เลขาฯ สพฉ. แนะเจอคนเจ็บ ให้แจ้ง 1669 ไม่ควรช่วยเอง

อสมท 6 พ.ค.-เลขาธิการ สพฉ. แนะพบผู้บาดเจ็บ ให้แจ้งสายด่วย 1669 ทันที แม้มีความรู้พื้นฐานก็ไม่ควรช่วยเอง หลังปรากฏคลิปอาสากู้ภัยดัดขาชายขาหักก่อนส่งโรงพยาบาล ชี้เป็นอาสานอกเครือข่าย สพฉ.


หลังมีคลิปแชร์สนั่นโซเชียลคลิปหนุ่มอาสากู้ภัยลุยเดี่ยวช่วยผู้บาดเจ็บสาหัสเหตุรถชนกลางสี่แยกไฟแดงบ้านบ่อ อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อช่วงเวลา 21.30 น.วันที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยอาสากู้ภัยคนในคลิปจับขาทั้งสองข้างที่หักดัดให้ตรงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล ก่อนที่ผู้บาดเจ็บจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยมีการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างมากว่าเป็นการช่วยเหลืออย่างผิดวิธีหรือไม่

วิจารณ์สนั่น! กู้ภัยดัดขาคนเจ็บก่อนส่ง รพ.-สพฉ.สั่งตรวจสอบแล้ว


เรื่องนี้สอบถามไปยัง ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่าหากเกิดเหตุการณ์พบเจอผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บ สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับภาคประชาชน ควรต้องทำ คือ แจ้งสายด่วน สพฉ. 1669 ทันที ต่อมาระหว่างที่รอทีมฉุกเฉิน ควรสังเกตประเมินอาการผู้บาดเจ็บว่ารู้สึกตัวหรือไม่ ถ้าลุกนั่ง โต้ตอบ หรือเดินได้ ไม่น่าห่วง แต่หากคนเจ็บไม่รู้สึกตัว สิ่งที่ไม่แนะนำให้ทำเด็ดขาด คือ เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพราะจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อผู้ป่วยให้เจ็บหนักมากยิ่งขึ้น


เมื่อถามว่าหากมีความรู้เรื่องการช่วยเหลืออยู่บ้างจะทำได้หรือไม่ นพ.อัจฉริยะ ตอบว่าให้ถามตัวเองหากเป็นญาติพี่น้องเราเจ็บ จะยอมหรือไม่ ที่จะให้คนที่ไม่ใช่ทีมแพทย์ หรือทีมช่วยเหลือที่ไม่ใช่มืออาชีพมาช่วยเหลือคนเจ็บในสถานการณ์ที่มีความเป็นความตายเดิมพันอยู่ตรงหน้า ส่วนของทีมกู้ภัย หากนับเฉพาะในไทยที่มี 2 หน่วยใหญ่ คือ ป่อเต็กตึ๊ง และร่วมกตัญญู ถือว่าตอนนี้ยกระดับมาตรฐานมาสูงมาก แต่กู้ภัยกลุ่มที่น่าห่วง คือ กู้ภัยจิตอาสา อย่างในกรณีที่ปรากฏในคลิป เบื้องต้นจากข้อมูลเป็นจิตอาสานอกระบบเครือข่าย สพฉ. แม้คนกลุ่มนี้จะมีความรู้ในการปฐมพยาบาลอยู่ แต่ความรู้พื้นฐานก็มีการแบ่งระดับการให้ความช่วยเหลืออย่างชัดเจน อะไรที่ทำได้อะไรที่ทำไม่ได้ เมื่อกู้ภัยจิตอาสาเจอคนเจ็บ สิ่งที่ควรทำอย่างแรก คือ 1.ประเมินความรู้สึกคนเจ็บว่าเจ็บขนาดไหน 2.หากเจ็บหนักมีอาการหัก เคลื่อน สาหัส ต้องเรียกหน่วย advance หรือ หน่วย สพฉ. 1669 ทันที 3.ระหว่างรอทีมปฐมพยาบาลเท่าที่ทำได้ และสังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง

และสิ่งที่ห้ามโดยเด็ดขาดสำหรับกู้ภัยทั้งมีสังกัด และจิตอาสา คือ การทำหัตถการ โดยหัตถการทางการแพทย์หมายถึง การรักษาผู้ป่วย โดยมีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆสอดใส่เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย เช่น การใช้เข็มเจาะน้ำจากช่องปอด การใส่สายสวนหัวใจการฉีดยาเข้าในข้อ การผ่าตัดต่างๆ การเย็บบาดแผล หรือการไปใช้วิธีการเหยียดร่างการที่พับ หรือหัก ก็ไม่ควรเด็ดขาด เนื่องจากการช่วยเหลือที่ถูกต้องตามหลัก จะต้องประเมินสภาพผู้บาดเจ็บ และต้องเข้าช่วยเหลือบริเวณจุดสำคัญต่อชีวิตมากที่สุดก่อน ไล่เลียงตามลำดับ เช่น ศีรษะ หรือคอ และต้องช่วยเหลือในเรื่องระบบหายใจก่อนจนไปถึงแขนขาส่วนที่หัก แต่หากผู้บาดเจ็บอาการสาหัสเกินขีดความสามารถจะต้องแจ้งให้ทีมกู้ชีพฉุกเฉินของโรงพยาบาลในพื้นที่เข้ามาช่วยเหลือ โดยเฉพาะการปั๊มหัวใจหรือการทำ CPR เนื่องจากมีอุปกรณ์ในรถครบ

ซึ่งในในกฎหมาย มีการกำหนดอำนาจขอบเขตในการปฏิบัติการของแพทย์ไว้อยู่แล้ว กรณีนี้ต้องสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริงว่าเกิดจากอะไร เพราะมีบทลงโทษกำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้ว พร้อมฝากย้ำไปถึงหน่วยอาสากู้ภัยฉุกเฉินทั้งมืออาชีพ และจิตอาสา สิ่งที่ควรยึดมั่นให้ขึ้นใจเมื่ออยู่ในเวลาปฏิบัติงาน คือ หลัก 3 P

1.Patient Safety ยึดเอาความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง

2.Personal Safety ดูแลความปลอดภัยของตัวเอง คนที่ปฐมพบาลดูแลคนเจ็บ

3.Public Safety ดูแลรับผิดชอบความปลอดภัยของส่วนรวมสาธารณะ เช่น การขับรถ การช่วยเหลือไม่ให้ส่งผลต่อคนหมู่มาก.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น