มธ.ช่วยเหลือเหยื่อ-ครอบครัว ‘คดีแพรวา9ศพ’ ต่อ

มธ.17 ก.ค.- ‘ปริญญา’ รองอธิการบดี มธ.เผยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังยืนหยัดในการช่วยเหลือเหยื่อและครอบครัวผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนทางยกระดับโทลล์เวย์ต่อไป หลังศาลพิพากษาคดีแล้ว ยังไม่ชดใช้เงิน กว่า 25 ล้านบาท 


จากกรณี ‘แพรวา 9 ศพ’ ที่ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง หลังญาติเหยื่อออกมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมในเหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อปี 2553 แต่ผ่านมาถึง 9 ปี กลับไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาใดๆ จากฝ่ายผู้ก่อเหตุนั้น

วันนี้ (17ก.ค.) ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์  และรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงเรื่องดังกล่าวระบุว่า


#รายงานคดีอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลเวย์ ที่เกิดจากรถฮอนด้าซีวิคชนกับรถตู้โดยสารที่วิ่งมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 คน โดย #ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ทำหน้าที่เป็นทนายทั้งคดีอาญาและคดีแพ่งจนคดีถึงที่สุด สำหรับท่านที่สนใจและติดตามคดีที่ใช้เวลาถึง 9 ปีครับ

โดยสรุปคือศาลฎีกาพิพากษาในคดีอาญาว่าผู้ขับขี่รถฮอนด้าซีวิคมีความ ผิดฐานขับรถโดยประมาททำให้มีผู้เสียชีวิต และพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายครับ

ที่เรื่องนี้กลับมาสู่ความสนใจของสาธารณชนอีกครั้ง  เนื่องจากทางฝ่ายจำเลยยังไม่มีการชดใช้เยียวยาความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะได้ช่วยเหลือติดตามในเรื่องนี้ต่อไปครับ’


พร้อมกันนี้ยังได้โพสต์แนบรายงานการดำเนินการของศูนย์นิติศาสตร์ในการยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายในคดีเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลล์เวย์ประกอบ ดังนี้ 

‘ตามคำสั่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ 2144/2553 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการกฎหมายเพื่อดูแลคดีเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลเวย์ ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2553 ซึ่งสำนักงานช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ศูนย์นิติศาสตร์ ได้จัดทนายความดำเนินการยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย รวม13 คดี และเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีอาญา จากอุบัติเหตุคืนวันที่27ธันวาคม2553 เวลา กรณีนางสาวแพรวาหรืออรชร ขับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลสีขาว ยี่ห้อฮอนด้า ซีวิค ด้วยความเร็วสูงพุ่งเข้าชนท้ายรถตู้สาธาระ ยี่ห้อโตโยต้า ไอแอซ ซึ่งวิ่งเส้นทางระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต-สถานีหมอชิต (สาย ต.118) บนทางยกระดับอุตราภิมุข ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารจำนวน14คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นเหตุให้รถตู้คันดังกล่าว ชนขอบทางยกระดับอุตราภิมุขอย่างแรงส่งผลให้ผู้โดยสารบางส่วนกระเด็นออกจากรถกระแทกพื้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 31 บางส่วนตกคลองมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหนึ่งคนกระเด็นไปกระแทกสะพานลอยใต้ทางยกระดับอุตราภิมุข และอีกส่วนหนึ่งติดอยู่ในรถตู้ จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุจำนวน 8 คน บาดเจ็บจำนวน 6 คน และต่อมาเสียชีวิตลงอีก 1 คน ในวันที่30 ธันวาคม 2553 รวมจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 9 คน บาดเจ็บ 5 คน ส่วนนางสาวแพรวาหรืออรชร ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย

คดีอาญา

วันที่ 22 มิถุนายน 2554 พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางสาวอรชรหรือแพรวา เป็นจำเลย ต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คดีหมายเลขดำที่1233/2554 คดีหมายเลขแดงที่ 1012/2555 ในความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย (ประมาท) ลหุโทษ ความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทำให้ทรัพย์สินเสียหาย เป็นเวลา 3 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุกเป็นเวลา 2 ปี ประกอบกับความประพฤติทั่วไปของจำเลยยังไม่มีข้อเสียหาย เป็นการกระทำผิดครั้งแรก รู้สำนึกในการกระทำความผิด และได้บรรเทาความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว จึงเห็นควรให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นคนดีสักครั้ง ให้รอลงโทษเป็นเวลา 3 ปี คุมประพฤติจำเลยเป็นเวลา 3 ปี กำหนดเงื่อนไขให้รายงานตัวทุก ๆ 3 เดือน ให้ทำงานบริการสังคมดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ภายใน 2 ปี และห้ามขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ ส่วนข้อหาอื่นศาลพิพากษายกฟ้อง

จำเลยอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแก้ ให้รอลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 4 ปี กับให้ทำงานบริการสังคมดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุปีละ 48 ชั่วโมง ส่วนโทษอื่นให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คดีแพ่ง

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2554 ทนายความประจำศูนย์นิติศาสตร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นทนายความของผู้เสียหายทั้ง 28 คน เป็นโจทก์ฟ้อง นางสาวอรชรหรือแพรวา เทพหัสดิน ณ อยุธยา,พันเอกรัฐชัย เทพหัสดิน ณ อยุธยา (บิดา), นางนิลุบล อรุณวงศ์ (มารดา), นายสุพิรัฐ จ้าววัฒนา (ผู้ครอบครองรถยนต์), นายสันฐิติ วรพันธ์ นางสาววิชชุตา วรขจิต และบริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ต่อศาลแพ่ง เรื่องละเมิด เรียกค่าเสียหายและประกันภัย จำนวน 113,077,510 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่อมาในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยที่7ตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายตามสัญญากรมกรมธรรม์จนครบจำนวนแล้ว โจทก์จึงถอนฟ้องจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 และศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำละเมิด จำเลยที่ 1 ถึง 3 จึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทน อันประกอบด้วยค่าขาดไร้อุปการะ ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงค่าเสียหายอื่น ๆ ให้แก่โจทก์ทั้ง 28 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,061,137 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันทำละเมิด และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 4 ทั้งนี้ เงินค่าเสียหายที่กำหนดให้แก่ผู้เสียหายนั้น มีจำนวนตั้งแต่ 4,000-1,800,000 บาท

โจทก์ทั้ง 28 โดยโจทก์ที่ 5 และที่ 11 ขอให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดด้วย และจำเลยที่ 1-3 ยื่นอุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดให้แก่โจทก์ทั้ง 28 และให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต่อโจทก์ที่ 5 และที่ 11 ด้วย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,626,925 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันทำละเมิด ทั้งนี้ เงินค่าเสียหายที่กำหนดให้แก่ผู้เสียหายส่วนใหญ่นั้น ศาลอุทธรณ์ได้ปรับลดลงคิดเป็นอัตราร้อยละ 20 ของค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้แก่โจทก์แต่ละราย

นับเป็นระยะเวลากว่า 9 ปี ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ ผู้เสียหายและทีมทนายความต่างเฝ้ารอและต่อสู้ทางกฎหมาย เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและเยียวยาความเสียหายให้ได้มากที่สุด บัดนี้ คดีได้ถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 297-308/2562 โดยศาลฎีกาได้พิพากษาในคดีระหว่างโจทก์ที่ 6 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เสร็จเด็ดขาดตามยอมสัญญาประนีประนอมยอม ฉบับลงวันที่20 เมษายน 2561 และให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในแต่ละคดี ซึ่งรวมค่าสินไหมทดแทนที่ศาลฎีกากำหนดให้ทุกคดีแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 25,261,164บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันทำละเมิด เป็นต้นไป จนกว่าจำเลยจะชำระให้แก่โจทก์เสร็จสิ้น และศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาแล้วเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2562

โดยทนายความผู้รับผิดชอบสำนวนคดีได้ชี้แจงผลคำพิพากษาให้แก่โจทก์พร้อมดำเนินการส่งคำบังคับเพื่อให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลภายใน 30 วัน เรียบร้อยแล้ว

ผู้เสียหายทุกคนเคารพคำพิพากษาของศาลและยอมรับจำนวนเงินที่พึงจะได้รับ ทั้งนี้ ผู้เสียหายจะได้รับการชดใช้เยียวยาจากจำเลยเมื่อใดนั้น ก็ยัง คงเป็นขั้นตอนที่ต้องดำเนินการในขั้นตอนบังคับคดีต่อไป

ผศ.ดร.ปริญญา เปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับมาตรการช่วยเหลือผู้เสียหายต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรนั้น ทางศูนย์นิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจะร่วมประชุมกันอีกครั้ง  หลังจากที่ทางฝ่ายจำเลยยังไม่มีการชดใช้เยียวยาความเสียหายตามคำพิพากษาศาลฎีกา .-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลักพุ่งเหินฟ้าคารถ 6 ล้อ

รอดตายปาฏิหาริย์! วัยรุ่นซิ่งเบนซ์เสียหลัก ก่อนพุ่งเหินฟ้าติดคาบนรถ 6 ล้อ พลเมืองดีเข้าช่วยเหลือออกมาจากรถ ปลอดภัย

กกต.สั่งเอาผิดอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีใช้จ่ายเท็จ

กกต.สั่งดำเนินคดีอาญา “ชวาล” สส.ปชน. ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายเลือกตั้งไม่ตรงความเป็นจริง โทษหนักทั้งจำคุก-ตัดสิทธิ 5 ปี

ข่าวแนะนำ

ฉายารัฐบาลปี67

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี 67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง”

สื่อทำเนียบฯ ตั้งฉายา ปี67 “รัฐบาล(พ่อ)เลี้ยง” ฉายานายกฯ “แพทองโพย” ด้าน 7 รัฐมนตรีติดโผ “บิ๊กอ้วน-อนุทิน-ทวี” พ่วง 3 รัฐมนตรีโลกลืม ส่วนวาทะแห่งปี “สามีเป็นคนใต้”

เลือกตั้ง อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ

“กานต์ กัลป์ตินันท์” ชนะเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี พร้อมขอบคุณคนเสื้อแดง และนายทักษิณ ชินวัตร ที่ช่วยผลักดัน

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน