fbpx

สพฉ.แจงกรณีรถกู้ภัยฉุกเฉินขนยาบ้า เป็นรถเอกชน

สพฉ.10 ก.ย.-เลขาฯ สพฉ.แจงเหตุแอบอ้างเป็นรถกู้ภัยฉุกเฉินขนยาบ้าที่ จ.พะเยา เป็นรถของเอกชน ที่มาเสริมการทำงานของเทศบาล แห่งหนึ่งที่ จ.ปทุมธานี ซึ่ง สพฉ.ได้เพิกถอนไปเมื่อหลายปีก่อนแล้ว 


เรืออากาศเอกนายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา  เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ชี้แจงกรณีมีรถแอบอ้างว่าเป็นรถกู้ภัยฉุกเฉิน แต่กลับขนยาบ้าผ่านด่านที่ จ.พะเยา ว่า  รถ1ใน 2 คันเป็นรถกู้ภัยของเอกชน ที่มาวิ่งเสริมรถกู้ภัยของเทศบาลแห่งหนึ่งใน จ.ปทุมธานี ซึ่ง สพฉ.ได้เพิกถอนสิทธิ์รถคันที่ก่อเหตุไปแล้วเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าในส่วนของเทศบาลแห่งนั้น มีรถกู้ภัยฉุกเฉินเสริมจากเอกชนเข้าร่วมบริการ 13 คันในจำนวนนี้มี 4 คันที่ถูกถอนใบอนุญาต และคันที่เพิ่งพบกระทำผิดที่ จ.พะเยาเป็นหนึ่งใน 4 คันนั้น


เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า สพฉ.เป็นแกนกลางมีรถกู้ภัยฉุกเฉิน ดำเนิน งานร่วมกันหลายหน่วยงานทั้งจากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รถในสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศ และรถจากมูลนิธิสมาคมกู้ภัยต่างๆ โดยรถที่จะได้รับสิทธิ์เป็นรถกู้ภัยฉุกเฉิน ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เช่น สภาพรถมาตรฐาน ทะเบียนรถถูกต้อง ได้รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางบก ,หากมีการดัดแปลงสภาพต้องได้รับการรับรองจากกรมสรรพสามิต , ผู้ปฏิบัติงานได้รับการอบรมตามเกณฑ์ของ สพฉ. จึงจะได้รับอนุมัติขึ้นทะเบียนป้ายและคิวอาร์โค้ด บอกพื้นที่การทำงานอย่างถูกต้อง มีสติ๊กเกอร์ลักษณะแถบสีเขียวบอกชื่อสังกัด ซึ่งได้แก่โรงพยาบาลทุกระดับ องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิตครบถ้วน ,ได้รับอนุมัติไฟฉุกเฉิน และไซเรน จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันนี้มีรถกู้ภัยฉุกเฉินที่ได้รับขึ้นทะเบียนเกณฑ์มาตรฐาน สพฉ. ราว 10,000 คัน ทั่วประเทศ


ขณะที่มีเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่ปฏิบัติการในรถกู้ภัยฉุกเฉินอยู่ราว 87,000 คน ทุกคนต้อง ได้รับการอบรมเป็นรายชั่วโมงตามเกณฑ์และมีใบอนุญาต ตามลำดับขั้นของระยะเวลาชั่วโมงการอบรม 

เลขาธิการ สพฉ.กล่าวด้วยว่า การกระทำผิดดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นส่วนที่ สพฉ.ต้องรับผิดชอบ เพราะรถคันที่กระทำความผิดได้ถูกเพิกถอนสิทธิ์ไปนานแล้ว แต่ถึงแม้ยังได้ใบอนุญาตอยู่ ก็ถือเป็นการกระทำความผิดของบุคคล ซึ่งต้องส่งไปรับโทษตามความผิดนั้นๆ ส่วนความผิดที่ สพฉ.ต้องรับผิดชอบ เช่น พนักงาน ปฎิบัติหน้าที่ผิดวัตถุประสงค์ หรือทำเกินหน้าที่ เช่น ไม่ช่วยชีวิต ผู้ป่วยหรือฉีดยาให้ผู้ป่วยแทนแพทย์ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ในอนาคต สพฉ.จะต้องบูรณาการกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ สบส.เพื่อกำหนดมาตรฐาน กฎเกณฑ์ของ รถกู้ภัยฉุกเฉิน หรือรถส่งต่อผู้ป่วย ซึ่ง ปัจจุบัน รถกู้ภัยเหล่านี้มี สังกัดอยู่มากมายทั้งของภาครัฐและเอกชน 

เลขาธิการ สพฉ.กล่าวอีกว่า ในปี 2560 ที่ผ่านมามีการปฏิบัติงานกู้ภัยฉุกเฉิน ของ สพฉ. กว่า 1,700,000 ครั้ง ทั่วประเทศ ด้วยจำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานกว่า 87,000 ราย ด้วยรถกู้ภัยฉุกเฉินในสังกัดของโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ และสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่น ตลอดทั้งปีมีการพบการกระทำผิดเพียง 1 เหตุการณ์เท่านั้น ซึ่งหากประชาชนทั่วไปมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความถูกต้องของรถกู้ภัยฉุกเฉินสามารถโทรศัพท์ สอบถามได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่หมายเลข 

02 8721669.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้