จุฬาฯจัดเวทีเสวนา เรื่องเพศในโรงเรียน

จุฬาฯ 6 ก.พ.-ในเวทีเสวนา”ปัญหาหรือตัณหา:ธรรมาภิบาลกับเรื่องเพศในโรงเรียนไทย” นักวิชาการการศึกษาชี้ปัญหาซ้ำซากเหตุวัฒนธรรมการเป็นใหญ่ในโรงเรียน ด้านนักกฎหมายเเนะสร้างมาตรฐานกระบวนการทำคดีทางเพศ ขณะที่ตัวเเทนสื่อชวนสื่ออย่าผลิตซ้ำสร้างทัศนคติเดิมให้คนในสังคม


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเวทีจุฬาฯ เสวนาครั้งที่10″ปัญหาหรือตัณหา :ธรรมาภิบาลกับเรื่องเพศในโรงเรียนไทย” เพื่อเป็นเวทีวิชาการสาธารณะ เผยแพร่องค์ความรู้จากนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิ เเละเเลกเปลี่ยนความเห็นเพื่อหาทางออกปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างครูเเละศิษย์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศในโรงเรียน 


นายอรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เรื่องเหล่านี้ไม่เคยหายไปจากสังคมไทย มีการผลิตซ้ำเป็นประจำเเละไม่มีการเเก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เด็กที่เป็นเหยื่อต้องยอมจำนนหรือเอาตัวรอดเอง เมื่อมองสถิติ 5 ปีที่ผ่านมา พบมีการฟ้องร้องเรื่องครูเเละเด็กกว่า  200 ราย เเต่มีครูที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเพียง 4ราย จังหวัดสมุทรสาครจังหวัดเดียวถึง 53 ราย เเต่ที่ไม่มีการฟ้อง ร้องมีจำนวนมาก


ส่วนสถิติทั่วโลกพบเด็กชาย 1 ใน 6 ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เเละส่วนใหญ่ไม่กล้าออกมาเรียกร้อง ขณะที่เด็กหญิง 1 ใน 4 ถูกคุกคามเเละล่วงละเมิดทางเพศ ปัญหาทั้งหมดเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ตนมองว่าโรงเรียนคือสังคมจำลอง ฉายภาพอำนาจนิยมที่ชัดเจนในระบบการศึกษา ครู หรือ ผอ.เป็นใหญ่ เด็กมีอำนาจต่อรองน้อยโดยเฉพาะเมื่อเกิดเรื่องเพศ ปัญหาสะท้อนว่า เด็กต้องช่วยเหลือตัวเอง ครูหรือผู้ปกครองช่วยไม่ได้ ระบบตรวจสอบหรือการตั้งคณะกรรมการสอบสวนของส่วนกลางมีผลเเค่ไหน โรงเรียนอาจไม่ใช่สถานที่ปลอดภัยอีกต่อไป จึงควรเเก้วัฒนธรรมในโรงเรียนทั้งเรื่องค่านิยมชายหญิง สร้างสังคมใหม่ เคารพสิทธิการเเตะต้องเนื้อตัวของทุกคนให้ความสำคัญกับเสียงของเด็กหากเกิดปัญหาอย่าซุกใต้พรม ต้องเเก้ปัญหาจริงจัง โรงเรียนเตรียมความพร้อมให้เด็กมีทักษะชีวิต การปฏิเสธ ต่อรองสอนให้เด็กเข้าใจเเละปฏิบัติตามได้ ไม่ใช่เเค่สอนเเต่เด็กไม่เข้าใจ,ครูต้องมองว่าตัวเองมีหน้าที่มากว่าการสอนคือต้องเปลี่ยนเเปลงวัฒนธรรมในโรงเรียน ต้องสร้างเครือข่าย รับฟังความเห็น ดึงครูเเนะเเนวเเละด้านจิตวิทยาเข้ามาดูเเลเด็กมากขึ้น 

ด้านนางปารีณา ศรีวณิชย์  คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นตัณหาของมนุษย์ที่ทำให้เกิดปัญหาในสังคม เมื่อมองฐานความผิดทางเพศ อาทิ กระทำชำเรา กระทำอนาจาร พรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร เป็นต้น ในทางกฏหมายมุ่งเน้นคุ้มครองผู้เยาว์ ยิ่งอายุไม่ถึง 15 ปี ยิ่งมีการดูเเลอย่างเข้มข้น เเม้เด็กจะยินยอม ผู้ที่ล่วงละเมิดก็ต้องมีความผิด โดยเฉพาะครูที่กระทำทางเพศต่อศิษย์ ซึ่งอยู่ในการดูเเลเเต่ในทางการพิจารณาโทษ มีข้อกำหนดที่อาจจะทำให้การกระทำชำเราเป็นเพียงการละเมิด ซึ่งเป็นความผิดลหุโทษเท่านั้น ,คดีทางเพศเป็นคดีที่ยากในการดำเนินคดี ผู้ถูกกระทำกลัว อาย กังวลว่าหากลุกขึ้นมาสู้ สังคมจะมองว่าอย่างไร ยิ่งหากเกิดขึ้นกับเด็กยิ่งต้องดูเเลเด็กให้มากกว่าปกติ เรื่องนี้ทุกภาคส่วนต้องเปลี่ยนเเปลง ต้องมีมาตรฐานในการทำคดีเรื่องเพศ ทั้งในโรงเรียนการสอบครู การดูเเลเด็ก สถานีตำรวจ การสอบปากคำเด็ก ควรมีนักสังคมสงเคราะห์กรือนักจิตวิทยาดูเเลอย่างไรหรือโรงพยาบาล 

,การฟื้นฟูเยียวยาเหยื่อ กระบวนการบำบัดทำอย่างไร กระบวนการการศึกษาให้เด็กสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมหรือในโรงเรียน ด้านกฎหมายต้องคุ้มครองรอบด้านเเละรัดกุม ในต่างประเทศมีการขึ้นทะเบียนตัดโอกาสผู้กระทำความผิดทางเพศไม่ให้อยู่ในสถานศึกษา ขณะที่สื่อก็ต้องช่วยปรับทัศนคติของคนในสังคม ไม่ควรเปิดเผยตัวตน

ขณะที่น.ส.ณัฏฐา โกมลวาทิน บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า ในเเง่ของสื่อในการนำเสนอข่าว เรื่องนี้ละเอียดอ่อน ต้องใช้ความระมัดระวัง ไม่ผลิตซ้ำในเรื่องการละเมิดเด็กหรือทุกคนในสังคม นำเเสดงทัศนคติเดิมๆของคนในสังคม ที่เป็นความผิดของผู้หญิงเองที่ทำให้ตนเองเป็นเหยื่อก็จะทำให้เกิดปัญหาซ้ำๆในปัจจุบันสังคมออนไลน์มีความสำคัญ เเละอาจง่ายต่อการล่วงละเมิดทางเพศ ขณะเดียวกันอาจเป็นการช่วยรณรงค์หรือปรับเปลี่ยนทัศนคติในสังคม อย่างต่างประเทศ กรณี Weinstein Effect ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดัง ล่วงละเมิดผู้หญิงหลายราย จนดารานักเเสดงออกมาเรียกร้องเเละรณรงค์ ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี ดังนั้นสื่อควรคัดกรอง ทำงานเชิงลึกเเละไม่ทำให้ทุกการนำเสนอข่าวเป็นตราบาปที่ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต 

ส่วนนางจิตติมา ภาณุเดชะ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง กล่าวว่า เด็กส่วนใหญ่เมื่อเกิดปัญหาจะเล่าให้เพื่อนฟัง ตามมาคือพ่อเเม่เเละครู ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการมีวิธีการทำงานยังรวมอยู่ที่ส่วนกลาง อีกทั้งไม่มีเเนวทางในการร้องเรียนเรื่องนี้หรือไม่มีหน่วยงานที่ดูเเลเเก้ปัญหาอย่างชัดเจน กระทรวงศึกษาฯ ต้องกล้าหาญที่จะมีนโยบาย ปล่อยให้โรงเรียนหรือพื้นที่ได้เเก้ปัญหาพร้อมทั้งต้องกล้าหาญทุ่มงบประมาณลงทุนพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบในการดูเเลเด็ก 

ขณะที่โรงเรียนต้องทำงานใน 3 ระบบได้เเก่ หลักสูตรวิชาในห้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ สร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สุขภาวะทางเพศให้ได้มากกว่าเพศศึกษา, สร้างให้เด็กเท่าทันความรู้สึกตัวเอง เท่าทันสังคมเเละเท่าทันความสัมพันธ์ เด็กต้องมีทักษะขอความช่วยเหลือเเละเด็กเข้าถึงความบริการความปลอดภัยเรื่องเพศ ,ระบบสภาพเเวดล้อม มีกล่องรับฟังความเห็น เเละการสร้างเครือข่ายในการดูเเลเด็กอย่างเป็นระบบ .-สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

คนขับแท็กซี่ตายคารถ กว่าจะรู้ผ่านไปหลายชม.

รถแท็กซี่จอดอยู่ป้ายรถเมล์ตั้งแต่เที่ยงจนถึงเย็น มีผู้โดยสารขึ้นรถ แล้วก็ลงมา แถมถูกบีบแตรไล่ จนพ่อค้าขายข้าวโพดต้มเข้าไปเรียกพบคนขับนอนคอพับเสียชีวิต

ถอนตัวWHO

“ทรัมป์” ลงนามในคำสั่งให้สหรัฐถอนตัวจากการเป็นสมาชิกอนามัยโลก

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐกล่าววานนี้ว่า สหรัฐจะออกจากการเป็นสมาชิกองค์การอนามัยโลก โดยเขาระบุว่า องค์การอนามัยโลกดำเนินการผิดพลาดในการรับมือกับโรคโควิด-19

พิตบูลขย้ำหัวพระ

“อเมริกันบูลลี่” ขย้ำหัวพระ-กัดข้อมือหาย มรณภาพคากุฏิ

สลด! หลวงพี่ เลขาเจ้าอาวาสวัด เลี้ยงอเมริกันบูลลี่ไว้ตั้งแต่เป็นลูกสุนัข ผ่านไปปีกว่า ถูกขย้ำหัวมรณภาพคากุฏิ ข้อมือขาดหายไป ยังหาไม่พบ

ข่าวแนะนำ

นายกฯ สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ ร่วมประชุม WEF อวดผ้าไทยสู่สายตาโลก

นายกฯ สวมกระโปรงผ้าปาเต๊ะ จากภาคใต้ ร่วมประชุม WEF อวดผ้าไทยสู่สายตาโลก หารือผู้นำและภาคเอกชนชั้นนำของโลก

กทม.จำกัดพื้นที่ชั้นใน ห้ามรถบรรทุกวิ่ง เริ่มคืนนี้!

ผู้ว่าฯ กทม. ติดตามสถานการณ์ฝุ่น กทม. คาดสุดสัปดาห์ระบายอากาศดีขึ้น พร้อมจำกัดพื้นที่ชั้นใน ห้ามวิ่งรถบรรทุก เริ่มคืนนี้! ย้ำประชาชนช่วยสอดส่องการลอบเผา ต้นเหตุฝุ่น PM 2.5

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่น

ตรวจสอบสิทธิ์เงินหมื่นคนอายุ 60+ ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ว

“จิรายุ” ย้ำเงินหมื่นเฟส 2 มอบคนอายุ 60+ รัฐบาลพร้อมโอนไม่มีเปลี่ยนแปลงแล้ว วันจันทร์ที่ 27 ม.ค.นี้ แน่นอน สามารถตรวจสอบสิทธิ์ผ่านแอป “ทางรัฐ” ได้แล้ววันนี้ ส่วนคนไม่มีสมาร์ทโฟน ฝากลูกหลานช่วยด้วย