ธ.ก.ส.พร้อมดูแลเกษตรกรฝ่าวิกฤติภัยแล้ง

กรุงเทพฯ 30 ม.ค. – ธ.ก.ส.ออกมาตรการช่วยเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ขยายเวลาชำระหนี้เดิมออกไป 2 ปี พร้อมจัดวงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0% ใน 2 ปีแรก เผยช่วยเกษตรกรประสบภัยธรรมชาติกว่า 90,507 ราย เป็นเงิน 5,950 ล้านบาท


นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ  ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ ทำให้หลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตร โดยมีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายวงกว้าง  ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพของเกษตรกร ซึ่งเบื้องต้นมีประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินแล้ว 20 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์  กาฬสินธุ์  กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครราชสีมา อุตรดิตถ์ ชัยนาท นครสวรรค์ สุโขทัย สุพรรณบุรี พะเยา และสกลนคร 


ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและคลายความกังวลเรื่องภาระหนี้สินของเกษตรกร  คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ซึ่งมีนายอุตตม สาวนายน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ ในการประชุมเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส.เร่งช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง  ประกอบด้วย การแก้ไขปัญหาหนี้สินเดิม  โดย ธ.ก.ส.ขยายเวลาชำระหนี้ต้นเงินกู้ที่ถึงกำหนดชำระออกไปอีก 2 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 นอกจากนี้ ยังได้จัดทำโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้ง ปี 2563 เพื่อเป็นเงินทุนสนับสนุนในการจัดหา สร้าง/พัฒนา และปรับปรุงแหล่งน้ำไว้ใช้ในยามวิกฤติ และลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งวงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท โดยเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งสามารถกู้เพื่อนำไปลงทุนรายละไม่เกิน 200,000 บาท  อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี  ใน 2 ปีแรก ส่วนปีที่ 3 เป็นต้นไป คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR-2 (ปัจจุบัน MRR= 6.875) กำหนดชำระคืนไม่เกิน 10 ปี ระยะเวลาสนับสนุนสินเชื่อ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563

นายอภิรมย์ กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้มอบหมายให้พนักงานในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งออกเยี่ยมให้กำลังใจเกษตรกรลูกค้าและสำรวจความเสียหาย พร้อมจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค จัดหาถุงยังชีพในรายที่จำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น  และกรณีเกษตรกรทำประกันภัยพืชผลจะได้รับชดเชย  ข้าวนาปี 1,260 บาทต่อไร่ ข้าวโพด 1,500 บาทต่อไร่  นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน เช่น สินเชื่อฉุกเฉิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ  ซึ่งผลการดำเนินงานวันที่ 27 มกราคม 2563 จ่ายสินเชื่อไปแล้ว 3,890 ล้านบาท  เกษตรกร 79,676 ราย สินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประสบภัย จ่ายสินเชื่อไปแล้ว 2,060 ล้านบาท เกษตรกร 10,831 ราย หากเกษตรกรได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและมีความประสงค์ต้องการใช้สินเชื่อฉุกเฉิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพหรือเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินในครัวเรือน วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท  อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปีใน 6 เดือนแรก ส่วนเดือนที่ 7 คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR และสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ประสบภัย วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท วงเงินกู้ 5,000 ล้านบาท  คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา  MRR-2 กำหนดชำระไม่เกิน 15 ปี  สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขาในพื้นที่ประสบภัย.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ข่าวแห่งปี 2567 : รวมฉ้อโกง “ดารา-คนดัง” ไม่รอด

ตลอดปี 2567 ยังมีผู้คนตกเป็นเหยื่อของกลโกง มิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ บางคนถึงขั้นสิ้นเนื้อประดาตัว และที่น่าตกใจเริ่มมีคนดังเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีมากขึ้น

หมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาฉลองปีใหม่

บรรยากาศการเดินทางหมอชิต 2 คึกคัก ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวปีใหม่ ด้าน รฟท. คาดผู้โดยสารเดินทางขาออกวันนี้ 1 แสนคน

รถเริ่มแน่น! สายเหนือ-อีสาน การจราจรชะลอตัว

ประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา หยุดยาวปีใหม่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสายอีสาน รถแน่น ส่วนถนนสายเอเชีย ขึ้นเหนือ รถเคลื่อนตัวได้ช้า