เร่งสรุปแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ก.คมนาคม  22 ส.ค. –  รองนายกรัฐมนตรีเศรษฐกิจเร่งรัดกระทรวงคมนาคมสรุปแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม รองรับระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก “Eastern Economic Corridor” เตรียมเสนอ ครม.ภายในตุลาคมนี้


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการพิจารณาแนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามแนวโครงข่ายรถไฟ  โดยการประชุมวันนี้เน้นติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการขับเคลื่อนระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก “Eastern Economic Corridor” เพื่อสรุปรายละเอียดเสนอต่อนายกรัฐมนตรีวันที่ 31 สิงหาคมนี้ ก่อนที่จะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติโครงการภายในเดือนตุลาคมนี้

เบื้องต้นมีการแบ่งส่วนการดำเนินการออกเป็นการพัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – ระยอง การจัดหาที่ดินรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมถึงการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยมีโครงการที่จะต้องจัดทำข้อสรุปในการดำเนินการเพื่อเสนอต่อที่ประชุม ครม.เดือนตุลาคมนี้ ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง , การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา , การพัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ (ท่าเรือจุกเสม็ด) และการพัฒนาท่าเรือเฟอรี่ เชื่อมต่อระยอง-ปราณบุรี เพื่อผลักดันให้โครงการเกิดขึ้นได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้  เพื่อรองรับนโยบายการขยายพื้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ด  “ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา” เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ


นอกจากนี้ ยังกำชับให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไปดูแลปัญหารถไฟฟ้าสายสีม่วงที่พบว่ามีผู้โดยสารเฉลี่ยน้อยกว่าที่ประเมินไว้ โดยให้ไปหาสาเหตุและแผนการแก้ไขปัญหา ทั้งเรื่องค่าโดยสารและการเชื่อมต่อการเดินทาง เพื่อดึงให้ประชาชนมาใช้ประโยชน์มากที่สุด

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญรวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวเส้นทางดังกล่าวว่ามีความแตกต่างกับการไม่พัฒนาอย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ ก่อนสรุปและเสนอต่อที่ประชุม ครม. เบื้องต้นจะเน้นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนา  4 เส้นทาง 18 สถานี เช่น พัทยา ระยอง ฉะเชิงเทรา และตามแนวเส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นต้น.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนระวังพายุฤดูร้อน

กรมอุตุฯ รายงานไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

เร่งปรับแผนค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม

เกือบ 200 ชั่วโมง ปฏิบัติการค้นหาผู้สูญหายติดใต้ซากตึกถล่ม K9 เห่าส่งสัญญาณพบกลิ่นมนุษย์เพิ่มในโซน B แต่ยังอยู่ในจุดที่เข้าถึงยาก เจ้าหน้าที่เร่งปรับแผนให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น

ค้นหาผู้สูญหายตึกถล่ม

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงจุดตึกถล่ม ช่วยค้นหาผู้สูญหาย

ทีมกู้ภัย USAR จากแคนาดา ถึงอาคารกำลังสร้างของ สตง.ที่ถล่มแล้ว พร้อมช่วยเหลือกู้ภัยไทยในการค้นหาผู้สูญหาย

ค้นหาตึกถล่ม

ฉีดน้ำเครื่องจักรลดความร้อน-ไม่หมดหวังค้นหาผู้รอดชีวิต

ทีมช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้ประสบภาวะวิกฤต หรือ MCATT ลงพื้นที่ดูแลญาติผู้สูญหายจากตึก สตง.ถล่ม ขณะที่เจ้าหน้าที่ทีมค้นหายังคงเดินหน้าทำงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนจัด