ห่วงสุขภาพผู้ประสบภัย ‘ปาบึก’ แนะดูแลเรื่องอาหาร

สธ. 5 ม.ค.-กรมอนามัย ห่วงสุขภาพผู้ประสบภัยจากพายุปาบึก แนะศูนย์พักพิงให้ความสำคัญในการปรุงประกอบอาหาร เน้นปรุงร้อน สะอาด ถูกสุขลักษณะ จัดการสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อม ขยะ ใช้ส้วมอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันโรค


พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายหน่วยงานให้ความช่วยเหลืออพยพประชาชนในพื้นที่จุดเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากพายุปาบึกไปยังศูนย์พักพิงที่หน่วยงานราชการจัดเตรียมไว้ให้ แต่เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากที่อาศัยในศูนย์ดังกล่าว สิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและคุมเข้ม คือสุขอนามัยส่วนบุคคล การปรุงประกอบอาหาร และการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์แมลงและการระบาดของโรค โดยศูนย์พักพิงที่ต้องมีจุดปรุงประกอบอาหารต้องเลือกพื้นที่ หรือสถานที่ทำครัวที่ให้ไกลห้องส้วมและที่เก็บขยะ ที่ระบายน้ำเสียหรือที่เก็บสารเคมี หลีกเลี่ยงการเตรียมหรือปรุงอาหารบนพื้น ควรมีโต๊ะเตรียมปรุงที่สูงจากพื้น ป้องกันการปนเปื้อนต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคบริเวณโต๊ะที่ใช้เตรียมปรุงอาหาร เตาหุงต้มเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะเขียงควรแยกเขียงหั่นเนื้อ หั่นผักและอาหารปรุงสุก และห้ามนำผ้าที่สกปรกมาเช็ด เพราะจะทำให้ เชื้อโรคจากผ้าปนเปื้อนอาหารที่มีการหั่น สับ บนเขียงได้ 


นอกจากนี้ก่อนปรุงอาหาร ควรมีการล้างวัตถุดิบที่จะนำมาปรุงทุกครั้งด้วยน้ำสะอาด 2-3 ครั้ง ผักบางอย่าง เช่นคะน้า กะหล่ำ ถั่วฝักยาว หากมีคราบขาวจับที่กาบใบหรือฝักมากเกินไปให้ล้างหลายๆครั้งหรือแช่น้ำส้ม สายชู แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปปรุงประกอบอาหาร 

ส่วนผู้ปรุงประกอบอาหารต้องปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ ล้างมือก่อน ไม่ใช้มือจับอาหารปรุงสำเร็จโดยตรง ถ้ามือมีแผลต้องปิดแผลให้มิดชิดด้วย พลาสเตอร์กันน้ำ 

ส่วนการบรรจุอาหารที่ปรุงสุกแล้วควรใส่ในภาชนะสะอาด และไม่ควรทิ้งระยะนานเกิน 2-4 ชั่วโมง หลังปรุงและบรรจุอาหารควรระบุวัน เวลา ในการกินให้ชัดเจนก่อนส่งให้กับผู้ประสบภัย เพราะหากเก็บนานเกินไปอาจทำให้อาหารบูดและเสียได้ 


สำหรับการจัดการขยะในจุดปรุงอาหาร ต้องมีถังขยะใส่เศษอาหารที่ทำด้วยวัสดุไม่รั่วซึม มีฝาปิด หากใช้ปี๊บควรมีถุงพลาสติกรองอีกชั้นหนึ่ง และต้องแยกขยะเป็นสองถัง คือถังขยะเปียกและแห้ง เพื่อง่ายต่อการกำจัด 

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอีกประการคือการใช้ส้วมเนื่องจากที่อาศัยในศูนย์พักพิงมีจำนวนมาก ผู้ใช้ต้องให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมการใช้ส้วมสาธารณะอย่างถูกต้อง ไม่ทิ้งขยะหรือวัสดุใดๆ ลงโถ ราดน้ำ กดชักโครกทุกครั้งหลังการใช้ และล้างมือทุกครั้งหลังการใช้ เพื่อสุขอนามัยที่ดีและป้องกันโรคในช่วงน้ำท่วม อาทิ อุจจาระร่วง บิด เป็นต้น .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น