fbpx

เสนอ สปสช.ปลดล็อกเพดานจำนวนการรักษาผู้ป่วยปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต

สมาคมโลหิตวิทยานานาชาติ 22 ก.ค.อดีตนายกสมาคมโลหิตวิทยานานาชาติ ชี้ ผู้ป่วยบัตรทองได้รับสิทธิประโยชน์รักษามะเร็งทางโลหิตวิทยาหลายรายการดีมาก เสนอปลดล็อกเพดานจำนวนผู้เข้าสู่การรักษารายปี


ศ.พญ.แสงสุรีย์ จูฑา อดีตนายกสมาคมโลหิตวิทยานานาชาติ อดีตนายกสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการผลักดันสิทธิประโยชน์การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ว่า  ตนในฐานะเป็นผู้ก่อตั้งโครงการปลูกถ่ายไขกระดูกที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมเพื่อกำหนดเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ตั้งแต่ต้น เห็นว่าในอดีตการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตยังไม่ได้รับการบรรจุลงในชุดสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยบัตรทอง โดยในช่วงแรกนั้น สปสช.ได้จำกัดจำนวนการรักษาอยู่ที่ประมาณ 20-30 รายเท่านั้น  จนกระทั่ง สปสช.ได้ผลักดันมาเป็นชุดสิทธิประโยชน์ แต่ก็ยังมีการจำกัดเพดานจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาอยู่เช่นเดิมเช่น ให้ได้ 60-70 รายต่อปี  ส่วนตัวคิดว่าถ้าได้รับบรรจุเป็นชุดสิทธิประโยชน์แล้ว ก็ไม่ควรจำกัดจำนวนการรักษา แต่ก็เข้าใจว่าการรักษาใช้งบประมาณสูง เฉลี่ยแล้วประมาณรายละ 8 แสนบาท จึงจำเป็นต้องมีการจำกัดอยู่ จึงหวังว่าในอนาคต สปสช.จะให้กับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นได้โดยไม่มีการจำกัดจำนวนคน

 อดีตนายกสมาคมโลหิตวิทยานานาชาติ กล่าวถึงสถานการณ์ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวว่า ปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวเข้าถึงการรักษามากขึ้นกว่าในอดีต แต่ก็ยังมีประเด็นเรื่องของความครอบคลุมอยู่ ยกตัวอย่างเช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท และแต่ละประเภทก็จะแบ่งออกเป็นหลายชนิด โดยมีอยู่หลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับ B-cell ซึ่งปัจจุบันมียาที่จะเข้าไปทำลาย B-cell โดยตรงแล้ว และ สปสช.กับสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ก็ได้อนุมัติให้ผู้ป่วยใช้ยาชนิดดังกล่าวได้แล้ว แต่ประเด็นก็คือใช้ได้เฉพาะกับชนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดก็มี B-cell อยู่ด้วยเช่นกัน แต่การให้ยากลับยังไม่ครอบคลุมมะเร็งเหล่านั้น


“ในโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยานั้น พบว่าสิทธิประโยชน์ในหลายโรคของ สปสช.ดีเยี่ยม  ยกตัวอย่างคนไข้มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังแบบมัยอีลอยด์ (Chronic Myeloid Leukemia) ซึ่งในอดีตการปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้คนไข้หายขาดได้ แต่นับจากปี 2544-2545 เป็นต้นมา พบว่ามียาที่ใช้ได้ดีมาก จากเดิมที่คนไข้จะอยู่ได้ราวๆ 7-8 ปี หากได้รับยาตัวนี้จะอยู่ได้ถึง 30 ปี  แต่ยาในกลุ่มนี้ค่อนข้างมีราคาแพง ซึ่งตนได้ผลักดันจนมีโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยนานาชาติ (GIPAP) ขึ้น และทำให้ผู้ป่วยบัตรทองได้รับยานี้ทั้ง 400 มิลลิกรัม 600 มิลลิกรัม และ 800 มิลลิกรัม ตามระดับความรุนแรงของโรค ศ.พญ.แสงสุรีย์ กล่าว           

ศ.พญ.แสงสุรีย์ ยังกล่าวขอบคุณ สปสช.ที่ทำให้ผู้ป่วยซึ่งปกติแล้วเข้าไม่ถึงวิธีการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตเนื่องจากค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่ผู้ป่วยจะแบกรับไหว ซึ่งการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยในประเทศไทยที่อยู่ในระบบบัตรทองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงอยากขอขอบคุณ สปสช.แทนผู้ป่วยทุกรายได้ที่รับผลประโยชน์นี้ด้วย.-สำนักข่าวไทย

 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ชีวิตติดลบ! ชาวแม่สายจมน้ำจมโคลน 10 วันแทบหมดตัว

หลายชุมชนชายแดนแม่สาย เผชิญน้ำท่วมและจมโคลนมา 10 วันแล้ว อยู่ในสภาพแทบหมดตัว ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่กับชีวิตที่ต้องติดลบจากน้ำท่วมครั้งนี้

อาลัย “อดีตแข้ง U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา

วงการลูกหนังอาลัย “อดีตนักเตะ U19” ขับเบนซ์พลิกคว่ำดับพร้อมภรรยา ชาวบ้านเผยจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลงสะพานอย่าขับเร็ว

สอบเพิ่ม “ไอ้แม็ก” ฆ่าชิงทรัพย์หญิงขับโบลท์ ฝากขังพรุ่งนี้

ตำรวจคุมตัว “ไอ้แม็ก” สอบปากคำเพิ่มคดีฆ่าชิงทรัพย์โชเฟอร์สาวขับโบลท์ เจ้าตัวปฏิเสธไปชี้จุด อ้างปวดท้องไม่สบาย เตรียมฝากขังพรุ่งนี้