พาณิชย์ยอมรับสงครามการค้าสหรัฐ-จีนน่าห่วง

นนทบุรี 26 ก.ย. – พาณิชย์ยอมรับสงครามการค้าสหรัฐ-จีนยังน่าห่วง นัดถก 7 ต.ค.ประเมินผลกระทบรอบด้าน ก่อนชงให้ฝ่ายรัฐบาลทราบ


น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อานวยการสานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า วันที่ 7 ตุลาคม 2562 กระทรวงพาณิชย์จะจัดการประชุมวอร์รูม (War Room) สงครามการค้า เพื่อประเมินสถานการณ์สำคัญ 2 เรื่อง คือ ความขัดแย้งของสหรัฐและจีน และประเด็นเรื่องเบร็กซิท (Brexit) ที่ใกล้จะถึงวันกำหนดที่อังกฤษ ต้องออกจากสหภาพยุโรป รวมทั้งต้องประเมินผลกระทบต่อไทยจากการที่สงครามการค้าเริ่มทำให้เศรษฐกิจโลกอ่อนแอลง ส่งผลให้อุปสงค์ของทุกประเทศลดลง 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สถานการณ์ภายในของสหรัฐมีความไม่ชัดเจนเกิดขึ้นจากการที่พรรคเดโมแครตจะยื่นถอดถอนประธานาธิบดีทรัมป์ แม้ว่าอาจจะถอดถอนไม่ได้ เพราะคะแนนเสียงไม่เพียงพอ แต่การเริ่มกระบวนการนี้จะสร้างความไม่มีเสถียรภาพในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของฝ่ายสหรัฐ ขณะนี้จีนและ สหรัฐยังมีการเจรจาอย่างเป็นทางการกันอยู่ แต่พัฒนาการที่ปรากฏล่าสุด เช่น การกล่าวปราศรัยของ ประธานาธิบดีทรัมป์ที่สหประชาชาติ ดูไม่เอื้อต่อการสร้างบรรยากาศที่ดีในการเจรจาเท่าใด แต่ฝ่ายสหรัฐ ยังมีไพ่สำคัญเก็บไว้ 2 ใบ คือ การขึ้นภาษีชุดสุดท้ายที่ขณะนี้ชะลอ คือการขึ้นภาษีกลุ่ม 250,000 ล้านดอลลาร์ฯ จากร้อยละ 25 เป็น 30 และการขึ้นภาษีกลุ่ม 300,000 ล้านดอลลาร์ฯ รอบที่ 2 อีก 554 รายการ และการเก็บภาษีนำเข้า (safeguard) สินค้ากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน ภายใต้มาตรา 232 ของกฎหมายขยายการค้าของสหรัฐที่อยู่ระหว่างการไต่สวน และจะประกาศผลวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 ซึ่ง 2มาตรการนี้จะส่งผลกระทบกับจีนมาก และประเทศอื่นจะพลอยได้รับผลกระทบไป 


ทั้งนี้ ผลจากการใช้มาตรการตอบโต้กันของสหรัฐและจีนก่อให้เกิดผลกระทบกับการค้าโลกมากกว่าที่คาดไว้ ทำให้ทั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก (WTO) และกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF) ต่างก็ลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและการค้าโลกลง โดย OECD ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลงจากร้อยละ 3.6 เหลือร้อยละ 2.9 ในส่วนของการค้าโลก WTO ประมาณการว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 2.6 ในปี 2562 ลดลงจากการขยายตัวร้อยละ 10 ในปีก่อนหน้า (จากราคาน้ามันที่เพิ่มขึ้นเทียบกับปี 2017) ขณะที่ IMF ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจโลกปีนี้ลง จากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3.2 การขึ้นภาษีของสหรัฐกับจีน ไม่ได้ส่งผลกันเพียงระหว่าง 2 ประเทศและในเอเชียเท่านั้น แต่แผ่กระจายไปถึงฝั่งยุโรปด้วย เห็นได้จากเศรษฐกิจเยอรมนี ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 28 ของยูโรโซน และเป็นประเทศที่เน้นการส่งออก เช่นเดียวกับไทย เริ่มส่งสัญญาณไม่ดี ตัวเลขเศรษฐกิจทุกตัวลดลง การขยายตัวของจีดีพีไตรมาส 2 หดตัวร้อยละ 0.1 เทียบกับไตรมาสแรกของปี ภาพรวมดัชนีการผลิตอุตสาหกรรมและภาคบริการในประเทศหดตัวในรอบหลายเดือน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังจะได้รับผลกระทบจากกำแพงภาษีใหม่จากสหรัฐเดือนพฤศจิกายนนี้

อย่างไรก็ตาม นอกจากความขัดแย้งของสหรัฐกับจีนแล้ว ยังเริ่มมีจุดเปราะบางในตะวันออกกลางที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ามัน และปัญหา Brexit ที่ค่อนข้างจะยุ่งยากและยังไม่เห็นทางออก แม้ว่ากำหนดวันที่ 31 ตุลาคม ซึ่ง Brexit อาจตกลงกันไม่ได้ (no deal Brexit) จะยิ่งทำให้เศรษฐกิจเยอรมนีที่ค้าขายลงทุนกับอังกฤษมากชะลอตัวลงไปอีก ซึ่งเยอรมนีเป็นเครื่องจักรเศรษฐกิจใหญ่ของยุโรป หากมีปัญหาจะทำให้ยุโรปเติบโตช้ากว่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐบาลเยอรมันดำเนินนโยบายอย่างระมัดระวังมีหนี้ภาครัฐ ทำให้มีเครื่องมือและความสามารถในการดำเนินนโยบาย (policy space) ที่ยังใช้มาตรการต่าง ๆ กระตุ้นได้ในอนาคตหากจำเป็น

ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ส่งผลให้การส่งออกลดลงร้อยละ 4 เดือนที่ผ่านมา และเศรษฐกิจภายในยังไม่ค่อยฟื้นตัวดีนัก ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องปรับลดประมาณการเติบโตของ GDP นอกจากนี้ การที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีนโยบายไม่ขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากเห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราอัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมาย จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวอาจจะทำให้เงินบาทแข็งค่าเพิ่มขึ้น อีกกระทบกับมูลค่าและรายได้จากการส่งออก ซึ่งทั้งหมดนี้ควรต้องมีการหารือร่วมกันโดยเร็วเพื่อหาจุดยืน และแนวทางที่ไทยควรดำเนินการต่อไป เพื่อรับมือความผันผวนทั้งหลาย


อย่างไรก็ตาม การประชุม War Room วันที่ 7 ตุลาคมนั้น จะมีวาระการประชุมเพียง 2 เรื่อง คือ สงครามการค้า และ Brexit เท่านั้น และมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน เมื่อประชุมเสร็จแล้วจะนำเสนอแนวทางที่หารือกันเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พิจารณาในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐ- เอกชน พาณิชย์ (กรอ.พณ.) ที่จะประชุมต้นเดือนตุลาคมนี้ต่อไป.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เอกภพ” เข้าพบ พนง.สอบสวน หลังถูกออกหมายจับ

“เอกภพ สายไหมต้องรอด” เข้าพบ พนง.สอบสวน หลังถูกออกหมายจับปมพยานเท็จดิไอคอน ยันบริสุทธิ์ใจ หากช่วยเหลือประชาชนแล้วโดนจับก็พร้อมรับ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบนายกฯ

“โอปอล สุชาตา” รองอันดับ 3 มิสยูนิเวิร์ส 2024 เข้าพบ “แพทองธาร” นายกฯ ชื่นชมเป็นคนเก่ง-มองโลกบวก เป็นหน้าตาของประเทศ นำเสนอวัฒนธรรม-ซอฟต์พาวเวอร์ ผ่านการประกวด พร้อมชวนร่วมงานรัฐบาล สร้างแรงบันดาลใจเด็กๆ ขณะที่ นายกฯ เขินถูกชมว่าตัวจริงสวย

ล้มล้างการปกครอง

ศาล รธน.มีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้อง “ทักษิณ-พท.” ล้มล้างการปกครอง

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมากไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ขอให้ศาลวินิจฉัยว่า “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ล้มล้างการปกครอง

คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญถกคำร้อง “ทักษิณ-เพื่อไทย” ล้มล้างฯ

จับตา ศาลรัฐธรรมนูญ “รับ/ไม่รับ” คำร้องปม “ทักษิณ-พรรคเพื่อไทย” ใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองหรือไม่