นักวิชาการอ้อยเตือนรัฐระวังอุตสาหกรรมอ้อยทรุดหนัก

กรุงเทพฯ 29 เม.ย. – ภัยแล้ง โควิด-19 พ่นพิษอุตสาหกรรมอ้อย หวั่นรัฐซ้ำเติมมิถุนายนนี้แบนพาราควอต คาดเบื้องต้นสูญหาย 1.5 แสนล้านบาท ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่รวม 3 แสนล้านบาท สมาคมนักวิชาการอ้อยฯ เตือนรัฐบาลรอบคอบ กังวลอุตสาหกรรมอ้อยเสียหายเกินคาด


นายกิตติ ชุณหวงศ์ นายกสมาคมนักวิชาการอ้อยและน้ำตาลแห่งประเทศไทย หรือ สนอท. เปิดผลการศึกษาล่าสุดในรายงานประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ หากยกเลิกการใช้สารพาราควอตต่อภาคการเกษตรอุตสาหกรรมและการส่งออกของประเทศไทย พ.ศ.2563 พบว่า ปัจจัยการผลิตสำคัญที่กว่า 80 ประเทศทั่วโลกใช้กำจัดวัชพืช คือ พาราควอต โดยเฉพาะออสเตรเลีย บราซิล และอินเดีย ใช้เพื่อลดจำนวนวัชพืช ซึ่งจะแย่งน้ำและธาตุอาหารของพืชหลัก เป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชและโรคพืช จำกัดจำนวนของอ้อยตอที่งอกใหม่จากอ้อยต้นเดิม และรบกวนการหีบอ้อย 

ทั้งนี้ การผลิตอ้อยจำเป็นต้องใช้พาราควอตในการควบคุมวัชพืชระยะแตกกอหรือในช่วง 30-170 วันหลังปลูก และระยะอ้อยย่างปล้องเป็นจุดวิกฤติที่สุด หากควบคุมวัชพืชไม่ได้ จะทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 20-50 ส่งผลปริมาณอ้อยเหลือ 67-108 ล้านตัน จากเดิม 134.8 ล้านตัน กระทบเกษตรกรสูญรายได้รวม 58,000 ล้านบาท ที่สำคัญหากมีฝนตกชุกวัชพืชจะเติบโตเร็วและมาก ไม่สามารถใช้เครื่องจักรกลเข้าไปจัดการในแปลงได้ และไม่มีสารเคมีเกษตรชนิดอื่นทดแทนได้นอกจากพาราควอต อีกทั้งปีนี้ต้นทุนเกษตรกรชาวไร่อ้อยสูงถึง 1,200-1,300 บาทต่อไร่ ต่างจากฤดูปกติอยู่ที่ 1,110 บาทต่อไร่ ขณะที่ค่าอ้อยขั้นต้นอยู่ที่ 750 บาทต่อไร่ ทำให้ภาครัฐต้องหันมาพิจารณาช่วยเหลือต้นทุนในส่วนของปัจจัยการผลิต เป็นแนวทางเดียวที่รัฐจะช่วยได้ โดยไม่ขัดกับข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) ที่กำหนดห้ามสนับสนุนเงินช่วยเหลือ ดังนั้น จะเป็นการซ้ำเติมเกษตรกรชาวไร่อ้อยจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่แล้วจากผลกระทบภัยแล้ง และรายได้จากการส่งออกที่ลดลงจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 หากมีการยกเลิกใช้พาราควอต เบื้องต้น สนอท.คาดการณ์ผลผลิตอ้อยลดลงทันทีร้อยละ 50 คิดมูลค่าเสียหายสูงถึง 150,000 ล้านบาท และกระทบไปยังอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีก 150,000 ล้านบาท รวมสูญเสีย 300,000 ล้านบาท


“ท่ามกลางปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังรุมเร้ารัฐบาลหลายด้าน ทั้งปัญหาใหม่ เช่น โควิด-19 ส่งผลต่อการส่งออกสินค้า ผลผลิตส่งออกไม่ได้ ปัญหาเก่า ได้แก่ ภัยแล้ง น้ำท่วม หนี้สินเกษตรกร ต้นทุนการผลิตภาคเกษตร ปัญหาแรงงานเกษตรที่หายากและราคาแพง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศและการส่งออก ซึ่งปัญหาเหล่านี้ยังไม่ทันจะแก้ไขกลับจะซ้ำเติมให้เลวร้ายยิ่งขึ้นให้กับภาคอุตสาหกรรมอ้อยด้วยการแบนพาราควอต จึงอยากให้รัฐบาลพิจารณาอีกครั้ง อย่าเพิ่งยกเลิกใช้พาราควอตเดือนมิถุนายนนี้ เพราะอาจส่งผลกระทบเสียหายเกินคาด อย่าลืมว่าอุตสาหกรรมน้ำตาลไทยพึ่งพิงรายได้จากการส่งออกเป็นหลักกว่า 11 ล้านตันต่อปี สาเหตุสำคัญที่ไทยแข่งขันได้ในตลาดโลก ด้วยต้นทุนอ้อยของไทยต่ำกว่า ดังนั้น มาตรการจำกัดการใช้ จึงเป็นทางสายกลางเป็นทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้” นายกิตติ กล่าว

นายรังสิต สุวรรณมรรคา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า สารเคมีเกษตรที่อยู่ในข้อเสนอทดแทนนั้น ไม่มีสารทดแทนใดมีประสิทธิภาพ ราคา และสามารถใช้ได้ครอบคลุมพืชเศรษฐกิจทั้ง 6 ชนิด ได้แก่ อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล สอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดยืนยันโดยกรมวิชาการเกษตรยังไม่มีสารและวิธีการอื่นใดมาทดแทนพาราควอตได้.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ทีมกู้ภัยเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายแผ่นดินไหวเมียนมา

ทีมกู้ภัยยังเดินหน้าค้นหาผู้สูญหายจากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา แม้จะผ่านมา 4 วันแล้ว จนกลิ่นศพเริ่มคละคลุ้งไปทั่ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตใกล้แตะหลัก 3,000 ราย

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ข่าวแนะนำ

เจาะโซน C และ D สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์-บันไดหนีไฟ

กู้ภัย เผยเจาะโซน C และ D ได้สำเร็จ อีก 1 เมตรถึงลิฟต์และบันไดหนีไฟ เชื่อมีผู้สูญหายติดอยู่โซนนี้จำนวนมาก หลังพบเสียงขอความช่วยเหลือจากโซน B ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา

ลุ้นช่วยผู้รอดชีวิต หลังพบสัญญาณชีพ

ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ยังเดินหน้าต่อเนื่อง ขณะนี้ในพื้นที่เสียงเครื่องจักรหนักหยุดลง เป็นสัญญาณว่าทีมกู้ภัย ทั้งเจ้าหน้าที่ค้นหาและสุนัข K9 กำลังเข้าไปเดินสำรวจหลายจุด ซึ่งปฏิบัติการตลอดทั้งวันนี้เน้นจุดโซน B หลังจากช่วงคืนที่ผ่านมา (2 เม.ย.) มีสัญญาณตอบกลับจากผู้ที่คาดว่าจะรอดชีวิต

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ

สภาฯ ถก 11 ญัตติ หาทางรับมือแผ่นดินไหว-ภัยพิบัติ ชง “ครม.” ผุดมาตรการตรวจสอบ “บ.รับจ้าง” ขึ้นบัญชีดำผู้รับเหมา หวังป้องกันเหตุซ้ำรอยตึก สตง. ถล่ม

“วันนอร์” ของขึ้น! ขอ ตร.สภาเข้าชาร์จ หลังเถียงกันวุ่นปมญัตติใครขึ้นก่อน

สภาเดือด “วันนอร์” ของขึ้น! ลุกยืน ขอ ตร.สภาเข้าชาร์จ หลังเถียงกันวุ่น เอาญัตติใครขึ้นก่อน เหตุ “อนุสรณ์” เสนอญัตติเลื่อนระเบียบวาระเอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ ไปพิจารณาครั้งถัดไป ซ้อน “เท้ง” เรื่องแผ่นดินไหว “ไอติม” ก็เดือด ทุบโต๊ะ แซะรัฐบาล ไม่กี่ชั่วโมงก็รอไม่ได้ จะเอา “กาสิโน” เข้าทันทีเลย ด้าน “ชัยชนะ” นั่งไม่ติดขอใช้สิทธิพาดพิง ยันพรรคร่วมรัฐบาลไม่ได้เห็นด้วยกับฝ่ายค้าน ทำ “ปกรณ์วุฒิ” โต้กลับ เบรกอย่าประท้วงมั่วซั่ว ขณะ “โรม” ลุกโวยปิดไมค์แต่ฝ่ายค้าน สุดท้ายแพ้ ญัตติขอเลื่อนระเบียบวาระถูกพิจารณาก่อน