สำนักข่าวไทย 21 ต.ค. – จิตแพทย์ ห่วงอนาคตเด็กไทย ไปไม่ถึง 4.0 เพราะติดเกม เพราะไม่รู้จักวางกติกาการเล่น ย้ำ เด็กทั่วไปเล่นได้ไม่เล่น 2 ชม. แต่ต่ำกว่าวัยประถมห้ามเล่น พ่อแม่อย่านอนใจลูกเล่นเกมในบ้าน ชี้การเล่นเกมเป็นพฤติกรรมเสพติด อันตราย สูญเสียการควบคุมตัวเอง กินยาอาจไม่ช่วย เท่ากับเลิกพฤติกรรม
นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เด็กติดเกม เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย และในอนาคตจะพบปัญหาความรุนแรงจากเกมมากขึ้น ความรุนแรงของเกม จากการทำร้ายคนอื่น หรือตัวเอง ไม่จำเป็นที่คนเล่นต้องมีอาการป่วย หรือ เครียดมาก่อนเป็นทุน แต่การเล่นก็สามารถก่อให้เกิดความเครียด และรุนแรงได้ จากข้อมูลในคนเล่นเกม 1 แสนคน จะมี 1หมื่นคน เสี่ยงติดเกม และ 1 พันคนจะกลายเป็นคนติดเกม และมีเพียงแค่ 10 คน จะเล่นเกมแล้วได้ดี แบบประสบความสำเร็จในเกม สร้างรายได้ ซึ่งน้อยมาก โดยพบว่า การเล่นเกมเพียง 2 ชม. ก็สามารถก่อให้เกิดการติดเกมได้ ดังนั้นการป้องกันเด็กติดเกม ย่อมดีกว่าการตามแก้ ภายหลัง
นายแพทย์ยงยุทธ กล่าวว่า ปัญหาของเกม พ่อแม่ มักไม่ระวัง เพราะคิดว่า เป็นเรื่องทันสมัย เป็นเรื่องไอที อีกทั้งการเล่นเกมก็อยู่ในสายตาพ่อแม่ ไม่ได้ไปทำกิจกรรมเสี่ยงอันตรายอื่นๆ แต่ความจริงแล้วการเล่นเกม และติดเกม ทางองค์การอนามัยโลก WHO ระบุว่า จัดเป็นพฤติกรรมเสพติด เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง เพราะ เป็นการกระทำให้สมองส่วนอารมณ์ มีการกระตุ้น ลุ้น ระทึก นานบ่อยเข้า เสพติดความรู้สึกแบบนี้ ต้องเล่นให้นานขึ้น เพื่อให้ถึงความรู้สึกแบบนั้น สูญเสียการควบคุมตัวเอง คุมเวลาไม่ได้ เสียหน้าที่ในชีวิตการงาน ไม่เป็นอันกินอันนอน ขยับถ่ายก็ไม่ตรงเวลา จากพฤติกรรม เหล่านี้ก็พัฒนา การเป็น ความก้าวร้าว ลักขโมย พูดปด เหมือนเสพยา
นายแพทย์ยงยุทธ กล่าวว่า การรักษาไม่ได้สำคัญที่กินยา แต่ต้องหยุดพฤติกรรมการเล่น ไม่ให้กลับไปติดซ้ำ ต้อง รู้จักแบ่งเวลา มีกติกากับเด็กส่งเสริมทำกิจกรรม สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยการเล่นไม่ควรเล่นเกินวันละ 2 ชม. ในเด็กประถมวัย ต้องเล่นได้ไม่เกิน 1 ชม. เด็กระดับชั้นมัธยมศึกษา ต้องเล่นไม่เกิน 2 ชม . ส่วนเด็กต่ำกว่าประถมศึกษายิ่งไม่ควรเล่น และต้องเวลาหลักเกณฑ์ 3 ไม่ คือ ไม่เล่นในห้องนอนเพราะยากควบคุม ,ไม่เล่นในเวลาครอบครัว กินข้าว พบญาติผู้ใหญ่ ,ไม่เป็นแบบอย่าง ผู้ปกครอง ต้องไม่ทำให้เห็น ขณะเดียวกันเกมที่เล่น ต้อง หลีกเลี่ยงความรุนแรง
นายแพทย์ยงยุทธ กล่าวว่า หากไม่ป้องกันในอนาคตเชื่อว่าเด็กไทย จะติดเกมมากกว่านี้ ไม่มีโอกาสเป็นไทยแลนด์ 4.0 เป็นแค่ไทยแลนด์ติดเกม ในแถบอาเซีนย อินโดนีเซีย ฟิลิปืนส์ ติดเกมเหมือนกัน แต่ไม่รุนแรงเท่าไทย ทั้งนี้ต้องสร้างวัฒนธรรมการเล่น ในต่างประเทศไทย มีการลงทะเบียนเล่นเกม อายุต้องมากกว่า 20 ปร บางประเทศไม่ให้ใช้แทบเล็ตในการเล่น แต่บ้านเรากลับส่งเสริมมีอิสปอต์ โรงเรียนจัดแข่งขันเล่นเกมเสียเอง และรับรองการเล่นเกมเป็นกีฬา ทำให้ยากแก่การควบคุม หากไม่มีการวางระเบียบ กติกาที่ดี .-สำนักข่าวไทย