รื้อถอนขาแท่นปิโตรเลียมนำเป็น”ปะการังเทียม”

กรุงเทพฯ 1 พ.ค.- เชฟรอนฯร่วมกับภาครัฐและหน่วยงานวิชาการ  ศึกษาโครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมไปจัดวางเป็นปะการังเทียมเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี


วานนี้ (30 เม.ย.)กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด (เชฟรอนประเทศไทย) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวน 8 ขาแท่น ไปจัดวางเป็นปะการังเทียม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

 นายไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่าตลอดระยะเวลา 56 ปี ของการดำเนินภารกิจจัดหาพลังงานอย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ให้กับประเทศและมุ่งมั่นเป็นพันธมิตรที่ดีกับสังคมไทยในทุกๆ ด้าน รวมถึงการสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินโครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการศึกษา จะช่วยให้ได้ข้อมูลและองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการนำขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม มาจัดวางเป็นปะการังเทียม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของประเทศอย่างยั่งยืน 


สำหรับพื้นที่เกาะพะงัน  ก่อนหน้านี้มีโครงการต้นแบบในการวางโครงสร้างเหล็ก ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในพื้นที่อ่าวโฉลกหลำ ของเกาะพะงัน มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 พบว่าความเหมาะสมของในการเข้าอยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยว และการประมง ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

“การลงนามครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการนำขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย มาใช้เป็นปะการังเทียม  โดยขาแท่นทำจากเหล็กกล้า  มีน้ำหนักประมาณ 300 – 700 ตัน จึงมีความมั่นคงแข็งแรง ที่สำคัญไม่มีส่วนใดสัมผัสปิโตรเลียมมาก่อน มีพื้นที่ลงเกาะสำหรับสิ่งมีชีวิต จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นที่อยู่อาศัยและที่หลบภัยของสิ่งมีชีวิต” นายไพโรจน์กล่าว

สำหรับการดำเนินโครงการนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยในระยะแรกซึ่งใช้เวลา 2 ปี จะเป็นการศึกษาทางด้านชีววิทยา นิเวศวิทยา การติดตามผลกระทบจากการวางปะการังเทียม การประกาศพื้นที่คุ้มครองเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน รวมถึงการให้ความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่จะช่วยกันรักษาพื้นที่คุ้มครองนี้ ส่วนระยะที่2 ซึ่งใช้เวลา 4 ปี จะเป็นการติดตามต่อเนื่องจากระยะแรกเพื่อเก็บข้อมูลสิ่งมีชีวิตที่เข้ามาอยู่อาศัยในแนวปะการัง และการเข้าใช้ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้วงเงินสนับสนุนจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ทั้งสิ้น 34.8 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการวางแผน และการเคลื่อนย้ายขาแท่นหลุมผลิตเพื่อนำไปทำปะการังเทียม). -สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

ชุดค้นหาลงโพรงโซน B, C ลึก 5-6 เมตร ได้กลิ่นแรง ไม่พบผู้สูญหาย

“กู้ภัย” เผยเจาะโพรงพื้นที่โซน B และ C ได้แล้ว พร้อมส่งชุดค้นหาลงโพรงไปตรวจสอบลึก 5-6 เมตร ยังไม่พบผู้สูญหายเพิ่ม แต่ได้กลิ่นแรง เร่งเดินหน้าเครื่องจักรหนักเคลียร์ซากต่อเนื่อง ยันจะช่วยเหลือจนกว่านำร่างสุดท้ายออกมาครบ

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ เจ็บ 21

รถบัสรับส่งพนักงานพุ่งตกคูน้ำ ถนนสายเอเชีย ขาขึ้น จ.พระนครศรีอยุธยา มีผู้บาดเจ็บ 21 คน คาดคนขับหลับใน เบื้องต้นยังไม่พบตัว