กรุงเทพฯ 3
เม.ย.- บมจ.โกลบอล
เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC)
มั่นใจธุรกิจขยายตัวต่อเนื่องทั้งการผลิตไฟฟ้าในและต่างประเทศ ควบคู่เครือ ปตท.
โดยในส่วนของโรงไฟฟ้าใหม่ป้อน โรงงานใหม่ PTTGC ราว 200-300 MW คาดมีความชัดเจนใน Q2/61
พร้อมเดินหน้าธุรกิจสำรองไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ล่าสุดเริ่มจำหน่ายแก่โครงการสมาร์ทกริด
ม.เชียงใหม่แล้ว
นายเติมชัย บุนนาค
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่
(GPSC) เปิดเผยว่า บริษัทวางแผนให้กิจการขยายตัวต่อเนื่องทั้ง
ธุรกิจใหม่ ในด้านการสำรองไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าใหม่ที่พร้อมป้อนแก่กิจการเครือ บมจ.
ปตท. โดยเฉพาะพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่จะมีราว 1 พันเมกะวัตต์ โดยเตรียมเสนอโครงการผลิตไฟฟ้าป้อน
3 โรงงานปิโตรเคมีแห่งใหม่ ในกลุ่มบมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ที่คาดว่าจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าราว
200-300 เมกะวัตต์ (MW) ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในไตรมาส
2/61 เนื่องจากทั้ง 3 โรงงานดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการภายในปี 63 ทำ
ทั้งนี้
โรงไฟฟ้าดังกล่าวจะเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ มีมูลค่าลงทุนราว 50
ล้านบาท/เมกะวัตต์ ซึ่งจะเป็นเงินลงทุนใหม่นอกเหนือจากงบลงทุนในปีนี้ที่ราว 7
พันเมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทก็จะต้องเสนอราคาแข่งขันกับรายอื่นเช่นกัน
แต่เชื่อว่าแข่งขันได้เพราะบริษัทมีการบริการที่ดีไม่เกิดปัญหาไฟตก-ไฟดับหรือ reliability ที่สูงมาก
นายสุรงค์
บูลกูล ประธานกรรมการ ของ GPSC
กล่าวว่า
บริษัทก็จะยังขยายการเติบโตด้วยการลงทุนในต่างประเทศ
โดยเฉพาะในเมียนมาที่ปัจจุบันจะร่วมกับบมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) เพื่อเสนอโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ
ขนาดราว 100 เมกะวัตต์ ป้อนให้กับเมียนมา ซึ่งเบื้องต้นได้หารือกับรัฐบาลกลาง
และรอให้ทางเมียนมามีความพร้อมก่อนจะเสนอแพ็กเกจโครงการต่อไป
นอกจากนี้ยังจะมีการลงทุนในธุรกิจใหม่
เช่น โซลาร์รูฟท็อป และระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System :ESS) โดยในส่วนความคืบหน้าโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไออน
ขนาด 100 เมกะวัตต์ชั่วโมง (MWH) มูลค่าราว 50 ล้านเหรียญสหรัฐ
คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในไตรมาส 4/62
โดยกำลังผลิตในระดับดังกล่าวสามารถผลิตแบตเตอรี่ ขนาดความจุ 300 วัตต์ ได้ทั้งหมด
3 แสนก้อน/ปี ซึ่งช่วงแรกแบตเตอรี่ที่ผลิตได้จะใช้ในระบบ ESS ในธุรกิจไฟฟ้าเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน
ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่การผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ ,เสาโทรคมนาคม เป็นต้น
ทั้งนี้
ล่าสุดบริษัทตกลงให้ความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เพื่อศึกษาการทำงานของระบบกักเก็บพลังงานโดยใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มจากการติด
Energy Storage ของ AMPD พันธมิตรจากฮ่องกง ระบบนี้ใช้ในการทำ Time Shift และ Back up ใน Energy Research and Development Institution ของมหาวิทยาลัย ซึ่งนอกจากใช้เพื่อศึกษาแล้วยังเป็นการพัฒนา Energy Storage ร่วมกันในประเทศไทยอีกด้วย–สำนักข่าวไทย