ความต้องการเครื่องช่วยหายใจต่อผู้ป่วยหนักโควิด-19

กทม. 13 เม.ย. – หลังเริ่มมีข้อกังวลว่าเครื่องช่วยหายใจสำหรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการวิกฤติจะมีไม่เพียงพอ สำนักข่าวไทยตรวจสอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พบตอนนี้ในไทยยังมีเครื่องช่วยหายใจประสิทธิภาพสูงที่ใช้รักษาผู้ป่วยหนักมากกว่าจำนวนเตียงไอซียูที่เตรียมไว้ 2-3 เท่าตัว ส่วนที่หลายฝ่ายช่วยผลิตเครื่องช่วยหายใจ ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงกับผู้ป่วยโควิด หรือผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อนได้


การช่วยชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ปอดอักเสบรุนแรง วิกฤติจนต้องใช้เครื่องช่วยหายเหมือนที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ยังพบไม่มากในผู้ป่วยของไทย เพราะส่วนใหญ่ติดเชื้อโควิดในระบบทางเดินหายใจส่วนบน


นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ และหัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เปิดเผยว่า ตอนนี้โรงพยาบาลศิริราชดูแลผู้ป่วยโควิดที่อาการวิกฤติอยู่ 10 ราย 60% เป็นผู้สูงอายุ ในจำนวนนี้มีเพียง 4 ราย ที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรง ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ส่วนที่เหลืออีก 6 ราย ใช้เครื่องจ่ายออกซิเจนอัตราไหลสูง และอุปกรณ์พยุงอวัยวะขั้นสูงอื่นๆ ในการรักษา  


ขณะที่ยอดรวมผู้ป่วยโควิดที่มีอาการวิกฤติ ทั่วประเทศตอนนี้มีอยู่ราว 40 ราย หรือประมาณ 1% ของยอดผู้ติดโควิด-19 ทั้งหมด ในจำนวนนี้กว่า 30 ราย กระจายตัวรักษาอยู่ในโรงพยาบาลเครือข่ายของรัฐและเอกชน 30 แห่งในพื้นที่กรุงเทพฯ ส่วนที่เหลือรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลประจำจังหวัดขนาดใหญ่

นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทยฯ บอกอีกว่า ในผู้ป่วยวิกฤติทั้ง 40 รายนี้ มีเพียง 50%  หรือประมาณ 20 รายเท่านั้นที่มีอาการปอดอักเสบรุนแรงต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ ส่วนที่เหลือใช้อุปกรณ์พยุงอวัยวะขั้นสูงอื่นๆ ในการรักษาได้ พร้อมย้ำอาการของผู้ป่วยโควิดวิกฤติ มีทั้งที่ปอดอักเสบมาก อักเสบน้อย และขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนว่ามีโรคเรื้อรังอยู่เดิมหรือไม่ ฉะนั้นการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่จำเป็นต้องใช้ในผู้ป่วยโควิดวิกฤติทุกราย 

อีกทั้งเครื่องช่วยหายใจประสิทธิภาพสูงที่สามารถใช้รักษาผู้ป่วยโควิดวิกฤติได้ ทั่วทั้งประเทศขณะนี้มีอยู่ประมาณ 1,500 เครื่อง มากกว่าจำนวนเตียงไอซียูที่เตรียมไว้รองรับผู้ป่วยโควิดวิกฤติถึง 3 เท่าตัว

การรักษาผู้ป่วยวิกฤติจากโรคโควิด-19 แต่ละราย ใช้เวลาเฉลี่ย 3-6 สัปดาห์ ทำให้ต้องมีการขยายจำนวนเตียงไอซียูที่ใช้รักษาในห้องความดันลบเพิ่มขึ้น จากที่เตรียมไว้ 80 เตียง จะขยายเพิ่มเป็น 120 เตียง ภายในเดือนเมษายน และเพิ่มเป็น 200 เตียง ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ แต่หากสถานการณ์รุนแรง ก็สามารถเพิ่มศักยภาพได้ถึง 500 เตียง กระจายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค

ส่วนการพัฒนาเครื่องช่วยหายใจประสิทธิภาพสูง ที่จะนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโควิดวิกฤติ ยังไม่สามารถผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้น ที่หลายฝ่ายผลิตขึ้นเป็นเพียงเครื่องช่วยหายใจกลุ่มพื้นฐาน ประยุกต์ใช้ได้เฉพาะกับผู้ป่วยที่มีอาการซับซ้อนเท่านั้น

ผู้วางแผนรับมือผู้ป่วยโควิดวิกฤติ ย้ำทั้งเครื่องช่วยหายใจ จำนวนเตียงไอซียู และบุคลากรทางการแพทย์ ตอนนี้ยังถือว่ามีเพียงพอสำหรับผู้ป่วยโควิดวิกฤติที่คาดการณ์ไว้ แต่หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือป้องกันตัวเอง ปล่อยให้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นพร้อมกันจำนวนมาก ก็ยากที่จะคาดการณ์ อัตราการตายของไทยซึ่งอยู่ที่ 25% อาจเพิ่มสูงขึ้นเหมือนในต่างประเทศที่มีมากถึง 50%.- สำนักข่าวไทย   

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัยตึก สตง.ถล่ม

นายกรัฐมนตรี เยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่กู้ภัย ค้นหาผู้สูญหายเหตุตึก สตง.ถล่ม พร้อมสอบถามถึงอุปสรรคในการทำงานและความต้องการเพิ่มเติม

ปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

รองผู้ว่าฯ กทม. เผยยอดผู้เสียชีวิตเหตุตึกถล่ม ที่ผ่านการพิสูจน์อัตลักษณ์แล้ว อยู่ที่ 16 ราย และอยู่ระหว่างการค้นหาอีก 78 ราย พร้อมแจงปรับวิธีรายงานยอดผู้เสียชีวิต ให้นิติเวชยืนยันก่อน

นายกฯ วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะ เนื่องในวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์

นายกรัฐมนตรี วางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เนื่องในวันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พุทธศักราช 2568 ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า