เปิดเวทีเสวนา ถอดรหัสบทวิเคราะห์ “โควิด-19”

บางเขน 5 มี.ค.-อว.จับมือ สธ.ถอดรหัสบทวิเคราะห์โควิด-19 “องค์การอนามัยโลก…เจออะไรที่ประเทศจีน” หลังส่งผู้เชี่ยวชาญ 8 ประเทศ เก็บข้อมูลที่จีน ช่วงกลางเดือน ก.พ.พบร้อยละ 96 เชื้อมาจากค้างคาว ผู้ป่วยหัวใจ เบาหวาน เสี่ยงสูงหากติดเชื้ออาจเสียชีวิต จีนเฝ้าระวังและค้นหา   ผู้ติดเชื้ออย่างเข้มข้น จนตัวเลขเริ่มลดลง


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดเวทีเสวนาวิชาการรูปแบบใหม่ถอดรหัสบทวิเคราะห์ โควิด-19 “องค์การอนามัยโลก…เจออะไรที่ประเทศจีน”เพื่อการรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยมี ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) Dr.Daniel Kertesz( แดเนียล เคอร์เทส)ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ร่วมเสวนาและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19


Dr.Daniel กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกได้ส่งผู้เชี่ยวชาญ 25 คน จาก8 ประเทศ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ประเทศจีน เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ระหว่าง16-24 ก.พ 63 เพื่อนำมาถอดบทเรียนและเผยแพร่แก่คนทั่วโลก ในการควบคุม ป้องกัน การรับมือกับการระบาด และดูว่า คนกลุ่มใดมีความเสี่ยงมากที่สุด การแสดงอาการ จนถึงการเสียชีวิตเป็นอย่างไร โดยทำงานร่วมกันระหว่างองค์การอนามัยโลกกับรัฐบาลจีน แม้ว่าการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลนำมาจัดทำเป็นรายงานฉบับนี้จะค่อนข้างสั้น แต่หวังว่าจะนำมาประยุกต์ใช้ได้ในการยับยั้งการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ 


เลขาธิการ วช. กล่าวว่า รายงานฉบับนี้น่าสนใจมากเพราะเป็นครั้งแรกที่เข้าไปศึกษาในสถานที่จริง เพื่อศึกษาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน โดยพบว่าในช่วงการแพร่ระบาดตั้งแต่ 8 ธันวาคม 62 มีการระดม แพทย์ พยาบาล มากกว่า 40,000 คนเข้าไปในอู่ฮั่น หูเป่ย มีการสร้าง รพ.เฉพาะการรักษาไวรัสโควิด-19 เปลี่ยนแปลง รพ.45 แห่งมาดูแลคนไข้โดยเฉพาะ มี 36แห่งดูแลคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ 9 รพ.ดูแลผู้ป่วยหนัก และรายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า มีข่าวดีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงเรื่อยๆ เพียง9 วันที่เข้าไปศึกษา ที่เกิดเหตุ ทั้งที่อู่ฮั่น ปักกิ่ง เสฉวน กวางเจา เซินเจิ้น 

ผลที่ได้ของรายงานฉบับนี้ มี6 ส่วน คือ 1.เชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นอย่างไร 

2.การระบาด มีผลอย่างไร 3.การระบาดวิทยา ติดได้อย่างไร 4.การดำเนินโรค ป่วยแล้วเป็นอย่างไร 5.การตอบสนองมาตรการของจีน การปิดเมือง ทำอะไรบ้าง 6.ช่องว่างของความรู้ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคใหม่ สิ่งที่ยังไม่ทราบคืออะไรและจะทำอะไรต่อ 

ทั้งนี้ จากการศึกษาเชื้อจากผู้ป่วย 104 ราย พบว่าเชื้อตัวนี้แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1.เชื้อตัวนี้อยู่ในกลุ่มโคโรนาไวรัส และสายพันธุ์นี้ไม่เคยพบในคนมาก่อน เป็นการติดเชื้อจากสัตว์ 2.ใกล้เคียงกับเชื้อที่พบในค้างคาว 96% ทำให้เกิดปอดอักเสบอย่างรุนแรง 

พญ.รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากรายงานการลงพื้นที่จริงเมื่อ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่ 2วันถึงอายุ100 ปี และผู้ติดเชื้อร้อยละ70คือ หูเป่ย สัดส่วนหญิงชายเท่ากัน การแพร่ระบาดมาจากสัตว์ และค้างคาวน่าจะเป็นตัวเก็บเชื้อทั้งหมด แต่สัตว์อะไรที่นำมาแพร่เชื้อสู่คนยังไม่แน่ชัด จากการลงพื้นที่ตลาดสัตว์หายาก ในตลาดไม่มีการคัดแยกสัตว์ โดยทั้งหมดอยู่ร่วมกัน ไม่มีการสวมถุงมือของผู้ค้า ผู้ซื้อ และมีการถกเถียงกันว่า การติดเชื้อมาจากฝอยละอองหรือทางอากาศ ซึ่งยังไม่พบข้อมูลว่าแพร่ระบาดทางอากาศแต่เป็นการสัมผัสฝอยละอองและ ร้อยละ 80 ติดเชื้อจากในบ้าน น่าสนใจว่าประเทศจีนตั้งทีมในการดูแลกลุ่มที่มีความเสี่ยง 1,800 ทีมในการดูแล ดูแล10,000 คนต่อวัน เพื่อลดการแพร่ระบาด สาเหตุที่คนตื่นกลัวมาก เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ และต้องดูว่าหลังติดเชื้อแล้วจะสามารถเป็นอีกได้หรือไม่ และการระบาดถึงขนาดไหน การติดเชื้อถึงจะน้อยลง 

นพ.ไชยรัตน์  เพิ่มพิกุล  หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์  ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า กลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ  โควิด-19 และเสียชีวิต คือกลุ่มสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน ส่วนคนไข้เด็กที่ต่ำกว่า18 ปี พบน้อย 

นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ประเทศไทยเริ่มต้นรับมือตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม หลังได้รับรายงานการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และเริ่มคัดกรองผู้เดินทางจากอู่ฮั่น ประเทศจีนมาจนถึงปัจจุบัน ไทยมีประสบการณ์จากการรับมือไข้หวัดนก โรคเมอร์ส อีโบลา ศักยภาพเดิมเรามีอยู่ แต่ต้องเรียนรู้จากจีน ในด้านการงดกิจกรรมหรือเทศกาลทั้งหมด เป็นการลดการระบาดได้ดี เช่น จีน สามารถงดเทศกาลตรุษจีนได้ ไทยจะสามารถงดเทศกาลสงกรานต์ จะเป็นไปได้หรือไม่ ถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลไทย และเป็นความร่วมมือของคนในประเทศ 

อย่างไรก็ตามบทเรียนจากประเทศจีนสำหรับประเทศที่การระบาดอยู่ที่ระยะที่ 2 ให้เริ่มใช้กลไกการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินในระดับ ประเทศ เฝ้าระวังและค้นหาผู้ติดเชื้ออย่างเข้มงวด ให้ข้อมูลและความรู้แก่ประชาชน สอดส่องและค้นหาโรคในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มอื่นๆ เตรียมแผน การและซักซ้อมการปฏิบัติมาตรการต่างๆ จนถึงระดับสูงสุด ยังมีรายละเอียดการค้นพบอีกมากในรายงานขององค์การอนามัยโลกดังกล่าว

ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นบทเรียนสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนที่สำคัญเพื่อการเตรียมตัวรองรับสถานการณ์ โควิด-19 ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงเป็นการถอดบทเรียนและสร้างองค์ความรู้ สร้าง ความเข้าใจ และแนวทางป้องกันสำหรับอนาคตต่อไป.-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ชาวนครฯ ฝ่าสายฝนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.

ชาวนครศรีธรรมราช ฝ่าสายฝนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง นายก อบจ.ต่อเนื่อง หลังเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเปิดให้มีการลงคะแนน

เปิดหีบเลือกตั้ง “นายก อบจ.อุดรธานี” ปชช.ทยอยใช้สิทธิ

ชาวอุดรธานีทยอยใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ. ต่อเนื่อง ด้านเลขาธิการ กกต. เผยคืนหมาหอน ทั้งที่อุดรธานี เพชรบุรี และนครศรีธรรมราช ยังไม่พบการทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น-ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอุณหภูมิสูงขึ้น เตือนภาคใต้ตอนล่างฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก