กฟผ.เตรียมแผนลงทุน 600,000 ล้านบาท 10 ปีข้างหน้า

สุราษฎร์ธานี18 ก.พ.-กฟผ.เตรียมแผนลงทุนโรงไฟฟ้าและสายส่ง 10 ปีข้างหน้า 600,000 ล้านบาทเน้นพัฒนาระบบไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น
รองรับพลังงานหมุนเวียน เสริมความมั่นคง


นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.
)กล่าวว่า ตามแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าระยะยาว
20ปี (ปี 2561-2580) หรือพีดีพี2018 กฟผ.ได้รับมอบหมายสร้างโรงไฟฟ้าหลัก
8 โรง 5,400 เมกะวัตต์
สร้างโรงไฟฟ้าโซลาร์ลอยน้ำ ลงทุนระบบสายส่งรองรับพลังงานทดแทน
เป็นศูนย์กลางซื้อขายอาเซียน รวมทั้งระบบกักเก็บพลังงาน
การพัฒนาโรงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่น รองรับพลังงานหมุนเวียน
ซึ่งจะมีวงเงินลงทุน
10 ปีแรกรวม6แสนล้านบาท.
โดยในส่วนเงินกู้ลงทุนจะมาจากในประเทศทั้งหมดแต่จะเป็นรูปแบบไหน
คงจะพิจารณาให้เหมาะสมกับรูปแบบในช่วงนั้นๆซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนหลักในช่วง
5 ปีข้างหน้า.
และเขื่อนรัชชประภาก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมแผนสร้างโซลาร์ลอยน้ำเพื่อทำให้การผลิตไฟฟ้าเสริมระบบได้ยาวนานขึ้นจากการผลิตไฟฟ้าจากน้ำได้
3-6 ชั่วโมงต่อวันก็จะยืดเวลาได้อีก 8 ชั่วโมงต่อวัน

สำหรับโรงไฟฟ้าหลักแต่ละภาค ทุกโรงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ยกเว้นแม่เมาะยังคงใช้ถ่านหิน โดยตามแผนประกอบไปด้วย โรงไฟฟ้าน้ำพอง 650 MW เข้าระบบปี 2568, โรงไฟฟ้าพระนครใต้ 2โรง กำลังผลิต700 MW ,1,400 MW เข้าระบบปี2569 และปี2570 , โรงไฟฟ้าแม่เมาะ600 MW เข้าระบบปี 2569, โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี 2 โรง โรงละ 700 MW เข้าระบบปี 2570,2572  และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 2 โรง โรงละ 700 MW. เข้าระบบปี 2571 และ2578


ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้จะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ขึ้นกับการประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์(SEA) ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ
และถึงแม้หากดูสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าจากพีดีพี
2018 โดยปี2580
สัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้า กฟผ. จะลดลงจากปัจจุบันที่ร้อยละ 35 เหลือร้อยละ 24
แต่สัดส่วนของกำลังผลิตโรงไฟฟ้าภาคเอกชนขนาดใหญ่( ไอพีพี) ก็ลดลงเช่นกันจากร้อยละ
33เหลือร้ายละ13 ดังนั้น โอกาสของ กฟผ.ยังมีเพื่อการผลิตเพิ่มสร้างความมั่นคงของประเทศ
และคาดว่าการปรับแผนพีดีพีก็ต้องเกิดขึ้นในอนาคต

ทิศทางการขับเคลื่อนของ กฟผ.
ยังคงมุ่งสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า
เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทำให้รูปแบบการผลิตไฟฟ้ามีความหลากหลายมากขึ้น
การดูแลความมั่นคงระบบไฟฟ้าในราคาที่เป็นธรรมและสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก
ผู้ว่าการ กฟผ.กล่าว

ทั้งนี้แผนพีดีพี 2018 ภารกิจของกฟผ. แบ่งเป็น 3
ภารกิจสำคัญ คือ
1.การดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้ารายภูมิภาค
โดยการพัฒนาโรงไฟฟ้าใหม่จะเป็นโรงไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่น (
Flexible Power
Plant) สามารถเริ่มเดินเครื่องได้รวดเร็ว
ปรับการทำงานให้เป็นระบบอัตโนมัติมากขึ้น
เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาที่มีความผันผวนค่อนข้างสูง 
ควบคู่กับการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้มีความเสถียรมากขึ้น เช่น โครงการโซลาร์ลอยน้ำในเขื่อนของ
กฟผ. ซึ่งเป็นระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานระหว่างพลังงานแสงอาทิตย์กับน้ำในเขื่อน
โดยจะนำร่องในเขื่อนสิรินธร จำนวน
45 เมกะวัตต์
โซลาร์เซลล์จะช่วยผลิตไฟฟ้าเสริมพีคในช่วงกลางวัน
และโรงไฟฟ้าพลังน้ำจะช่วยผลิตไฟฟ้าเสริมพีคในช่วงกลางคืน รวมถึงยังเป็นต้นแบบการศึกษาเรื่องความยืดหยุ่นของระบบไฟฟ้าจากความไม่เสถียรของพลังงานหมุนเวียนภายในระบบส่งไฟฟ้าด้วย
ในขณะเดียวกัน กฟผ.เสนอสร้างโซลาร์ลอยน้ำตามพื้นที่เขื่อนต่างๆ เช่น
เขื่อนรัชชประภา รวม
2,700 MW จากศักยภาพทุกเขื่อนผลิตได้ 10,000
MW โดยจะก่อสร้างในช่วงครึ่งหลังของแผนพีดีพี 2018


2.การพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าเพื่อเชื่อมโยงระบบไฟฟ้าไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
รองรับการเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้า (
Grid Connection) ในภูมิภาค
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติมทางด้านเทคนิค กฎระเบียบ ภาษี และการพาณิชย์
 
3.การเตรียมการรองรับพลังงานหมุนเวียน
(
Grid Modernization) กฟผ. ได้พัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Battery
Energy Storage System : BESS) ที่สถานีไฟฟ้าแรงสูง 2 แห่ง คือ สถานีไฟฟ้าแรงสูงบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ขนาด 16 เมกะวัตต์ และสถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี ขนาด 21 เมกะวัตต์ กำหนดแล้วเสร็จในปี 2563 ลงทุนแห่งละ800 ล้านบาทถือเป็นเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
เพื่อช่วยลดความผันผวนของพลังงานทดแทนและบริหารจัดการสายส่งให้สามารถนำไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ กฟผ. ยังพัฒนาระบบการจัดการพลังงาน (
EGAT Micro Energy
Management System : EGAT Micro-EMS) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ
(
Micro grid) ช่วยมอนิเตอร์ในภาพรวมและรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าหลักไว้
สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ผ่าไชน่า เรลเวย์ คว้า 3 โครงการรัฐในภูเก็ต

เหตุการณ์ตึก สตง.ถล่ม กลายเป็นปฐมบทในการปูพรมตรวจสอบบริษัท ไชน่า เรลเวย์ หลังพบเป็นผู้ชนะการประมูลโครงการก่อสร้างตึก สตง. และโครงการรัฐหลายแห่งทั่วประเทศ ล่าสุดที่ จ.ภูเก็ต ตรวจพบ 3 โครงการ และหนึ่งในนั้นกำลังมีปัญหาก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน

มหาสงครามโลก

นักวิชาการชี้ “มหาสงครามโลกครั้งที่ 3” เกิดแน่ถ้าโลกยังตึงเครียด

นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศระดับแนวหน้าของไทย มีความเห็นตรงกันว่า หากผู้นำชาติมหาอำนาจไม่เร่งลดระดับความตึงเครียดสถานการณ์โลก

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว

กู้ภัยนานาชาติ เครือข่าย USAR ถอนกำลังแล้ว หลังอยู่ปฏิบัติภารกิจค้นหา-กู้ชีพ สนับสนุนกู้ภัยไทย เหตุตึก สตง.ถล่ม กว่า 1 สัปดาห์

ธรรมชาติใต้ดินเปลี่ยนไป หลังแผ่นดินไหว 1 สัปดาห์

แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ส่งแรงสั่นสะเทือนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ แม้บนพื้นผิวดินจะไม่ได้สร้างความเสียหายมากนัก แต่พบความเปลี่ยนแปลงสภาพใต้ดินจนเกิดปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทั้งหลุมยุบขนาดใหญ่ น้ำพุร้อนที่เคยพุ่งจากใต้ดินหายไป แต่น้ำตกที่แห้งในหน้าแล้งกลับมีน้ำไหลออกมา ซึ่งนักธรณีวิทยายืนยันเป็นผลพวงจากแผ่นดินไหวครั้งนี้

ข่าวแนะนำ

K9 หยุดปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม

K9 หยุดปฏิบัติภารกิจค้นหาผู้สูญหายตึก สตง.ถล่ม เพราะปฏิบัติหน้าที่ครบ 10 วันแล้ว เป็นปกติของการทำงาน หากปฏิบัติภารกิจต่ออาจจะทำให้บาดเจ็บได้ และการกู้ภัยที่เหลือตอนนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องจักรใหญ่เท่านั้น