“มนัญญา” ดันพรมปูละหมาดส่งออกตีตลาดโลก

กรุงเทพฯ 9 ส.ค. – รมช.เกษตรฯ มอบนโยบายสหกรณ์ เร่งหารายได้สร้างอาชีพสมาชิก พร้อมผลักดันพรมปูละหมาดส่งออกตีตลาดโลก   



น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้ประชุมมอบนโยบายให้แก้ผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์และสหกรณ์จังหวัดทั่วประเทศ โดยเน้นให้ความสำคัญต่อการหารายได้สร้างอาชีพให้แก่สหกรณ์และสมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ เพราะผลิตสินค้าดีมีคุณภาพได้รับการรับรองมาตรฐาน แต่ขายไม่เป็น จากนี้จะเป็นแม่ค้าขายของให้สหกรณ์ เช่น พรมปูละหมาด ซึ่งชาวมุสลิมทั่วโลกใช้ แม้กระทั่งตนเองยังต้องไปซื้อจากตะวันออกกลาง เพราะไม่ทราบว่าในประเทศไทยมีสหกรณ์ผลิตพรมสำหรับทำละหมาดที่สวยงามมาก สินค้าพรมปูละหมาดที่ขายส่วนใหญ่ผลิตในจีน จากนี้ไปสินค้าติดป้ายเมดอินไทยแลนด์จะส่งไปตีตลาดทั่วโลก


“ได้ชมพรมปูละหมาดจากกลุ่มอาชีพสหกรณ์บ้านพังดาน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งใช้มียางพาราเป็นฐาน มีน้ำหนักเบาและนุ่มสบาย ราคาผืนละ 900 บาท หากซื้อราคาส่งเพียง 780บาทต่อผืน มีความคงทน สามารถถอดซักได้ ขณะนี้ส่งออกประเทศอิหร่านและซาอุดิอาระเบีย โดยจะขยายตลาดในประเทศไทยมากขึ้น เพราะมีชาวมุสลิมในไทยจำนวนมาก หากหันมาซื้อสินค้าไทยทำจากเกษตรกรจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้โดยตรง อนาคตจะไปหาตลาดตะวันออกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดให้เกษตรกรทำเบาะละหมาดแบบพกพา เพื่อจะนำไปได้ทุกแห่งจะประสานให้สินค้าสหกรณ์ไปขายในงานเมาลิดกลาง ทั้งนี้ สถานทูตประเทศมุสลิมในไทยจะเชิญไปร่วมหารือเกี่ยวกับสินค้าฮาลาล หลายประเทศภูมิใจที่ไทยมีรัฐมนตรีเป็นอิสลาม ในการหารือร่วมกันครั้งนี้จะนำพรมปูละหมาดไปโชว์ด้วย” น.ส.มนัญญา กล่าว

น.ส. มนัญญา กล่าวว่า สินค้าสหกรณ์มีหลายชนิดสามารถเปิดตลาดให้กว้างขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาราคาและเพิ่มรายได้สมาชิกสหกรณ์ เช่น ข้าว ยาง อ้อย เป็นสินค้าคุณภาพดี แต่ยังต้องปรับกลยุทธ์การขาย จะไปขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ ให้นำข้าวสารสหกรณ์วางบนชั้นขายสินค้าด้านหน้าให้เห็นเด่นชัด อย่าไปไว้ข้างหลัง อีกทั้งสหกรณ์ต้องหาวิธีการทำให้ทุกคนรู้จักสินค้าที่ผลิต สร้างการรับรู้แก่ผู้บริโภครู้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรโดยตรง จึงจะสามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้ในชุมชนอย่างยั่งยืน

ด้านนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวรายงานภารกิจและหน้าที่ในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งต้องดูแลและสนับสนุนการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ 12,858 แห่ง สมาชิกรวม 12.117 ล้านครอบครัว ทุนดำเนินงานรวม 3.13 ล้านล้านบาท ปริมาณธุรกิจรวม 2.52 ล้านล้านบาท ซึ่งสัดส่วนจำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ แบ่งเป็นสหกรณ์ภาคการเกษตร 4,547 แห่ง สมาชิก 6.677 ล้านคน สหกรณ์นอกภาคการเกษตร 3,550 แห่ง สมาชิก 4.958 ล้านคน และกลุ่มเกษตรกร 4,761 แห่ง สมาชิกกลุ่มเกษตรกร 0.481 ล้านคน


ทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์มุ่งเน้นพัฒนาการดำเนินงานและเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ เพื่อให้ทำหน้าที่ในการดูแลอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้กับสมาชิก โดยเฉพาะสหกรณ์ในภาคการเกษตร ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการดูแลเกษตรกรตลอดห่วงโซ่การผลิต เริ่มจากการจัดหาเงินทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสำหรับนำไปลงทุนประกอบอาชีพทำการเกษตร การส่งเสริมการผลิตสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพ การดูแลบริหารจัดการพื้นที่การเกษตร การจัดหาปัจจัยการผลิตเพื่อช่วยลดต้นทุน การรวบรวมผลผลิตเพื่อนำมาสู่กระบวนการแปรรูปหรือปรับปรุงคุณภาพ และการจัดหาตลาดรองรับผลผลิตให้กับเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรแหล่งจำหน่ายผลผลิตที่แน่นอนและสามารถกำหนดราคาขายได้อย่างเป็นธรรม ซึ่งที่ผ่านมามีสหกรณ์การเกษตร 1,573 แห่ง ดำเนินธุรกิจรวบรวมและรับซื้อผลผลิตการเกษตรจากสมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และผลไม้ไม่น้อยกว่า 5.530 ล้านตันต่อปี อีกทั้งมีสหกรณ์อีก 718 แห่งดำเนินธุรกิจบริหารจัดการพืชผลการเกษตรและการแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตปริมาณไม่น้อยกว่า 1.103 ล้านตัน/ปี

สำหรับปีงบประมาณ 2563 กรมส่งเสริมสหกรณ์มุ่งเน้นการพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นองค์กรหลักระดับอำเภอ โดยส่งเสริมให้สหกรณ์การเกษตรมีบทบาทในการสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนแต่ละพื้นที่ เนื่องจากแต่ละอำเภอจะมีประชากรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรไม่น้อยกว่า 40-50 % ดังนั้น สหกรณ์จะต้องปรับบทบาทในการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้กับสมาชิกเพิ่มมากขึ้น เบื้องต้นจะพัฒนาการผลิตพืชผลการเกษตรให้ได้มาตรฐาน GAP พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการแปรรูปผลผลิตเพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าสินค้าการเกษตร 10 ชนิด ไม่น้อยกว่า 30 ผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สินค้าของสหกรณ์เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ ยังเดินหน้าโครงการเพิ่มศักยภาพสหกรณ์ในการรวบรวมและเก็บชะลอสินค้าเกษตรเพื่อดึงปริมาณผลผลิตการเกษตรที่สำคัญเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าก่อนส่งจำหน่ายสู่ตลาด ทำให้สินค้าไม่ออกสู่ตลาดในช่วงที่ผลผลิตออกมาพร้อมกันปริมาณมาก และป้องกันปัญหาการกระจุกตัวของสินค้า เป็นการใช้กลไกสหกรณ์เข้ามาช่วยรักษาเสถียรภาพด้านราคาสินค้าการเกษตรให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

มุกใหม่มิจฉาชีพ

มุกใหม่มิจฉาชีพ! ป่วนโทรแจ้ง ตร. เกิดเหตุร้ายที่บ้านเหยื่อ

อินฟลูฯ สาว สายทำอาหาร ถูกมิจฉาชีพอ้างเป็นตำรวจโทรหา แต่เธอไม่เชื่อ โดนท้าอีก 10 นาทีเจอกัน ปรากฏว่า มีตำรวจจาก 2 โรงพักบุกมาที่บ้านจริง

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา

“วราวุธ” ระบุการแข่งขัน อบจ.-สุพรรณบุรี ไม่มีปัญหา บอกสนามใหญ่ ไม่เข้าไปก้าวก่ายสนามท้องถิ่น ซ้ายก็เพื่อน ขวาก็พวก

ครม.เคาะแจกเงินหมื่นเฟส 2 ผู้สูงอายุ 60 ปี

“จุลพันธ์” เผย ครม.เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกลุ่มผู้สูงอายุ วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการทันก่อน 29 ม.ค.68 รวม 3 มาตรการ สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบ 1.4-1.5 แสนล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ฉายาสภาปี67

ฉายาสภาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้าน วุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์”

สื่อสภาตั้งฉายาปี 67 สส. “เหลี่ยม(จน)ชิน” ด้านวุฒิสภา “เนวิ(น)เกเตอร์” ส่วน “วันนอร์” รูทีนตีนตุ๊กแก ประธานวุฒิฯ “ล็อกมง” ส่วนผู้นำฝ่ายค้านฯ “เท้งเต้ง”

มติกฤษฎีกา “กิตติรัตน์” คุณสมบัติไม่ผ่านนั่งประธานบอร์ด ธปท.

คณะกรรมการกฤษฎีกา 3 คณะ มีมติไม่ผ่านคุณสมบัติ “กิตติรัตน์ ณ ระนอง” เป็นประธานบอร์ดธนาคารแห่งประเทศไทย