ก.อุตฯ ฟัน 11 โรงงานปล่อยน้ำเสียลงคลอง

กรุงเทพฯ 3 มี.ค. – ก.อุตฯ ใช้มาตรการ “4ป” ผนึก กอ.รมน.ตรวจร่วมเฝ้าระวังโรงงานระบายน้ำทิ้งเข้ม พบผิดกฎหมายสั่งฟัน 11 โรง พร้อมกำชับระวังเพลิงไหม้โรงงาน


นายสุรพล ชามาตย์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) ทุกจังหวัด และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) แจ้งเตือนและตรวจสอบโรงงานในพื้นที่ที่มีน้ำทิ้ง 2,657 โรงให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยห้ามระบายน้ำทิ้งที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายออกนอกโรงงานโดยเด็ดขาด เนื่องจากประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อน ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา

“เรื่องดังกล่าวเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล จากระบบฐานข้อมูลคุณภาพน้ำทั่วประเทศหลายพื้นที่อยู่ในระดับเสื่อมโทรมมาก เช่น บางพื้นที่ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ท่าจีน และบางปะกง ปกติฤดูร้อนปริมาณและอัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำลำคลองจะลดลง หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบเชิงป้องกันและเฝ้าระวังตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาตามแผนการตรวจกำกับโรงงานที่มีน้ำทิ้ง รวม 2,657 โรง ตรวจสอบแล้ว 369 โรง พบว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย  11 โรง และได้สั่งการให้ปรับปรุงแก้ไขโดยเร่งด่วน” นายสุรพล กล่าว


นายสุรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า จะใช้มาตรการ “4ป” กับผู้ประกอบการที่ระบายน้ำทิ้งออกนอกโรงงานไม่เป็นไปตามกฎหมาย คือ ปลุก ปราบ ปรับ และปิด ซึ่งมีความหมาย คือ ปลุก=ปลุกจิตสำนึก ปราบ=ปราบปรามตรวจสอบ  ปรับ=ปรับจับและดำเนินคดี และปิด=ปิดโรงงาน ทั้งนี้ บางส่วนได้ตรวจบูรณาการร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นอกจากนี้ กระทรวงฯ สั่งให้ทบทวนแผนการตรวจกำกับโรงงานด้านมลพิษทางน้ำและเร่งรัดการตรวจกำกับโรงงาน เรื่องน้ำเสียให้แล้วเสร็จภายใน 31 มีนาคมนี้ พร้อมรายงานให้ผู้บริหารโดยด่วนทุกสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ได้ขอความร่วมมือให้โรงงานที่มีความเสี่ยง เช่น โรงงานที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำหรือลำน้ำสาธารณะ โรงงานที่มีปริมาณน้ำทิ้งต่อวันจำนวนมากและโรงงานที่ต้องจัดทำรายงาน รว.2 ฯลฯ ระมัดระวังการระบายน้ำทิ้งของโรงงาน หากพบว่าทำผิดกฎหมายจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเฉียบขาด ซึ่งการดำเนินการที่เข้มข้นดังกล่าวจึงมั่นใจว่าภาคอุตสาหกรรมจะไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้ลำน้ำมีปัญหา ประชาชนจะได้ใช้ประโยชน์ในการอุปโภคบริโภคได้เต็มที่

นอกจากนี้ ในช่วงฤดูร้อนยังมีความเสี่ยงเกิดอัคคีภัยหรืออุบัติเหตุในโรงงานและเหมืองแร่ โดยเฉพาะโรงงานที่มีความเสี่ยง เช่น โรงงานแป้งมัน โรงงานเฟอร์นิเจอร์ โรงงานผลิตภัณฑ์กระดาษ โรงงานผลิตภัณฑ์ยาง โรงงานสี ทินเนอร์ โรงงานพลาสติก โรงงานห้องเย็น และโรงงานผลิตน้ำแข็งที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น เป็นต้น ซึ่งตอนนี้กระทรวงฯ ได้สั่งการให้หน่วยงานดำเนินการตรวจกำกับ แนะนำ โรงงานและเหมืองแร่ในพื้นที่ให้ระมัดระวังการประกอบกิจการและปฏิบัติตามกฎหมายด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัดไปด้วยแล้ว.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง