พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 7 ราย กลับจาก อินเดีย-สหรัฐฯ

 ทำเนียบฯ 29 มิ.ย.- ปลัดสาธารณสุข เผย พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 7 ราย กลับจาก “อินเดีย-สหรัฐฯ” ระบุการผ่อนคลายระยะที่ 5 มีความเสี่ยง แม้ไทยไม่พบผู้ป่วยในประเทศติดต่อกัน 35 วัน เตรียมพร้อมอุปกรณ์รองรับการระบาดระลอก 2 จัดเตียงในโรงพยาบาลกว่า  2 หมื่นเตียง 


นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด-19 ประจำวัน ว่า วันนี้เป็นวันที่ 35 ที่ประเทศไทยไม่มีการติดเชื้อภายในประเทศ แต่มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 รายใหม่ 7 ราย เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้าสถานกักกันที่รัฐจัดให้ (State Quarantine) ไม่มีรักษาหายและเสียชีวิตเพิ่ม โดยผู้ป่วยสะสมรวม 3,169 ราย หายกลับบ้านรวม 3,053 ราย เสียชีวิตรวม 58 ราย ยังรักษาใน โรงพยาบาล 58 ราย ไม่มีผู้ป่วยอาการหนัก หรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ทำให้สถานการณ์ในไทยสบายใจได้เพิ่มเล็กน้อย 

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ป่วยรายใหม่ มาจาก 1. อินเดีย 6 ราย แบ่งเป็นหญิง 3 ราย อายุ 28 ปี 31 ปี และ 36 ปี เพศชาย 3 ราย อายุ 42 ปี 45 ปี และ 61 ปี เดินทางถึงไทยวันที่ 23 มิ.ย. ตรวจหาเชื้อวันที่ 26 มิ.ย.แล้วพบเชื้อ โดย 3 ราย มีอาการ เช่น ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น หายใจลำบาก อีก 3 รายไม่มีอาการ และ 2. สหรัฐอเมริกา 1 ราย เป็นผู้หญิงอายุ 27 ปี ถึงไทยวันที่ 27 มิ.ย. ตรวจเชื้อวันที่ 28 มิ.ย. แล้วพบเชื้อ โดยมีไข้ ไอ เจ็บคอ 


นพ.สุขุม กล่าวว่า หลังผ่อนปรนทั้ง 4 ระยะ ยังมีผู้ป่วย แต่เกือบ 100% มาจากต่างประเทศ ซึ่งผู้ป่วยที่มาจากต่างประเทศ จะพบว่า ระยะเวลาของการตรวจพบเชื้อช่วงก่อน 7 วัน มีประมาณ 85% ส่วนการตรวจพบหลังวันที่ 11 ลงไป มีเกือบ 10% ดังนั้นการสังเกตอาการ 14 วันจึงยังจำเป็น เพราะถ้าออกมาเร็วเกินไป อาจแพร่เชื้อในชุมชนได้

สำหรับสถาณการณ์ทั่วโลก มีผู้ป่วยทั้งหมด 10,237,543 ราย เป็นรายใหม่ 1.6 แสนราย โดยสหรัฐอเมริกายังเป็นปัญหา จากเดิมผู้ป่วยรายใหม่เคยลดลงมาเหลือ 2 หมื่นกว่าราย แต่ช่วงนี้อาจไม่ได้ดูแลสนใจสุขอนามัย ไม่ใส่หน้ากาก ทำให้เพิ่มเป็น 4 หมื่นกว่าราย สูงสุดในโลกตอนนี้ ทำให้เพิ่มจำนวนผู้ป่วยหนักและผู้เสียชีวิต ส่วนบราซิลดีขึ้นเหลือผู้ป่วยใหม่ 2.9 หมื่นราย ส่วนอินเดีย มีผู้ป่วยรายใหม่เกือบ 2 หมื่นคน และไทยอยู่อันดับ 95 ของโลก แต่ถ้าวันนี้ไทยดีขึ้น สถิติเราลดลง แต่ต่างประเทศยังจำนวนมากขึ้นก็ต้องระวังตัวเช่นกัน ถ้าดูในประเทศกลุ่มบ้านเรา อาเซียนหรือเอเชีย ที่มีปัญหา คือ อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ พม่า 

นพ.สุขุม กล่าวว่า สิ่งที่ต้องระวัง คือ ตอนนี้เรามั่นใจว่าประเทศไทยไม่มีผู้ป่วยในประเทศ มีจำนวนควบคุมได้ รายใหม่จำนวนไม่มาก แต่การผ่อนปรนในระยะที่ 5 ที่มีความเสี่ยง เพื่อให้มีชีวิตปกติแบบนิว นอร์มอล กระทรวงสาธารณสุขมีการสำรวจทั้ง กทม.และทั่วประเทศ โดยโรงพยาบาลมีเตียงไอ.ซี.ยู. 571 เตียง ห้องแยกสำหรับอาการหนัก 11,206 เตียง และเตียงทั่วไปอีก 10,349 เตียง ซึ่งการไม่พบผู้ป่วยหนัก ไม่มีผู้ป่วยต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ก็คิดว่าเตียง 2 หมื่นกว่าเตียงก็น่าเพียงพอรองรับ หากมีสถานการณ์มากขึ้น เราคำนวณว่ารองรับได้วันละ 50-500 คนต่อวัน ถ้ามีผู้ป่วยรายใหม่ อุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่เคยกังวล เช่น หน้ากาก N95 เราเตรียมความพร้อมไว้ 1.12 ล้านกว่าชิ้น ชุดป้องกันอันตรายระดับสูงเมดิคัลเกรด หรือชุด PPE มี 5.11 แสนกว่าชุด โดย 3.5 แสนชุดกระจายทุก รพ. อีก 1.5 แสนชุดเตรียมที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อกระจายในเคสฉุกเฉิน และมีเครื่องช่วยหายใจที่ว่าง 1.1 หมื่นเครื่อง 


ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า นอกจากเตียง อุปกรณ์แล้ว คือ ยา โดยยาฟาวิพิราเวียร์ที่รักษาโดยเฉพาะ สมัยเริ่มที่นำมาใช้เฉพาะผู้ป่วยหนัก ปอดบวม ใช้เครื่องช่วยหายใจ เรามีสต๊อกกว่า 3 แสนเม็ด ตอนนี้กระจายผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก แต่มีปัจจัยเสี่ยงอายุมาก โรคประจำตัว เช่น ถุงลมโป่งพอง หัวใจ เบาหวาน ทำให้สถานการณ์ผู้ป่วยเราดีขึ้น อาการหนักน้อยลง อยู่ รพ.น้อยลง กลับบ้านเร็วขึ้น ส่วนยาอื่นก็เตรียมเช่นกัน

นพ.สุขุม กล่าวว่า ส่วนความคืบหน้าของวัคซีน มี 3 แนวทาง คือ 1.พัฒนาวิจัยในประเทศ ซึ่ง สธ. มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เอกชน ร่วมกันพัฒนา โดยตอนนี้ทำวัคซีนต้นแบบ 20 ชนิด ทดลองในสัตว์ 6 ชนิด โดย 2 ชนิด ทดลองในหนูและลิง พบมีภูมิคุ้มกันขึ้นมาก การทดลองในมนุษย์ วัคซีนชนิดหนึ่งอาจจะเริ่ม ต.ค. อีกชนิดหนึ่งถ้าทำได้เร็วก็อาจเป็น ก.ค.นี้ ถ้าทำเร็จ สธ.จะนำมาใช้ในพี่น้องประชาชน โดยผลิตในประเทศ ซึ่งต้องพัฒนาให้เกิดโรงงาน โดยผลิตให้ได้ถึง 30 ล้านโดส และคาดว่าจากปลายปี 2564 อาจเร็วขึ้นเป็นกลางปี 2564 โดยเตรียมงบประมาณสนับสนุนไว้เพื่อพัฒนา 2. ร่วมมือต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยต่างประเทศมีวัคซีนทดลองมนุษย์แล้ว 13 ตัว เราประสานร่วมมือ 3 ประเทศ 7 หน่วยงานเพื่อพัฒนาวัคซีน เผื่อนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาผลิตในประเทศเพื่อลดเวลา 3.จัดหาถ้าใครมีแนวโนมผลิตได้ จะไปติดต่อเพื่อขอจองวัคซีน เราติดตามใน 2 ประเทศ 5 หน่วยงาน ค่าใช้จ่ายประมาณ โดสละ 20-30 เหรียญสหรัฐ.-สำนักข่าวไทย  

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

คุมฝากขัง “เอ็ม เอกชาติ” คดี “แบงค์ เลสเตอร์”

ผบช.ภ.2 เผยคดี “แบงค์ เลสเตอร์” แจ้งข้อหา “เอ็ม” กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มอบตัวรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา คุมฝากขังค้านประกันตัว

หยุดยาววันแรก การจราจรขาออก กทม. มุ่งสู่อีสานเริ่มแน่น

เริ่มหยุดยาววันแรก การจราจรบนท้องถนนขาออกกรุงเทพฯ มุ่งสู่อีสานเริ่มแน่นตั้งแต่เมื่อคืน เช้านี้ ถนนมิตรภาพ ช่วง ต.กลางดง อ.ปากช่อง ชะลอเคลื่อนตัวไปได้เรื่อยๆ ส่วนถนนพหลโยธิน ขาเข้าหนองแค รถเริ่มแน่น

วันแรก ตาย 52 อุบัติเหตุ 322 ครั้ง บาดเจ็บ 318 คน

สถิติวันแรก 10 วันอันตราย ตาย 52 อุบัติเหตุ 322 ครั้ง บาดเจ็บ 318 คน​ “เพิ่มพูน” เน้นทุกฝ่ายช่วยกันดูแลความปลอดภัย อำนวยความสะดวก เข้มเรื่องกฎหมาย