กรุงเทพฯ 24 ส.ค. – เจโทรคาดหวังคสช.ผลักดันไทยเดินตามตามโรดแมปที่ประกาศไว้ ขณะที่เอกชนญี่ปุ่นคาดหวังให้ไทยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายฮิโรกิ มิทสึมาตะ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร กรุงเทพฯ หัวหน้าผู้แทนประจำภูมิภาคอาเซียนคนใหม่ ซึี่งมาประจำการในประเทศไทยตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ระบุว่า ผลประชามติที่ประชาชนไทยมีมติรับร่างรัฐธรรมนูญไปแล้วนั้น ทางเจโทร คาดหวังให้รัฐบาลไทยดำเนินการตามโรดแมป ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือ คสช.วางไว้
ทั้งนี้ ข้อมูลจากจัดทำการสำรวจถึงความมั่นใจของบริษัทญี่ปุ่นต่อเศรษฐกิจประเทศไทย ที่จัดทำการสำรวจทุก ๆ ครี่งปี พบว่า เรื่องที่นักลงทุนญี่ปุ่นในไทยมีความคาดหวังและตอบกลับแบบสอบถามที่ส่งออกไปสำรวจความคิดเห็นมากที่สุดคือ อยากให้รัฐบาลไทยออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างความมั่นคงทางการเมืองให้เกิดขึั้นในประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่า นักลงทุนญี่ปุ่นในไทย คาดหวังให้รัฐบาลดูแลไม่ให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองพร้อม ๆ กับกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยพัฒนาขึึ้นมาและขณะนี้ติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ดังนั้นการที่ประเทศไทยจะก้าวขึั้นสู่ประเทศที่มีรายได้สูงจำเป็นต้องเพิ่มการบริโภคในประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ประเทศญี่ปุ่นดำเนินการมาแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีแบบอย่างจากประเทศอื่น ๆ อีกด้วย
ส่วนประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักลงทุนญี่ปุ่นเช่น กรณีบริษัท เอ็นเอ็มบี-มินิแบ จำกัด มีปัญหาเรื่องคดีภาษีจากโครงการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ ที่ถูกกรมสรรพากรเรียกเก็บภาษีย้อนหลังกรณีแยกคิดภาษีรายโครงการลงทุนที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนนั้น ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขไปแล้วระดับหนึ่ง สำหรับปัญหาดังกล่าวเกิดจากการวินิจฉัยของหน่วยงานปกครองภาครัฐมีความเห็นแตกต่างกัน แต่ที่สุดรัฐบาลไทยได้ออกมาตรการช่วยเหลือแล้ว อย่างไรก็ตาม ทางเจโทรต้องการให้รัฐบาลไทย มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันก่อนออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนออกมา เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง สำหรับกรณีที่เกิดขึ้นนี้ แสดงถึงการไม่ได้มีการประสานงานกันก่อน หากประสานงานได้ดีก็จะไม่มีปัญหาในภายหลังตามมา ซึ่งควรจะมรการดำเนินงานเป็นเรื่องอื่น ๆ ด้วย
สำหรับรูปแบบการส่งเสริมการลงทุนที่เจโทรอยากจะเห็นจากรัํฐบาลไทยคือ ขยายประเภทการลงทุนที่นักลงทุนญี่ปุ่นจะสามารถเข้ามาลงทุนได้มากขึั้น พร้อมกับเพิ่มระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผ่อนเกณฑ์ปลีกย่อยต่าง ๆ เช่น อนุญาตให้นักลงทุนญี่ปุ่นสามารถจ้างแรงงานต่างด้าวได้
นอกจากนี้ นักลงทุนญี่ปุ่นยังมีีความสนใจลงทุนในภาคบริการมากขึั้น แต่ยังคงมีปัญหา บัญชีแนบท้ายที่กำหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้น และเรื่องอื่น ๆ จึงอยากให้รัฐบาลไทยผ่อนปรนในเรื่องเหล่านี้เพิ่มมากขึ้น
ปัจจุบันนักลงทุนญี่ปุ่น มีความประสงค์ที่จะเข้ามาลงทุนนอกเหนือจากอุตสาหกรรมการผลิตมากขึ้น โดยลงทุนบริการมากขึ้น หากได้รับการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ด้านการลงทุนตามบัญชีแนบท้ายแล้ว ก็จะมีส่วนผลักดันเศรษฐกิจไทยได้มากขึั้น
ส่วนการที่ประเทศไทยจะเป็นฮับการลงทุนจากญี่ปุ่นหรือไม่นั้น เรื่องดังกล่าว่า ก็ขึ้นกับว่า ไทยจะสามารถมีบทบาทเป็นฮับของการลงทุนในอาเซี่ยนได้หรือไม่ ซึ่งขณะนี้บางอุตสาหกรรม นักลงทุนญี่ปุ่นเลือกที่จะไปลงทุนในประเทศเวียดนามแทน โดยปัจจัยหนึ่งคือ เวียดนามเข้าร่วมข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เอเชีย-แฟซิฟิก (ทีพีพี) เพราะขณะนี้ประเทศเวียดนาม สิ่งคโปร์ มาเลเซียและบรูไน ต่างเข้าร่วมข้อตกลงทีพีพีแล้ว ส่วนประเทศไทยยังไม่ได้ตัดสินใจเข้าร่วมในข้อตกลงทีพีพี
สำหรับการที่ประเทศไทยวางนโยบายพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 และดิจิตอล 4.0 นั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว แต่ควรให้ลำดับความสำคัญในช่วง 3-5 ปีและความชัดเจนในยุทธศาสตร์การพัฒนาและต้องมีความชัดเจนว่าจะดำเนินการในพื้นที่ใด นอกจากนี้ ควรจะมีการจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนา ซึ่งเชื่อว่า จะช่วยกระตุ้นการลงทุนจากต่างประเทศเช่น จากญี่ปุ่นให้เข้ามาลงทุนได้มากขึ้น
ด้านการร่วมมือลงทุนระหว่างนักลงทุนไทยกับนักลงทุนญี่ปุ่นเพื่อเข้าไปลงทุนในประเทศที่ 3 นั้น อุตสาหกรรมยานยนต์มีโอกาส โดยขึั้นกับเงื่อนไขผู้ประกอบการญี่ปุ่นจะพิจารณาถึงความเหมาะสม ซึ่งซัปพลายเออร์ไทยมีความเข้มแข็งนับว่า มีความสำคัญในเรื่องนี้ ส่วนด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ประของเทศไทยน่าจะได้เปรียบกว่าประเทศอื่นเพราะคุ้นเคยวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างดี จึงมีโอกาสร่วมธุรกิจกับนักลงทุนญี่ปุ่นwfh
ด้านการส่งเสริมให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในญี่ปุ่น อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของไทยเช่น อุตสาหกรรมอาหาร สุขภาพ และด้านท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันยังนักลงทุนมีจำนวนน้อยรายมาก ร้านสปาไฮเกรด ที่หลังสวนกรุงเทพฯ คือตัวอย่างหนึ่งของนักลงทุนไทยที่ตัดสินใจเข้าไปลงทุนในญี่ปุ่นแล้ว ซึ่งเจโทรได้ให้การสนับสนุนการลงทุนในญี่ปุ่นให้เปิดสปาที่บ่อน้ำพุร้อนในญี่ปุ่นได้ พร้อมช่วยเหลือในการขอใบอนุญาต จัดหาแรงงานชาวญี่ปุ่นและขอวีซ่าคนไทยที่ไปทำงานประจำที่ญี่ปุ่น พร้อมช่วยประชาสัมพันธ์ให้ไปใช้บริการด้วย
“ตั้งแต่ปี ค.ศ.2003-2013นักลงทุนไทยนำเงินเข้าไปลงทุน ในญี่ปุ่นแล้วจนถึงปีที่ผ่านมา มีมูลค่าเงินลงทุนสะสม 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยผ่านการช่วยเหลือของเจโทร 12 โครงการ” ประธานเจโทรกล่าว
ในปีผ่านมานักลงทุนจากอาเซี่ยนเข้าไปลงทุนญี่ปุ่น ประเทศที่เข้าไปลงทุนมากที่สุดคือ สิงคโปร์ รองลงมาคือนักลงทุนจากประเทศไทย แต่หากพิจารณาจากภาพรวมการเข้าไปลงทุนในญี่ปุ่นโดยภาพรวมแล้ว นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในญี่ปุ่นเป็นอันดับ 9
ส่วนนักลงทุนญี่ปุ่น นำเงินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยแล้ว สะสมรวม 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยนักลงทุนญี่ปุ่นนำเงินทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 39 ของภาพรวมการลงทุนผ่านบีโอไอทั้หมด ส่วนการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในต่างประเทศ ในปีที่ผ่านมาพบว่า นักลงญี่ปุ่นนำเงินไปลงทุนมากที่สุดในประเทศสิงคโปร์ ตามด้วยไทยและอินโดนีเซียในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน -สำนักข่าวไทย