พัฒนาแรงงานใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สร้างรายได้เพิ่ม

ดินแดง 23 มี.ค.-กระทรวงแรงงาน พัฒนาแรงงานใช้เทคโนโลยีชั้นสูง สร้างรายได้หลักหมื่นต่อคน


นายธีรพล  ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.)เปิดเผยว่าจากการยกระดับจัดตั้งสถาบันนำร่อง12แห่งให้เป็นสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อสร้างมาตรฐานฝีมือแรงงานและความมั่นใจแก่นักลงทุน มีจุดเน้นแต่ละด้านแตกต่างกันเพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ในการพัฒนากำลังแรงงาน ด้วยการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเข้าสู่ เศรษฐกิจดิจิทัล  ให้สอดรับสภาพความเป็นจริง และก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ในอนาคต ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน และนโยบายด้านการพัฒนากำลังแรงงานของพล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รมว.แรงงาน


สำหรับเป้าหมายดำเนินการในปี 60จำนวน 19,864 คน ดำเนินการแล้ว 9,458 คน (ณ วันที่ 20 มีนาคม 2560) จังหวัดที่ดำเนินการไปแล้วครบ 100 เปอร์เซนต์ คืออุบลราชธานี เป้าหมาย 440 คน  ดำเนินการ 579 คน จังหวัดที่ดำเนินการเกินกว่า 50เปอร์เซนต์ ได้แก่ สงขลา เป้าหมาย 1,260 คน ดำเนินการแล้ว 829 คน เชียงแสน เป้าหมาย 2,000 คน ดำเนินการแล้ว 1,177 คน และภูเก็ต เป้าหมาย 2,100 คน ดำเนินการแล้ว 1,156 คน  อีก 8 จังหวัดมีผลการดำเนินงานอยู่ระหว่าง 25-48เปอร์เซนต์ ซึ่งพนักงานที่ได้รับการพัฒนามีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 2เปอร์เซนต์  หรือมีรายได้เฉลี่ย 11,971 บาทต่อคนต่อเดือน 


นายธีรพล กล่าวต่อว่า การพัฒนาทักษะให้กำลังแรงงานด้านเทคโนโลยีชั้นสูงนั้น กพร.ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาฝีมือแรงงาน อาทิสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันไทยเยอรมัน สมาคมชิ้นส่วนยานยนต์ไทย สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (TIFFA) และส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการ จัดฝึกอบรมฝีมือแรงงานให้กับพนักงานในด้านที่รองรับเทคโนโลยีชั้นสูงด้วย โดยมีสถานประกอบการให้ความร่วมมือกว่า 2,000 แห่ง มีพนักงานที่ได้รับการพัฒนาในด้านดังกล่าวแล้วจำนวน 494,385 คน 

นอกจากการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานด้านเทคโนโลยีชั้นสูงยังส่งเสริมให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คน ที่ต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ.2557 ต้องจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 50  ปัจจุบันดำเนินการแล้ว 2,341,358 คน จากเป้าหมายปี 2560 จำนวน 3,444,950 คน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายที่รับรองให้สถานประกอบการสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ จำนวน1,251,204,029.14 บาท ดังนั้น นอกจากสถานประกอบการ จะมีแรงงานที่มีทักษะ ความรู้ความสามารถสูงขึ้นแล้ว ค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อการมีส่วนร่วมนี้ ยังนำไปใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ 100เปอร์เซนต์  พนักงานก็มีโอกาสได้รับอัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้น หรือได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น นายธีรพล กล่าว.-สำนักข่าวไทย
ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ข่าวแนะนำ

ซุ้มไฟเฉลิมพระเกียรติฯ สุดตระการตา รับประเพณียี่เป็ง

ยามค่ำคืนในตัวเมืองเชียงใหม่ ประดับประดาด้วยแสงไฟรับประเพณียี่เป็ง หรือลอยกระทงเชียงใหม่ โดยเฉพาะบนถนนท่าแพ มีการสร้างซุ้มประดับไฟเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 14 ซุ้ม ยาวกว่า 200 เมตร.

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมรีดทรัพย์ รับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพื่อขายงาน

“ฟิล์ม รัฐภูมิ” ตั้งโต๊ะแจงปมเรียกรับเงิน 20 ล้านบาท จากดิไอคอน ยอมรับอ้างชื่อ “หนุ่ม กรรชัย” เพราะต้องการขายงาน

คุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง เจ้าตัวเงียบรีบเดินขึ้นรถตู้

ตำรวจกองปราบคุมตัว “ตี่ลี่ฮวงจุ้ย” ฝากขัง ผู้ต้องหาปัดตอบสื่อ ด้านพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว เพราะมีพฤติการณ์หลบหนี