นักวิชาการ 3 สถาบันเห็นพ้องแก้ รธน.ให้ประชาชนมีส่วนร่วม

ม.ธรรมศาสตร์ 16 ธ.ค. – นักวิชาการ 3 สถาบันเห็นพ้องแก้ไข รธน.โดยประชาชนมีส่วนร่วม เชื่อ ปีหน้าสถานการณ์การเมือง-เศรษฐกิจ สาหัส ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เสียเลือดเสียเนื้อ


วงเสนา “อดีต ปัจจุบัน และอนาคตรัฐธรรมนูญไทย” ที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วันนี้ (16 ธ.ค.) นักวิชาการที่เข้าร่วมต่างเห็นตรงกันที่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์อันจะนำไปสู่การเสียเลือดเสียเนื้อ 

นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับ ปี 2562 ล้มเหลว 4 ประการคือ ไม่สามารถสร้างรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ ไม่สามารถสร้างการตรวจสอบถ่วงดุล ไม่สามารถสร้างความเสมอภาคในสังคม และไม่สามารถสร้างเอกภาพทางการเมือง เป็นชนวนความขัดแย้ง   จึงเห็นว่าไม่จำเป็นที่ต้องฉีกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ค่อยๆ แก้เหมือนอินโดนีเซีย 


“ปีหน้าจะเป็นตัวกำหนดว่า เราจะได้รัฐธรรมนูญที่ดีได้อย่างไร และส่วนตัวไม่อยากเห็นการเสียเลือดเสียเนื้อ  รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้ดำเนินการได้หลายอย่าง ต่างไปจากเดิม หรือใช้เป็นเครื่องมือ เปิดให้โหวตสวนมติพรรคได้ ปัญหาของระบบเลือกตั้ง คือ ต้องการขจัดอิทธิพลพรรคการเมืองใหญ่ ไม่ให้พรรคเข้มแข็ง และเห็นว่าปีหน้า จะยิ่งมีแรงกดดันเกิดขึ้น” นางสิริพรรณ กล่าว

นายประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เชื่อว่า ปี 2563 สถานการณ์จะหนักหนาสาหัส ทั้งเศรษฐกิจและการเมือง  พฤติกรรมการใช้อำนาจของผู้มีอำนาจ ทั้งมีตำแหน่งและไม่มีตำแหน่งจะมีส่วนชี้วัดสถานการณ์ และจะเป็นชนวนที่อันตรายที่สุด  เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ อาจจะเป็นชนวนความขัดแย้ง แต่ไม่มีใครต้องการเห็นเช่นนั้น แต่ถ้าไม่มีการเปิดให้เคลื่อนไหวในระบบ หรือไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ อาจเกิดการชุมนุม ประท้วง หรือเหตุการณ์ความไม่สงบเหมือนอาหรับสปริง

นายธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เห็นว่า เหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา เป็นความไม่ชาญฉลาดของคนชั้นนำ ที่วางกับดัก ไม่ให้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เข้าสู่สภา เพราะทางสังคมไม่ได้มองว่าเป็นกระบวนการทางกฎหมายแต่มองว่าเป็นการกำจัด และข่าวที่ออกมาในช่วงนี้ ก็ตอกย้ำว่าต้องการขจัดพรรคอนาคตใหม่  จึงไม่สามารถแก้ปัญหาการเมืองในรัฐสภาได้ และเห็นว่า รัฐโอบกอดอำนาจไว้เหมือนเกรงว่าจะจม 


น.ส.วรรณภา ติระสังขะ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญมีกับดักบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ ขณะที่ กระบวนการออกแบบและแก้ไขรัญธรรมนูญ ต้องให้คนหลากหลายมาร่วมแก้ไข เพื่อให้ร่วมกันเป็นเจ้าของ อันจะทำให้เห็นคุณค่าความเป็นกฎหมายสูงสุดนี้ได้ พร้อมเปรียบเทียบการออกแบบรัฐธรรมนูญเหมือนการชักกะเย่อ เพื่อให้สมดุลกัน 

“หลายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มันไปไมได้จริงๆ ออกกฎหมายยังไม่ได้เลย ส.ส.ต้องอยู่ห้องประชุมตลอด เมื่อลองใช้แล้วจะรู้ว่า รัฐธรรมนูญมีปัญหาอะไร อย่าใจร้อนจะแก้วันนี้พรุ่งนี้ให้ได้ ต้องให้ประชาชาเรียนรู้ไปก่อน ว่ามีปัญหาอย่างไร ต้องใช้เวลา ไม่ได้ทำได้ด้วยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หน้าที่ที่สำคัญของคนเห็นต่างต้องทำให้ทหารรู้ว่าอยู่ต่อไปแบบนี้ไม่ได้แล้ว” น.ส.ววรรณภา กล่าว .- สำนักข่าวไทย   

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

หนุ่มอุดรฯ ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ 45 ล้านบาท

สุดเฮง! หนุ่มอุดรฯ ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ รับเงินรางวัล 45 ล้านบาท ลูกสาวเผยพ่อเป็นคนชอบทำบุญ ก่อนหน้านี้เพิ่งโทรมาบอกให้ใส่บาตร เชื่อผลบุญหนุนโชคลาภ

สามีภรรยาจากอยุธยารับ “เจ้าจอร์จ” ไปดูแล

สามีภรรยาใจบุญจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ขอรับ “เจ้าจอร์จ” สุนัขพันธุ์อเมริกันบูลลี่ ไปอุปการะแล้ว หลังกัดแทะร่างพระเจ้าของที่มรณภาพในกุฏิด้วยโรคประจำตัว

ดีเอสไออนุมัติสืบสวนคดีแตงโม คาดตั้งชุดเริ่มสืบได้ 27 ม.ค.นี้

อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติให้สืบสวนคดีแตงโม ว่ามีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ และมีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่ คาดเริ่มได้ 27 ม.ค.นี้