านสาธารณสุขกับนานาประเทศ รวมไปถึงองค์ความรู้ในการใช้เทคโนโลยี การค้นคว้า วิจัย และการใช้นวัตกรรมดิจิทัลทางการแพทย์ รัฐบาลไทยได้ส่งเสริม การพัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมทั้งพัฒนาและยกระดับศักยภาพของบุคลากรให้มีความสามารถสูงขึ้นและมีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยใช้งาน

“หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมเชิงวิชาการในวันนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อหารือแนวทางการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ โดยการศึกษาและการวิจัยร่วมกันจะช่วยให้เกิดการพัฒนาในทุกมิติ โดยมีเทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นรากฐานสำคัญ นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของทุกประเทศในภูมิภาคอย่างสมดุลและยั่งยืน” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หวังว่าการพบกันครั้งนี้ จะนำไปสู่ความสำเร็จและได้เชิญชวนผู้ร่วมงานไปชมนิทรรศการ นำเสนอความสำเร็จ การขับเคลื่อนวาระเศรษฐกิจ BCG ที่จัดแสดงในศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมบอกว่าต้องให้กำลังใจซึ่งกันและกัน วันนี้สำคัญที่สุด คือต้องสร้างสันติสุขในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดทุกเรื่องทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม ดังนั้นเราต้องรักกัน และขอต้อนรับทุกท่านในนามของประเทศไทยด้วยรอยยิ้มสยาม

นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณบรรดาผู้นำด้านการศึกษาที่เข้าร่วมงาน  ขณะที่ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยภาคพื้นแปซิฟิกและอธิบดีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส กล่าวกับ นายกรัฐมนตรี ว่า “I like your smile“ ซึ่งนายกรัฐมนตรี กล่าวตอบว่า “Thank you” พร้อมทำสัญลักษณ์มือ I love you ก่อนขึ้นรถและเปิดหน้ากากอนามัย โชว์รอนยิ้มสยามอีกครั้ง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

จำคุกสมรักษ์คำสิงห์

ศาลสั่งคุก 2 ปี 13 เดือน 10 วัน “สมรักษ์” พยายามข่มขืนสาววัย 17

ศาลจังหวัดขอนแก่น พิพากษาจำคุก “สมรักษ์ คำสิงห์” อดีตนักมวยฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก เป็นเวลา 2 ปี 13 เดือน 10 วัน พร้อมชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวม 170,000 บาท คดีพยายามข่มขืนเด็กสาววัย 17 ปี

Chinese foreign ministry in January 2025

ถอดบทเรียนจากจีน แก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 จริงจัง

ปักกิ่ง 23 ม.ค. – สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนในไทยอยู่ในขณะนี้ หลายฝ่ายกำลังหาทางแก้ไขด้วยการมุ่งไปที่ต้นตอที่ทำให้เกิดฝุ่น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี พ.ศ. 2542 ประชากรโลกมากถึง 92% ได้รับฝุ่น PM2.5 ในระดับความเข้มข้นสูงกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนด และถ้ารัฐบาลทุกประเทศไม่เร่งแก้ปัญหาอย่างเอาจริงเอาจัง ภายในอีก 7 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ. 2573 คุณภาพชีวิตคนทั่วโลกจะยิ่งเลวร้ายสุดขีด เพราะปริมาณ PM2.5 จะเพิ่มขึ้นจากเดิม 50% และประเทศที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า หากรัฐบาลตั้งใจจริงจัง ทุ่มสรรพกำลังความพยายาม จะสามารถกำจัดปัญหาฝุ่นควันพิษได้อย่างแน่นอนนั่นก็คือ จีน   จีนเคยมีคนเสียชีวิตเพราะมลพิษในอากาศปีละหลายล้านคน แต่ทุกวันนี้แม้แต่ธนาคารโลกยังยกย่องจีนว่า เป็นแบบอย่างของความพยายาม สามารถพลิกฟ้าหม่นเพราะฝุ่น PM2.5 ให้กลับเป็นฟ้าใสได้สำเร็จ ความพยายามของเหมา เจ๋อตุง ผู้นำจีนที่มุ่งเปลี่ยนสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ทำให้จำนวนโรงงานในจีนเพิ่มขึ้นทวีคูณภายใน พ.ศ. 2502 แน่นอนว่า นโยบายเศรษฐกิจของผู้นำจีนช่วยให้คนจีนหลายล้านหลุดพ้นจากขีดความยากจน แต่ก็ต้องแลกกับชีวิตและสุขภาพ เพราะควันพิษจากโรงงานทำให้ฝุ่น PM2.5 พุ่งในระดับเกินกว่าจะรับไหว กว่ารัฐบาลจะรู้ตัวว่าปัญหามาถึงขั้นวิกฤต […]

คึกคัก คู่รักจูงมือกันไปจดทะเบียนวันแรกกฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผล

วันนี้กฎหมายสมรสเท่าเทียมมีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ หลายคู่รักควงแขนไปจดทะเบียนสมรสกันชื่นมื่น ที่สยามพารากอน มีคู่รักที่ลงทะเบียนมาจดทะเบียนสมรสที่นี่กว่า 300 คู่

ผู้ป่วยเสียชีวิต

รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก-เสียชีวิต จากเหตุชายผิวสีคลุ้มคลั่ง

ผอ.รพ.สิรินธร ยืนยันไม่มีผู้ป่วยช็อก หรือเสียชีวิต จากเหตุต่างชาติผิวสีคลุ้มคลั่ง มีเพียงเจ้าหน้าที่ รพ.บาดเจ็บจากการถูกต่อยเล็กน้อย

ข่าวแนะนำ

ตร.ทางหลวงไล่ล่ากระบะขนแรงงานต่างด้าวลักลอบเข้าไทย

ระทึก! ตำรวจทางหลวงขับรถไล่ล่ากระบะขนแรงงานต่างด้าว 2 คัน สุดท้ายไม่รอด จนมุมบริเวณ ต.หาดท่าเสา อ.เมือง จ.ชัยนาท ตรวจสอบพบแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก จึงนำตัวทั้งหมด พร้อมกับคนขับรถทั้ง 2 คัน ส่งดำเนินคดีที่ สภ.เมืองชัยนาท

คุมพ่อชาวรัสเซียฝากขัง จับลูกชายวัย 13 โยนลงทะเลเสียชีวิต

ตำรวจคุมตัว “หนุ่มรัสเซีย” ฝากขัง หลังก่อเหตุโยนลูกวัย 13 ปี ออกจากเรือ บริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา จนถูกใบพัดเรือบาดเจ็บสาหัส ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา อ้างเสียความทรงจำ ไม่รู้ทำอะไรลงไป

ดีเอสไอจ่อล่องเรือใช้เลเซอร์สแกนจำลอง 3 มิติ สืบคดี “แตงโม”

ดีเอสไอ นำผู้เชี่ยวชาญหลายด้านเปิดประชุมนัดแรก ลุยสืบสวน “คดีแตงโม” จ่อล่องเรือใช้เลเซอร์สแกนจำลอง 3 มิติ หาพยานหลักฐานใหม่ และบินเก็บข้อมูลระบบ Cloud ในมือถือทุกคนบนเรือ-นอกเรือ