กลุ่มนิสิตจุฬาฯ เรียกร้องรัฐออกมาตรการเชิงรุกแก้ปัญหา PM 2.5

ทำเนียบฯ 14 ม.ค.-กลุ่มนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยื่นข้อเรียกร้องรัฐบาลออกมาตรการเชิงรุก 3 ระยะ แก้ไขปัญหา PM 2.5 เสนอให้ออกกฎหมายอากาศสะอาด ลดมลพิษ พร้อมจัดบริการขนส่งสาธารณะราคาถูก ลดการใช้รถส่วนตัว


กลุ่มนิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องถึงรัฐบาล ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล โดยมีนายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับหนังสือ พร้อมจัดกิจกรรมไล่ฝุ่น#NotMyPM (2.5) ชูป้ายข้อความแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชฐ ข้างทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้รัฐบาลมีมาตรการป้องกันเชิงรุกในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ส่งผลให้เกิดวิกฤติคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ และอีกหลายพื้นที่ในประเทศไทย ที่ผ่านมารัฐบาลเคยประกาศให้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธุ์ 2562 ผ่านมาเกือบหนึ่งปี ปัญหากลับซ้ำรอยเดิม การตอบสนองของภาครัฐกลับเฉื่อยชา ไม่มีการประกาศ หรือมาตรการเฝ้าระวังอย่างชัดเจน รวมถึงไม่พบการสนับสนุนเร่งด่วนที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนไม่สามารถรับมือกับปัญหาได้ทันเวลา ดังนั้นกลุ่มนิสิตฯ จึงรวมตัวกันแสดงพลังและเรียกร้องให้ภาครัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2 .5 ใน 3 ด้าน 

1.ด้านการรับมือปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในระยะเร่งด่วน ขอเรียกร้องให้ภาครัฐกระจายข้อมูลข่าวสารและสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้ประชาชน เตรียมพร้อมและรับมือเมื่อเกิดสถานการณ์ฝุ่นละอองอย่างกระทันหัน  , หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแจ้งสถานการณ์ฝุ่นละอองผ่าน SMS โทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนอย่าง รวดเร็วและทันสถานการณ์ , ระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถขนส่งสาธารณะ รถไฟฟ้า แจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละอองให้ผู้ใช้บริการรับทราบ ผ่านโทรทัศน์ที่ติดตั้งบนรถโดยสาร , รายงานค่าดัชนีคุณภาพอากาศต้องเป็นการรายงานภายในเวลา 3 ชั่วโมงย้อนหลัง ให้สอดคล้องกับระยะเวลาจริง , ในกรณีที่สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วิกฤติหนัก ภาครัฐต้องควบคุมให้กิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นพิษทุกชนิดหยุดลงทันที รวมถึงให้โรงเรียน สถานประกอบการ โรงงาน หยุดงานชั่วคราวจนกว่าปัญหาจะทุเลา รวมทั้งมีมาตรกรรองรับผู้เดือดร้อนหากมีการหยุดงานที่อาจส่งผลให้สูญเสียรายได้ , โรงงานอุตสาหกรรมต้องจัดทำบัญชีระบายมลพิษ แจ้งให้ภาครัฐและเปิดเผยต่อภาคประชาชน เพื่อทราบปริมาณควันพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตอันนำไปสู่การป้องกันและดำเนินการทางนโยบายต่อไป


2.ด้านการรับมือปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในระยะสั้น ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มจุดตรวจ PM 2.5 ให้ทั่วประเทศและมีมาตรฐานเดียวกัน , ภาครัฐต้องสนับสนุนและอุดหนุนราคาหน้ากากอนามัย หรืออุปกรณ์ฟอกอากาศ เพื่อลดภาระของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ รวมถึงอำนวยความสะดวกประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์เหล่านี้ได้ , หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสนับสนุนการทำวิจัยเพื่อหาสาเหตุของฝุ่น PM 2.5 เนื่องจากจนถึงปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยที่ระบุออกมาชัดเจนว่าสาเหตุที่แท้จริงของฝุ่นพิษเกิดจากอะไร ส่งผลให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษได้อย่างตรงจุด , รัฐบาลดำเนินการทางการทูตในเชิงรุก กรณีปัญหาในระดับภูมิภาคหรือระดับนานาชาติ เช่น กรณีไฟป่าจากประเทศอินโดนีเซีย , รัฐบาลพิจารณาผลกระทบจากโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่ขยายพื้นที่อุตสาหกรรมโดยขาดการวางผังเมืองร่วมกับคนในท้องที่ รวมถึงเปิดโอกาสให้นายทุนข้ามชาติตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ปล่อยควันพิษที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพประชาชนโดยไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่น PM 2.5 เรื้อรัง

3.ด้านการรับมือกับค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ระยะยาว โดยรัฐบาลควรออกกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) ที่เป็นรูปธรรมและใช้ได้จริง โดยร่วมมือกับ หน่วยงานและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นในประเทศไทยโดยเฉพาะ , ปรับมาตรฐานฝุ่นละออง PM 2.5 ให้ต่ำลง อ้างอิงตามองค์การอนามัยโลก ทั้งมาตรฐานฝุ่นละออง PM 2.5 เฉลี่ย 1 ปี และเฉลี่ย 24 ชั่วโมง รวมถึงเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ด้วย เนื่องจากประเทศไทยกำหนดมาตรฐานที่ยอมรับได้ดังกล่าวสูงกว่าข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกมาก ทำให้รัฐไม่สามารถแก้ปัญหาฝุ่นละอองที่มาจากภาคอุตสาหกรรม หรือภาคอื่น ๆ ได้อย่างจริงจัง และทำให้การแสดงผลค่าฝุ่นละอองในประเทศไทย ผ่าน AQI มีระดับความรุนแรงที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับความเป็นจริง , ภาครัฐต้องจัดบริการขนส่งสาธารณะที่ราคาถูกและเข้าถึงได้เพื่อสนับสนุนให้คนใช้บริการขนส่งสารธารณะ ลดการใช้รถส่วนบุคคล , ภาครัฐต้องออกแบบและวางผังเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแก้ไขหรือวางผังเมืองใหม่โดยคำนึงถึงการลดปัญหามลพิษทางอากาศ รวมถึงกระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่ท้องถิ่น นอกจากกรุงเทพฯ เพื่อเพิ่มอำนาจประชาชนในการแก้ปัญหา เฉพาะพื้นที่ รวมทั้งลดความแออัดและการกระจุกตัวของประชากร , ภาครัฐต้องควบคุมวิถีการผลิตที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของภาคเอกชนอย่างเคร่งครัด และออกกฎหมายควบคุมการผลิตของภาคเอกชนเพื่อหลีกเลี่ยงการผลักภาระให้ประชาชน , ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนต้องจัดตั้งองค์กรดูแลด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอำนาจครอบคลุม ทั่วถึงในการดูแลและแก้ไขปัญหาทางสิ่งแวดล้อมทั้งหมด และการปฏิบัติขององค์กรต้องเป็นไปอย่างรวดเร็วและโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

หนุ่มอุดรฯ ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ 45 ล้านบาท

สุดเฮง! หนุ่มอุดรฯ ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ รับเงินรางวัล 45 ล้านบาท ลูกสาวเผยพ่อเป็นคนชอบทำบุญ ก่อนหน้านี้เพิ่งโทรมาบอกให้ใส่บาตร เชื่อผลบุญหนุนโชคลาภ

สามีภรรยาจากอยุธยารับ “เจ้าจอร์จ” ไปดูแล

สามีภรรยาใจบุญจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ขอรับ “เจ้าจอร์จ” สุนัขพันธุ์อเมริกันบูลลี่ ไปอุปการะแล้ว หลังกัดแทะร่างพระเจ้าของที่มรณภาพในกุฏิด้วยโรคประจำตัว

ดีเอสไออนุมัติสืบสวนคดีแตงโม คาดตั้งชุดเริ่มสืบได้ 27 ม.ค.นี้

อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติให้สืบสวนคดีแตงโม ว่ามีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ และมีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่ คาดเริ่มได้ 27 ม.ค.นี้