กทม.3 ส.ค.-กทม.เปิดรับฟังความคิดเห็นภาคเอกชนร่วมทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงเขียวใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต แก้ปัญหารถติด มูลค่าก่อสร้างร่วม 54,000 ล้านบาท ระยะสัมปทาน 30 ปี
นายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อประเมินความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding Seminar)งานศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมแนวทางการให้เอกชนร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงเขียวใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการและช่วงเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่ห้องซาลอน บีชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ลเลอ คองคอรด์ โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วง ถือเป็นเส้นทาง สายหลักที่มีความสําคัญในด้านเศรษฐกิจ โดยจะเชื่อมต่อการเดินทางและคมนาคมขนส่งจากกรุงเทพมหานครไปสู่พื้นที่ปริมณฑล แนวเส้นทางของโครงการมีลักษณะในการรองรับกลุ่มผู้โดยสารในกลุ่มเขตที่อยู่อาศัยชานเมืองตอนเหนือและตอนใต้ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดการเดินทางเข้าสู่บริเวณศูนย์กลางเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเชื่อมต่อการเดินทางไปยังกลุ่มพื้นที่ ที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัย ทําให้กลุ่มเขตที่อยู่อาศัยชานเมืองได้รับการให้ บริการระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ และลดระยะเวลาในการเดินทาง รวมถึงยกระดับคุณภาพ การเดินทางสู่บริเวณศูนย์กลางเมือง ทําให้การใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลลดลง ส่งผลทําให้สภาพจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานครดีขึ้น
โดยสถานะปัจจุบันของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ในส่วนงานโยธานั้นได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ยังคงเหลืองานระบบ โดยจะสามารถ เปิดให้บริการประชาชนได้ประมาณปลายปีพ.ศ. 2561 ส่วนช่วงหมอชิต- สะพานใหม่- คูคต ตามกําหนดการคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและสามารถเปิด ให้บริการประชาชนได้ประมาณปีพ.ศ. 2563 เพื่อให้การดําเนินงานในขั้นตอนต่างๆ ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็วและสามารถคัดเลือกเอกชนที่จะเข้ามา ร่วมลงทุนกับภาครัฐ สําหรับการดําเนินงาน ได้ทันตามแผนและกรอบระยะเวลา ที่จะเปิดให้บริการเพื่อความสะดวกของประชาชน พร้อมคุณภาพในการให้บริการและมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่มีความเหมาะสม
รองปลัด กทม.กล่าวว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่เป็นศูนย์กลางของประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการปกครอง เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว มีประชากรตามทะเบียนบ้านประมาณ 6 ล้านคน แต่มีคนที่เดินทางผ่านเข้าออกมาใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานครหรือเดินทางผ่าน แต่ละวันมากกว่า 10 ล้านคน รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร จึงให้ความสําคัญกับโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร โดยเร่งรัด ดําเนินการโครงการตามแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลซึ่งโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงเขียวส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วง เป็นส่วนหนึ่งตามแผนงาน โดยเป็นการขยายการให้บริการ จากรถไฟฟ้าสายสีเขียวในปัจจุบัน ส่งผลให้รถไฟฟ้าสายสีเขียวมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นในการขนส่งประชาชนระหว่างชานเมืองของกรุงเทพกับศูนย์กลางธุรกิจชั้นในได้อย่างสะดวกรวดเร็ว พร้อมสอดรับกับการพัฒนาเมืองตามผังเมืองใหม่ของกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก(คจร.)ได้มีมติในการประชุม ครั้งที่1/2558 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 เห็นชอบในหลักการให้ กรุงเทพมหานครเป็นผู้บริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ-ใต้ ช่วงดังกล่าวที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เป็นผู้ดําเนินการ ก่อสร้าง และต่อมาคณะรัฐมนตรีรับทราบมติการประชุมของ คจร. แล้วเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 กรุงเทพมหานครจึงได้มอบหมายให้สํานักการจราจรและขนส่ง ดําเนินการ ศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมโครงการ โดยให้คํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนและภาครัฐเป็นสําคัญ และเพื่อเป็ นการลดภาระค่าใช้จ่าย ด้านบุคลากรและงบประมาณของภาครัฐ ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการแก่ผู้โดยสาร การควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน และการบริหารจัดการรายได้จากค่าโดยสาร จึงมีความจําเป็นต้องให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนมีส่วนร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 และเพื่อให้การศึกษามีข้อมูลที่ครบถ้วนและสมบูรณ์
ทั้งนี้ สํานักการจราจรและขนส่ง จึงจัดให้มีการสัมมนาเพื่อประเมินความสนใจของภาคเอกชน โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 100 คน และมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนและภาคธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนและภาคธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้อง สถาบันการเงิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รับทราบข้อมูล เกี่ยวกับโครงการตลอดจนกรอบแนวคิดแนวทางการดําเนินงาน และกรอบเวลาสําหรับการให้เอกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินงาน เพื่อประเมินความสนใจของภาค เอกชนในการร่วมลงทุนกับภาครัฐ สําหรับการดําเนินงานโครงการ ในรูปแบบต่างๆ และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมงาน เกี่ยวกับ ความเป็นไปได้ปัญหาอุปสรรค และรูปแบบการร่วมลงทุนที่เหมาะสม และ คาดหวังว่า ภาคเอกชนจะได้รับข้อมูล ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายทั้ง 2 ช่วงนี้เพื่อนําไปพิจารณาวางแผน เตรียมความพร้อม และ ประกอบการตัดสินใจเข้าร่วมการยื่นข้อเสนอเพื่อร่วมลงทุนกับกรุงเทพมหานคร มูลค่าการก่อสร้าง ร่วม 54,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี เพื่อช่วยขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน กระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการพัฒนาของประเทศที่ยั่งยืนต่อไป .-สำนักข่าวไทย