ฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 30 มี.ค.- นายกฯ หวังอนุภูมิภาค GMS เป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุน และการผลิตของภูมิภาคอย่างยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน มุ่งเน้นการลงทุนที่มีศักยภาพ และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
“มนชนก พัฒนพงศ์” ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ที่ติดตามภารกิจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำแผนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ หรือ GMS Summit ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รายงานว่า วานนี้ (30 มี.ค.) เวลา 17.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำภาคธุรกิจแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ หรือ GMS Business Summit ในหัวข้อ “การค้นหาปัจจัยใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยไม่พึ่งพาแรงงานราคาถูก และไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในอนาคต ของประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง”
นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมว่า ปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างพลังขับเคลื่อนใหม่ คือ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ดิจิทัล ซึ่งภาครัฐและเอกชน จะต้องร่วมกันสร้างสรรค์พลังใหม่ ด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม สนับสนุนสตาร์ท อัพ ผู้ประกอบการรายใหม่ให้สามารถปรับใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมสีเขียว และสนับสนุนพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน ซึ่งจะทำให้พวเกราสามารถเข้าถึงตลาดทุน และตลาดการค้าโลกได้ง่ายขึ้น โดยในส่วนของไทย กำลังส่งเสริมเรื่องเหล่านี้ ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 และมีโครงการ EEC เป็นฐานรองรับอุตสาหกรรมใหม่ ที่เน้นการใช้เทคโนโลยี นวตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อรองรับการลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลก
นายกรัฐมนตรี ระบุว่า การที่จะสร้างพลังขับเคลื่อนให้กับอนุภูมิภาคได้ เราจะต้องทำงานร่วมกัน ชื่อมโยงโคร้งสร้างพื้นฐาน และเชื่อมโยงกฎระเบียบ เพื่อให้ฐานการผลิต และตลาดของประเทศต่างๆ เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันด้วย
นายกรัฐมนตรี เน้นย้ำว่า อนุภูมิภาคนี้จะยั่งยืนได้ เราต้องมุ่งเน้นการลงทุนที่มีศักยภาพ ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน ภายใต้หลักการไว้เนื้อเชื่อใจกัน และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่ทั้งหมดนี้จะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน และต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจัยขับเคลื่อนไศรษฐกิจใหม่ของไทย และการปฏิรูปประเทศส่งผลดีต่ออนุภูมิภาค ด้วยการชื่อมโยง และความร่วมมือของประเทศสมาชิก และหวังว่า สิ่งที่พวกเราทุกฝ่ายร่วมมือดำเนินการ จะช่วยขับเคลื่อนเศรษบกิจของอนุภูมิภาคให้ขยายตัวต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างฐานเศรษฐกิจและรายได้ และสังคมแห่งอนาคต ให้อนุภูมิภาค GMS เป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุน และการผลิตของภูมิภาคอย่างแท้จริง และยั่งยืน .- สำนักข่าวไทย