กรุงเทพฯ 10 ก.ค. – สทนช.รับมือฝนทิ้งช่วง เร่งประสานหน่วยงานปรับแผนบริหารจัดการ พร้อมกำหนดแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ
รายงานข่าวจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สทนช.เร่งตรวจสอบและประสานหน่วยงานแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจากฝนทิ้งช่วง ขณะนี้หลายพื้นที่ประสบปัญหาอ่างเก็บน้ำปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย น้ำต้นทุนไม่เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.เลย มหาสารคาม ศรีสะเกษ สุพรรณบุรี พัทลุง และนครศรีธรรมราช สทนช.เร่งประสานหน่วยงานปรับแผนบริหารจัดการน้ำและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว
สำหรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำทุกภาคของประเทศ แม่น้ำปิง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ลดลง, แม่น้ำวัง อ.เมือง จ.ลำปาง ทรงตัว, แม่น้ำยม อ.เมือง จ.สุโขทัย ปริมาณน้ำไหลผ่านน้อยมาก, แม่น้ำน่าน อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ลดลง, แม่น้ำเจ้าพระยา อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ลดลง, อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ทรงตัว, แม่น้ำชี อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ลดลง, อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ลดลง, แม่น้ำมูล อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา ลดลง, แม่น้ำแม่กลอง อ.ท่าม่วงจ.กาญจนบุรี ลดลง ส่วนแม่น้ำโขงตั้งแต่บริเวณเชียงราย นครพนม ถึงอุบลราชธานี ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง (ม.) 10.73 (ลดลง 0.26) 8.45 (ลดลง 0.45) และ 9.82 (ลดลง 0.3) ตามลำดับ
ด้านปริมาณน้ำในแหล่งน้ำมีปริมาณน้ำรวม 39,455 ล้านลูกบาศก์เมตร 49% ลดลง, แบ่งเป็น ภาคเหนือ 9,704 ล้านลูกบาศก์เมตร 36% เพิ่มขึ้น, ภาคกลาง 512 ล้านลูกบาศก์เมตร 22% ทรงตัว, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4,421 ล้านลูกบาศก์เมตร 35% ลดลง, ภาคตะวันตก 18,259 ล้านลูกบาศก์เมตร 68% เพิ่มขึ้น, ภาคตะวันออก 1,132 ล้านลูกบาศก์เมตร 38% เพิ่มขึ้น, ภาคใต้ 5,483 ล้านลูกบาศก์เมตร 60% ลดลง และศักยภาพน้ำบาดาล 1,228 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อเดือน
ส่วนสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ อ่างฯ ขนาดใหญ่ เฝ้าระวังน้ำมาก ระหว่าง 60-80% จำนวน 3 อ่างเก็บน้ำ น้ำปกติ ระหว่าง 30-60% จำนวน 20 อ่างเก็บน้ำ เฝ้าระวังน้ำน้อย น้อยกว่า 30% จำนวน 15 อ่างเก็บน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 8 อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง การระบายน้ำเป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝน อ่างฯ ขนาดกลาง ปริมาณน้ำมากกว่า 100% จำนวน 1 (อ่างเก็บน้ำด่านชุมพล จ.ตราด) ปริมาณน้ำ 80-100% 11 อ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำ 60-80% จำนวน 37 อ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำ 30-60% จำนวน 160 อ่างเก็บน้ำ น้ำน้อยกว่า 30% จำนวน 132 อ่างเก็บน้ำ แบ่งเป็นภาคเหนือ 15 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 92 ภาคตะวันออก 9 ภาคกลาง 11 ภาคตะวันตก 2 และภาคใต้ 3 อ่างเก็บน้ำ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (60-100% ของความจุ) 7 อ่างเก็บน้ำ แบ่งเป็นภาคเหนือ 1 อ่างเก็บน้ำ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 อ่างเก็บน้ำ
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างฯ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรมีปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในอ่างฯ (9 ก.ค. 62) ในพื้นที่เพชรบูรณ์ ลพบุรี กาฬสินธุ์ นครสวรรค์ ราชบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี ขอนแก่น และนครศรีธรรมราช สถานการณ์น้ำหลากและดินโคลนถล่ม เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและดินโคลนถล่ม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ (10 ก.ค. 62 เวลา 06.00 น.) และพื้นที่ประกาศภัยแล้ง ปัจจุบันคงมี 4 จังหวัด ได้แก่ ตาก ศรีสะเกษ มหาสารคาม ชลบุรี 8 อำเภอ 33 ตำบล 232 หมู่บ้าน.-สำนักข่าวไทย