กรมปศุสัตว์เฝ้าระวังอหิวาต์สุกรเข้มงวด

รร.มิราเคิลฯ 18 ก.ย. – กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรระบาดไทย พร้อมประสานคมนาคมคุมเข้มเที่ยวบินจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หวั่นกระทบอุตสาหกรรมสุกรไทย   



นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการสัมมนา “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fewer-ASF) มหันตภัยวงการสุกรไทย ทำอย่างไรจะรอดพ้น” จัดโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากจีนมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคและมาตรการควบคุมโรคในจีน จากข้อมูลทางระบาดวิทยา การระบาดที่ประเทศจีนมีสาเหตุหลักจากการที่นักท่องเที่ยวไปประเทศกลุ่มเสี่ยงนำอาหารปนเปื้อนเชื้อกลับมาแล้วนำอาหารเหลือทิ้งไปเลี้ยงสุกร องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) รายงานว่า พบการระบาดของโรคพบ 22 จุด ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมระบาดอยู่ในมณฑลเหลียวหนิง ขณะนี้แพร่ไปยังมองโกเลีย ล่าสุดพบเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในหมูป่าเบลเยี่ยมบริเวณติดต่อกับชายแดนประเทศฝรั่งเศส วันนี้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากยุโรปซึ่งเคยเผชิญการระบาดของโรคและควบคุมการระบาดได้เป็นผลสำเร็จ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการป้องกันและเผชิญโรคในประเทศไทย 


อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ได้ทำหนังสือแจ้งสำนักที่ปรึกษาทางการเกษตรประจำต่างประเทศให้แจ้งเตือนนักท่องเที่ยวว่าประเทศไทยมีมาตรการห้ามนำเข้าสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์จากสุกรเข้ามาในราชอาณาจักร ห้ามนำอาหาร ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ติดตัวมาอย่างเด็ดขาด ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวไทยที่ไปท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มเสี่ยง เช่น อนุภูมิภาคซาฮาราของทวีปแอฟริกา ประเทศซาดิเนียของทวีปยุโรป ประเทศจอร์เจีย ประเทศอาเซอร์ไบจัน ประเทศอาร์เมเนีย สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐประชาชนจีนและล่าสุดที่ เบลเยี่ยม ห้ามนำเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์จากสุกรติดตัวกลับมา 

ทั้งนี้ จะเพิ่มความเข้มงวดการเฝ้าระวังโรคทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ โดยทำหนังสือไปยังกระทรวงกลาโหมเพื่อขอความร่วมมือตรวจสอบการลักลอบเคลื่อนย้ายสุกรมีชีวิต ชิ้นส่วนซาก และผลิตภัณฑ์จากสุกรทั้งตามด่านชายแดนและช่องพรมแดน ท่าเรือระหว่างประเทศ รวมทั้งท่าอากาศยานนานาชาติทุกแห่ง ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อพบจะตรวจยึด เก็บตัวอย่างส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ และทำลายทิ้ง สิ่งที่เป็นห่วงที่สุด คือ การแพร่กระจายของเชื้อโรคทางเครื่องบิน เนื่องจากมีเที่ยวบินระหว่างไทย-จีนแต่ละวันหลายเที่ยวบิน รวมถึงเที่ยวบินไทยกับบางประเทศในยุโรป โดยกำลังหาแนวทางแก้ปัญหา คือ พวกเศษอาหารบนเครื่องบินโดยเฉพาะเที่ยวบินจากประเทศต้นทางที่มีความเสี่ยง ซึ่งได้ขอความร่วมมือไปยังบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และกำลังจะทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคมให้กำหนดแนวทางจัดเก็บเศษอาหารและทำลายทิ้ง ซึ่งจะต้องผ่านความร้อนเกิน 90 องศาเซลเซียส นานกว่า 60 นาที 

ส่วนการควบคุมโรคได้จัดตั้งเครือข่ายห้องปฏิบัติการเฝ้าระวังโรค ASF ซึ่งมีผู้แทนจากกรมปศุสัตว์ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ (สสช.) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ (ศวพ.) สำนักควบคุมและป้องกันโรคระบาดสัตว์ (สคบ.) ผู้แทนจากคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำลังจะเข้าร่วมเพิ่มศักยภาพการรองรับการตรวจของห้องปฏิบัติการ เช่น ศวพ.จะสามารถตรวจได้ถึง 200 ตัวอย่างในเดือนตุลาคมนี้ หากพบสุกรที่สงสัยว่าป่วยด้วยโรค ASF จะเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจห้องปฏิบัติการสามารถทราบผลภายใน 2 วัน 


นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในการส่งมอบชุดทดสอบภาคสนาม (Test Kit) ซึ่งจะสามารถตรวจยืนยันเชื้อไวรัส  ASF ได้เป็นการเฝ้าระวังโรคเชิงรุกและจะพัฒนาให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้จะหารือกับประเทศเพื่อนบ้านร่วมมือกันป้องกันโรค โดยเฉพาะจากเวียดนามและลาว ซึ่งมีพรมแดนติดกับจีน ล่าสุดทางการลาวตื่นตัวและขอเข้ามาศึกษามาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากไทยไปเป็นต้นแบบ อีกทั้งจะมีการรายงานสถานการณ์โรคระบาด เพื่อป้องกันการระบาดของโรคจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง อีกทั้งกรมปศุสัตว์จะสนับสนุน Test Kit เนื่องจากโรคระบาดหากตรวจพบเร็วจะสามารถควบคุมได้เร็ว  

อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรให้ยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีระบบการป้องกันโรคที่ดีตามมาตรฐาน GAP และหากเป็นรายย่อยให้ใช้มาตรฐานการป้องกันและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกรก่อนเข้าฟาร์ม ร่วมกับการจัดการด้านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำโรคเข้าสู่ฟาร์มได้ อีกทั้งไม่นำเศษอาหารไปเลี้ยงสุกร นอกจากนี้ให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร ผิวหนังเป็นปื้นแดงและต่อมาเป็นสีเขียวคล้ำ พบภาวะแท้งในแม่สุกร หรือสุกรป่วย แล้วมีอัตราการตายประมาณ 30% ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจเป็นโรค ASF ให้แจ้งปศุสัตว์อำเภอและปศุสัตว์จังหวัด เพื่อตรวจและสอบสวนโรคทันที  ซึ่งขณะนี้กรมปศุสัตว์ออกประกาศห้ามนำเข้าและเคลื่อนย้ายสุกร ซากสุกร รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสุกรที่มีต้นกำเนิดในจีน ระยะเวลา 90 วัน แต่เชื้อนี้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมสูงอยู่ได้นานประมาณ 6 เดือน หากการระบาดในจีนรุนแรงขึ้นจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกระทรวงห้ามนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรจากจีนโดยเด็ดขาด

นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อสรุปจากการสัมมนาวันนี้จะรวบรวมเสนอคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board) ให้พิจารณามาตรการชดเชยความเสียหาย หากโรค ASF แพร่เข้ามายังประเทศไทย เบื้องต้นจะเสนอจ่ายค่าชดเชยแก่เกษตรกรรายย่อย ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องดูแลตัวเอง เพราะหากต้องจ่ายค่าชดเชยแก่อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรทั้งหมด รัฐมีงบประมาณไม่เพียงพอ.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

หนุ่มอุดรฯ ดวงเฮง ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ 45 ล้านบาท

สุดเฮง! หนุ่มอุดรฯ ถูกลอตเตอรี่เกาหลีใต้ รับเงินรางวัล 45 ล้านบาท ลูกสาวเผยพ่อเป็นคนชอบทำบุญ ก่อนหน้านี้เพิ่งโทรมาบอกให้ใส่บาตร เชื่อผลบุญหนุนโชคลาภ

สามีภรรยาจากอยุธยารับ “เจ้าจอร์จ” ไปดูแล

สามีภรรยาใจบุญจาก จ.พระนครศรีอยุธยา ขอรับ “เจ้าจอร์จ” สุนัขพันธุ์อเมริกันบูลลี่ ไปอุปการะแล้ว หลังกัดแทะร่างพระเจ้าของที่มรณภาพในกุฏิด้วยโรคประจำตัว

ดีเอสไออนุมัติสืบสวนคดีแตงโม คาดตั้งชุดเริ่มสืบได้ 27 ม.ค.นี้

อธิบดีดีเอสไอ อนุมัติให้สืบสวนคดีแตงโม ว่ามีการบิดเบือนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ และมีบุคคลหรือเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องหรือไม่ คาดเริ่มได้ 27 ม.ค.นี้