fbpx

ได้ข้อสรุปทีแคส ปี 2562

ก.ศึกษาธิการ 3 ส.ค.- รมว.ศึกษาธิการ เผยได้ข้อสรุประบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (ทีแคส) ปีการศึกษา 2562 แล้ว ปรับรอบ 3 เลือกได้ 6 อันดับ จาก 4 อันดับ


นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยหลังจากเป็นประธานประชุมหน่วยงานที่จัดส่งข้อมูลของนักเรียนเข้าสู่ระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2562 หรือ “ทีแคส” ปี 62 ว่า ศธ.และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ถอดบทเรียนทั้งหมดจากการประชาพิจารณ์และรวบรวมประเด็นปัญหาของทีแคส ปี 61 เพื่อแก้ไขปัญหาในทุกเรื่อง ตนมองว่า ระบบทีแคสเป็นระบบที่ดี และต้องดำเนินการต่อไป โดยการดำเนินงานต่อไปทุกภาคส่วนจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลัก โดยได้สั่งการให้ ศธ.จัดตั้งศูนย์ข้อมูลเพื่อการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เบื้องต้นศูนย์ข้อมูลฯ มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นหลักในการดูแล อย่างไรก็ตาม การทำงานของศูนย์ข้อมูลฯ นี้จะประสานกับหลายหน่วยงาน หลายกระทรวง จุดนี้ตนต้องกลับไปดูระเบียบก่อนว่าจะให้ใครเป็นหน่วยประสานงาน 

“ศูนย์ข้อมูลฯ จะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลนักเรียนที่กำลังเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า เพื่อไม่ให้เป็นภาระของโรงเรียนที่ต้องมานั่งประมวลจัดพิมพ์แบบฟอร์ม โดยการประมวลผลข้อมูลจะทำที่ส่วนกลางทั้งหมด เพื่อความยุติธรรมในเรื่องคะแนน เช่น GPAX ที่เป็นผลการเรียน หรือเกรดเฉลี่ยของทุกวิชาที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า การจัดแบบฟอร์มการจบที่ไม่เหมือนกันของแต่ละโรงเรียน และศูนย์นี้จะพัฒนาฐานข้อมูลนักเรียนทั้งหมด เพื่อประสานกับ ทปอ.โดยตรง และมีผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีนักเรียนระดับชั้น ม.ปลาย จะเป็นผู้รับผิดชอบในการส่งข้อมูลให้ส่วนกลาง” นพ.ธีระเกียรติ กล่าว 


ด้านนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ทปอ.ได้ถอดบทเรียนจากปีที่ผ่านมา และยอมรับว่า ทีแคส 61 ยังประสบปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำอยู่ ซึ่งวันนี้ ทปอ.ได้เรียนรู้จากบทเรียนนี้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม เรื่องการที่จะดูแลนักเรียนกว่าครึ่งล้านคน คงไม่มีระบบไหนที่จะสมบูรณ์ และสามารถดูแลให้ทุกคนพึงพอใจได้ทั้งหมด แต่ ศธ. และ ทปอ. ยืนยันว่าจะมุ่งมั่นพยายามอย่างเต็มที่เพื่อนักเรียนทุกคน คือมุ่งมั่นจะลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในระบบการศึกษาของไทย และอยากให้นักเรียน ม.6 ได้เรียนจบก่อน กระบวนการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ถือเป็นความมุ่งมั่นที่ ทปอ.จะคงต่อไป 

ส่วนการแก้ไขปัญหาระบบทีแคสปี 62 นายชูศักดิ์ ลิ่มสกุล ประธานคณะกรรมการการพัฒนาระบบทีแคส ได้ออกแบบขั้นตอนทีแคสปี 62 โดยจะคงไว้ 5 รอบเหมือนเดิม คือ รอบที่ 1 ดูจากแฟ้มสะสมงาน (พอร์ตฟอลิโอ) รอบที่ 2 การรับแบบโควตา รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน รอบที่ 4 แอดมิสชั่นส์ และรอบที่ 5 การรับตรงแบบอิสระ

“แต่ทีแคสปี 62 จะมีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของการรับนักเรียน รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน โดยรอบที่ 3 จากปีที่แล้ว ให้นักเรียนเลือก 4 อันดับ โดยนักเรียนมีโอกาสติดทั้งหมด 4 อันดับ ทำให้เกิดปัญหาการกั๊กที่ขึ้นมา ในการประชุมครั้งนี้ได้ความชัดเจนแล้วว่า ต่อไปทีแคส รอบ 3 รับตรงร่วมกัน จะเป็นการเรียงคะแนน และจากเลือกได้ 4 อันดับ นักเรียนจะสามารถเลือกเพิ่มเป็น 6 อันดับ ซึ่งคาดว่าจะสามารถแก้ปัญหาการกั๊กที่ในรอบที่ 3 ได้ ส่วนนักเรียนในกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ยังคงอยู่ในรอบที่ 3 เพราะไม่ว่านักเรียนที่สมัครในรอบที่ 3 จะเลือกคณะสาขาในกลุ่ม กสพท. หรือไม่เลือกเลย นักเรียนทุกคนจะเลือกได้ 6 อันดับเท่ากัน ทั้งนี้ ในการเรียงลำดับคะแนนรอบที่ 3 จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง ทปอ. และมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยจะทำการเรียงลำดับของคณะ สาขาวิชาที่ดูแล และส่งข้อมูลมายัง ทปอ. เพื่อให้ ทปอ.ดูแลการเรียงลำดับคะแนนในภาพรวมต่อไป” นายสุชัชวีร์ กล่าว


นายสุชัชวีร์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องระยะเวลาการเปิดรับสมัคร ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป เบื้องต้นในปีที่ผ่านมา เวลาคัดเลือก 10 เดือนด้วยกัน คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ถึงกรกฎาคม 2561 แต่ทีแคสปี 62 คาดว่าจะลดเวลาเหลือ 6 เดือนครึ่ง ซึ่งเชื่อว่าหากลดเวลาการดำเนินงาน การจัดการจะต้องดีกว่าปีที่แล้ว ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติม ทปอ.จะจัดแถลงข่าวอีกครั้ง 

ขณะที่ นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า วันนี้ ศธ. และ ทปอ.ได้ข้อสรุปชัดเจนว่า ยังคงระบบทีแคสไว้ เพราะเป็นระบบที่ดีที่สุดในการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย ตอบโจทย์ทั้งนักเรียนและมหาวิทยาลัย โดยนักเรียนสามารถเลือกที่เรียนได้ตามความต้องการของตน และมหาวิทยาลัยเองก็มีสิทธิเลือกนักเรียนให้ตรงความต้องการของมหาวิทยาลัยเช่นกัน เพียงแต่ว่าที่ผ่านมามีข้อบกพร่องทางเทคนิคบ้าง แต่ขอยืนยันว่า ศธ. และ ทปอ.จะปิดช่วงโหว่ แก้ไขปัญหานี้แน่นอน  

“นอกจากการหารือเรื่องทีแคสแล้ว ประเด็นที่หารือร่วมกันอีกประเด็นหนึ่ง คือ เรื่องข้อสอบ เพื่อที่จะตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต และตอบสนองเป้าหมายของประเทศ ต่อไปข้อสอบจะต้องเน้นเรื่องการวัดความถนัดและสมรรถนะให้มากขึ้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับข้อสอบ โดยต้องแยกให้ชัดเจนว่า การวัดความถนัดและสมรรถนะนั้นสำคัญที่สุด ส่วนเรื่องวิชาการไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่าไร เพราะในอนาคตความรู้ทางวิชาการอาจล้าสมัยได้ โดยสิ่งที่ ศธ.กำลังจะปรับ เช่น ข้อสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และการทดสอบความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ (PAT) ซึ่งที่ประชุมวิเคราะห์แล้วว่า ข้อสอบเหล่านี้ไม่ตอบโจทย์ความต้องการทั้งหมด จำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนใหม่” นพ.อุดม กล่าว

นพ.อุดม กล่าวต่อว่า เห็นใจ ทปอ.อย่างมากที่รับทำงานตรงนี้ เนื่องจาก ทปอ.ไม่ได้เป็นหน่วยงานที่มีการรองรับทางกฎหมาย การติดต่อประสานขอข้อมูลจากหน่วยงานอื่นทำได้อย่างจำกัด และการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเป็นงานที่ใหญ่มาก นพ.ธีระเกียรติ จึงมีนโยบายว่า ต่อไปกระทรวงอุดมศึกษาฯ ที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ ต้องรับดูแลเรื่องการรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษามาเป็นงานถาวร เนื่องจากงานนี้เป็นงานใหญ่ และมีหลายกระทรวงที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องมีหน่วยงานที่ดูแลอย่างจริงจัง.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ฆ่ารัดคอขับโบลท์

รวบ “ไอ้แม็ก” ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ พบเคยถูกจับคดีโหด

จับแล้ว “ไอ้แม็ก” เดนคุก ฆ่ารัดคอหญิงขับโบลท์ ทิ้งร่างอำพราง ริมถนนห้วยพลู จ.นครปฐม ก่อนเอารถไปขาย สอบประวัติ พบเพิ่งพ้นโทษ คดีล่ามโซ่ล่วงละเมิดเด็กวัย 13 ปี นาน 1 สัปดาห์ เมื่อปี 2553

พายุโซนร้อนซูลิก

ฤทธิ์พายุโซนร้อนซูลิก ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่นครพนม

ฤทธิ์พายุโซนร้อน “ซูลิก” ทำฝนเริ่มตกหนักในพื้นที่ จ.นครพนม เจ้าหน้าที่ต้องเร่งเดินเครื่องสูบน้ำลงน้ำโขง

อุตุฯ เตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ฝนถล่มหลายจังหวัด

กรมอุตุฯ ออกประกาศเตือนพายุ “ซูลิก” ฉบับที่ 12 ภาคเหนือ อีสาน กลาง รวมทั้งกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง