“สุริยะ” ระบุยึดข้อมูลกรมวิชาการเกษตรแบน 3 สารเคมี

กรุงเทพฯ 26 พ.ย. – “สุริยะ” ถกคณะกรรมการวัตถุอันตรายนัดแรกพรุ่งนี้ (27 พ.ย.) ยึดข้อมูลกรมวิชาการเกษตรเป็นหลักแบน 3 สารเคมีทางการเกษตร 


นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย กล่าวในช่วงรับหนังสือร้องเรียนจากตัวแทนเกษตรกรที่ขอให้ทบทวนมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ที่มีมติให้แบน 3 สารเคมีทางการเกษตร คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ว่า ได้อ่านข้อมูลที่ทางเกษตรกรยื่นมาให้แล้ว

นายสุริยะ กล่าวกับสื่อมวลชน ว่า ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่จะมีการประชุมวันพรุ่งนี้ (27 พ.ย.) จะขอรับฟังข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรก่อน หากเสนอให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายคงมติเดิม คือ แบน 3 สารเคมี และมีวิธีการส่งออกสารเคมีทั้ง 3 ก็จะยึดถือข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรป้อนให้ แต่ถ้าหากข้อมูลออกมา เห็นว่าหากแบน 3 สารเคมีแล้วจะมีผลกระทบตามมามาก และทางกรมวิชาการเกษตรเสนอว่าควรให้เลื่อนการแบนออกไปก่อนก็จะรับฟัง ดังนั้น การพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายพรุ่งนี้จึงขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ทางกรมวิชาการเกษตรส่งเข้ามายังคณะกรรมการฯ 


สำหรับเกษตรกร 7 สมาคมที่มายื่นหนังสือต้องการให้มีการใช้สารเคมีต่อไปนั้น ทางเกษตรกรได้ให้ข้อมูลว่า หากมีการแบน 3 สารเคมี จะส่งผลกระทบกับประชาชน ตลอดจนเกษตรกร และการแบน 3 สารเคมี ยังมีผลกระทบต่อการนำเข้าถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองจากต่างประเทศที่ปัจจุบันใช้ในการเป็นอาหารสัตว์ก็จะต้องห้ามนำเข้าด้วย เพราะมีสารนี้ปนอยู่ ซึ่งอุตสาหกรรมอาหารสัตว์จะได้รับผลกระทบและต่อเนื่องไปยังผู้เลี้ยงไก่และอื่น ๆ ต่อไป รวมถึงข้าวสาลีก็จะมีผลกระทบต่อเนื่องตามมาเช่นกัน

ต่อข้อถามผู้สื่อข่าวที่ว่าได้หารือกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแล้วหรือไม่ นายสุริยะ กล่าวว่า ยังไม่ได้หารือ แต่พรุ่งนี้จะนั่งเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยใช้ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตรเป็นหลัก


นายชรัตน์ เนรัญชร เกษตรจันทบุรี กล่าวว่า หากมีการแบน 3 สารเคมีทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อต้นทุนและความสามารถในการแข่งขันส่งออกผลไม้ และที่สำคัญวันนี้ต้องเอาความจริงมาพูด เพื่อสู้กับความเชื่อของฝ่ายที่อยากให้แบนมีการให้ข้อมูลต่าง ๆ ออกมา จึงต้องการให้มีการนำความจริงมาพูดคุยกัน ที่สำคัญการแบน 3 สารเคมี จะขัดกับหลักรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 73 ที่ระบุว่ารัฐธรรมนูญ ม.73 รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีปริมาณและคุณภาพสูง มีความปลอดภัยโดยใช้ต้นทุนต่ำ และสามารถแข่งขันในตลาดได้ ซึ่งพิจารณาจะพบว่าเรื่องต้นทุนต่ำ ขณะนี้ยังไม่มีมาตรการหรือสารทดแทนมารองรับและตรงตามรัฐธรรมนูญระบุ การจะใช้สารกูลโฟซิเนต ก็มีราคาสูงกว่า 3-4 เท่า และประสิทธิภาพด้อยกว่า ดังนั้น จึงยังไม่มีสารใดมาทดแทนและตอบโจทย์ตรงกับรัฐธรรมนูญ เกษตรกรจึงมองว่าอยากให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายทบทวนมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ที่ให้แบน 3 สารเคมี และทำการศึกษาใหม่อีกครั้ง และระหว่างนี้ให้จำกัดการใช้จนกว่าจะสามารถหาสารทดแทนได้ตรงตามรัฐธรรนูญระบุไว้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

อดีตครูจำใจสร้างห้องขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา

สลด! อดีตครูวัย 64 ปี จำใจจ้างช่างทำห้องคล้ายกรงขังในบ้าน เตรียมคุมลูกติดยา-พนันออนไลน์ หลังส่งตัวบำบัดกว่า 10 ครั้ง แต่ออกมาก็เหมือนเดิม

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2

หนุ่มใหญ่ควบเก๋งเผลอเหยียบผิดพุ่งทะลุกำแพงอาคารจอดรถดิ่งตกจากชั้น 2 โชคดีบาดเจ็บเล็กน้อย เจ้าหน้าที่ส่งรักษาตัวที่ รพ.เจ้าพระยา

อาม่าแจ้งความ “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธีสูญ 60 ล้าน

อาม่าวัย 77 ปี โร่แจ้งความเอาผิด “หมอดูฮวงจุ้ยชื่อดัง” หลอกทำพิธี-แนะซื้อวัตถุมงคลแล้วไม่ได้รับของ สูญเงินกว่า 60 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ทนายตั้ม

“ทนายตั้ม” ปรากฏตัวแล้ว บอกไม่สบายใจมี ตร.เฝ้าหน้าบ้าน

ปรากฏตัวแล้ว “ทนายตั้ม” พบตำรวจเหตุมีเจ้าหน้าที่ไปเฝ้าที่บ้าน พร้อมแจงปมเงิน 39 ล้านบาท ค่าศิลปินจีน ที่แท้เป็นมิจฉาชีพหลอก “เจ๊อ้อย” ปฏิเสธพบคู่กรณี บอกยังไม่พร้อมคุย

เกาะกูด

“ภูมิธรรม” ย้ำจะรักษาผลประโยชน์ทางทะเลของไทยไว้เท่าชีวิต

“ภูมิธรรม” มอง MOU44 คือกลไกที่ดีที่สุด ก่อนย้อนกลุ่มการเมือง พปชร.ไปถามหัวหน้าพรรคตัวเอง เพราะเป็นคนนำเจรจาในปี 57 ยันไม่เคยยกเลิกในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ ย้ำรัฐบาลจะรักษาดินแดน-ผลประโยชน์ทางทะเลของไทยไว้เท่าชีวิต

US election

ทรัมป์-แฮร์ริส หาเสียงวันสุดท้าย ก่อนหย่อนบัตรวันนี้

ขณะนี้เหลือไม่ถึง 24 ชั่วโมงก็จะถึงวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 5 พฤศจิกายน ผลสำรวจความเห็นประชาชนต่างชี้ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ และนางคอมมาลา แฮร์ริส