จี้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหาฝุ่น-ผลกระทบจากมลพิษ

กสม. 30 ม.ค.- กสม. เตรียมทำข้อเสนอถึงรัฐบาลให้เร่งแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากมลพิษด้านฝุ่นละอองในภาพรวม


นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวเด่นประจำสัปดาห์ ว่าได้ติดตามสถานการณ์ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากกิจกรรมและแหล่งกำเนิดมลพิษต่าง ๆ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ยานพาหนะ การเผาในที่โล่งทั้งภายในประเทศและในประเทศข้างเคียง ประกอบกับสภาพภูมิอากาศบางช่วงมีความกดอากาศสูงและอากาศไม่ถ่ายเทส่งผลให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) หนาแน่นและสะสมในชั้นบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้พื้นที่กรุงเทพมหานคร พื้นที่ภาคเหนือ และอีกหลายพื้นที่ของประเทศมีรายงานค่าฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

แม้ว่าที่ผ่านมารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 เช่น การห้ามเผาในที่โล่ง การตรวจจับยานพาหนะที่ปล่อยไอเสียเกินมาตรฐาน การเรียนออนไลน์ การทำงานที่บ้าน การสนับสนุนให้เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ การตรวจและแจ้งเตือนคุณภาพอากาศให้ประชาชนทราบ รวมถึงการเผยแพร่และสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับวิธีการป้องกันและลดมลพิษจากฝุ่น PM2.5 ทั้งนี้ปัญหาฝุ่น PM2.5 มีความซับซ้อนและมีแหล่งกำเนิดมลพิษที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ มาตรการของรัฐบางส่วนไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง หรือดำเนินการเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์รุนแรงเท่านั้น ในขณะที่การบังคับใช้กฎหมายไม่มีความเข้มงวดจริงจัง จึงยังพบปัญหายานพาหนะปล่อยไอเสียหรือควันดำ การลักลอบเผาในที่โล่งหรือพื้นที่เกษตรกรรมยังคงเกิดขึ้นเป็นวงกว้างทั่วประเทศ ทำให้ในภาพรวมรัฐบาลยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้อย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร


ด้วยเหตุที่สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน ได้รับการรับรองว่าเป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เนื่องจากการปกป้องและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศมีส่วนส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีและทำให้บุคคลได้รับสิทธิต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต สิทธิที่จะมีสุขภาพที่ดี สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ ในปี 2566 กสม. จึงได้เสนอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่นละอองในภาคเหนือเพื่อควบคุมปัญหาไฟป่าที่เป็นแหล่งกำเนิดฝุ่น โดยบูรณาการการทำงานและจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ ซึ่งมีการมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ขณะที่ปี 2567 กสม. ได้ร่วมผลักดันให้มีกฎหมายอากาศสะอาด เพื่อคุ้มครองสิทธิทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมายอยู่ระหว่างการพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

จากสภาพปัญหาและข้อท้าทายดังกล่าว กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 จึงเห็นควรให้จัดทำข้อเสนอแนะถึงรัฐบาลให้เร่งแก้ไขปัญหาผลกระทบจากมลพิษด้านฝุ่น PM 2.5 ในภาพรวมของประเทศ โดยนำหลักการด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะสิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีและสิทธิในสุขภาพมาปรับใช้เพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชน รวมทั้งบังคับใช้มาตรการแก้ไขปัญหาแหล่งกำเนิดมลพิษและการป้องกันสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัด และกระจายอำนาจลงไปถึงหน่วยงานในระดับพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน .314.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ เจ็บ 21

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ ถนนสายเอเชีย ขาขึ้น จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้บาดเจ็บ 21 คน คาดคนขับหลับใน เบื้องต้นยังไม่พบตัว

เน้นเครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B, C คาดมีผู้ติดค้างจำนวนมาก

ฝนตกหนักช่วงเช้า เพิ่มอุปสรรคค้นหาผู้ประสบภัย และการรื้อซากอาคาร สตง.ถล่ม เจ้าหน้าที่ทุกส่วนต้องหยุดปฏิบัติภารกิจชั่วคราว วันนี้ยังเน้นใช้เครื่องจักรหนักเข้าถึงโซน B และโซน C ที่มีลักษณะคล้ายร่างกายมนุษย์ติดอยู่ในซาก ด้านทีม K9 ประกาศยุติภารกิจค้นหาผู้สูญหาย