ม.ศิลปากร 10 มิ.ย.-ศิลปินและนักออกเเบบชื่อดังจาก 8 ประเทศทยอยร่วมประชุมวิชาการนานาชาติด้านศิลปะ หัตถศิลป์ เเละการออกเเบบ ครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นครั้งเเรกที่นำศิลปะเเละดนตรีมาผนวกกัน
ผศ.วุฒิชัย เลิศสถากิจ คณบดีคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดเผยถึงความพร้อมการจดีงาน ประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านศิลปะ หัตถศิลป์ เเละการออกเเบบครั้งที่ 3 “3rd INTERNATIONAL SYMPOSIUM ON ART, CRAFT AND DESIGN (ARCADE) 2019” ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยคณะมัณฑนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมเเละภาพพิมพ์เเละคณะดุริยางคศาสตร์ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัยจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Establishing Society Establishing Humanity” หรือศิลปะสร้างคนสร้างชาติ เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนการสอนด้านศิลปะ การออกเเบบและดนตรี สนับสนุนความร่วมมืองานวิจัยด้านศิลปะ รวมถึงการเเลกเปลี่ยน อาจารย์ นักศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนศิลปะของไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ
โดยงานจะจัดขึ้นระหว่างวันที่12-14 มิ.ย.นี้ที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ว่า มหาวิทยาลัยศิลปากรพร้อมเเล้วกับการจัดงานประชุมวิชาการ ARCADE 2019 ที่ไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานครั้งเเรก โดยขณะนี้มีศิลปิน นักออกเเบบเเละอาจารย์ด้านศิลปะจาก 8 ประเทศ เริ่มทยอยเดินทางมาเตรียมประชุมเเละจัดกิจกรรมเวิร์คชอปเเล้ว
ผศ.วุฒิชัย กล่าวต่อว่า ในส่วนของคณะดุริยางคศาสตร์ ซึ่งถือเป็นความพิเศษของการประชุมในปีนี้ที่มหาวิทยาลัยได้นำดนตรี มาเป็นหัวข้อในการประชุมเเละเเลกเปลี่ยนประสบการณ์ เนื่องจากการประชมุ 2 ครั้งที่ผ่านมา พูดถึงเฉพาะด้านศิลปะเเละการออกเเบบ ซึ่งถือเป็นเรื่องดีและค่อนข้างใหม่ในประเทศไทยที่มีการประชุมวิชาการ โดยนำเอาศิลปะเเละดนตรีมาผสมผสานเเละพูดคุยร่วมกัน โดยคณะได้คัดเลือก Dr.Timothy O’Dwyer ผู้อำนวยการสาขา ดนตรีร่วมสมัย มหาวิทยาลัย LASALLE ประเทศสิงคโปร์และเป็นศิลปินที่ได้รับเกียรติไปเเสดงในเทศกาลดนตรีสำคัญของโลก มาร่วมปาถกฐาสร้างเเรงบันดาลใจให้กิจกรรมคีย์โน๊ตเเละแสดง Sound Painting หรือการแสดงที่ผสมผสานระหว่างศิลปะเเละดนตรีร่วมกับนักศึกษาเเละอาจารย์คณะดุริยางค์ด้วย
ขณะเดียวกันในส่วนเวทีวิชาการ คณะได้คัดเลือกบทความด้านดนตรีของอาจารย์เเละนักศึกษาปริญญาโทรวม 6 คน มานำเสนองานต่อคณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญเพื่อต่อยอดเเละพัฒนางานศิลปะของตนเองต่อไปซึ่งคาดหวังว่านักศึกษาหรืออาจารย์ที่เข้าร่วมงานจะได้ประโยชน์ในการเชื่อมดนตรีผนวกกับศิลปศาสตร์อื่นๆเพื่อสร้างสรรค์งานที่มีความหลากหลายมากขึ้น ยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนซึ่งการประชุมครั้งนี้ได้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำมาต่อยอดจัดการประชุมเฉพาะด้าน ดนตรีในปีหน้าด้วย.-สำนักข่าวไทย