ขยายเวลาให้บริการฟรีเส้นทางนำร่องถึงสิ้น ม.ค.61

กรุงเทพฯ 20 ม.ค. – กรมการขนส่งทางบกขยายเวลาให้บริการฟรีเส้นทางนำร่อง สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี (ทางด่วน) ถึงสิ้นเดือนมกราคม 61


นายสนิท พรหมวงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า หลังจากเปิดตัวเส้นทางนำร่องรถโดยสารมาตรฐานใหม่ ตามแผนปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2 เส้นทาง  โดยเป็นรถร่วมเอกชนผ่านการคัดเลือกด้วยมาตรฐานคุณภาพ ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลความปลอดภัยและการให้บริการจากกรมการขนส่งทางบกโดยตรง  เริ่มให้บริการเส้นทางสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี (ทางด่วน) ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 61 ที่ผ่านมา 

เริ่มวิ่งให้บริการฟรีตลอดเส้นทางจนถึงวันที่ 20 มกราคม 61 นับว่าได้รับการตอบรับจากประชาชนในเส้นทางดังกล่าวเป็นอย่างดี เพราะตอบโจทย์การเดินทางของประชาชนจากรอบนอกเข้าสู่ตัวเมืองกรุงเทพชั้นใน เชื่อมต่อกับเส้นทางหลากหลาย  มีจุดเด่นทางขึ้น-ลง สำหรับรถเข็นของผู้พิการหรือผู้สูงอายุ มีเสียงเตือนขณะประตูรถกำลังปิดเพื่อผู้พิการ  ทางสายตา พร้อมติดตั้งระบบเทคโนโลยี GPS Tracking ติดตามการเดินรถตลอดเส้นทาง ทั้งยังรองรับระบบ  บัตร e-Ticket ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มความสุขในการเดินทางด้วยรถโดยสารมาตรฐานใหม่ 


กรมการขนส่งทางบก ร่วมกับ บริษัท มารัตน์ทรานสปอร์ต จำกัด ผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางดังกล่าว ขยายเวลาให้บริการฟรีไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2561 ประชาชนที่อยู่ในเส้นทางสามารถใช้บริการได้ฟรี ผ่านจุดจอดสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ เคหะบางพลีเมืองใหม่ เมกาบางนา ห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์สถานีหัวหมาก พระราม 9 เดอะไนน์เซ็นเตอร์พระราม 9 ใช้ทางด่วนลงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผ่านโรงพยาบาลราชวิถี และสิ้นสุดเส้นทางที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

 ส่วนเที่ยวกลับ ออกจากโรงพยาบาลราชวิถี ใช้ถนนศรีอยุธยา อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ดินแดง พระราม 9 ใช้ทางด่วน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์สถานีหัวหมาก ย้อนกลับเส้นทางเดิม รวมระยะทาง 61 กิโลเมตร ใช้รถโดยสารปรับอากาศขนาด 31 ที่นั่ง มีที่ยืนสำหรับผู้โดยสาร โดยมีจำนวนรถทั้งหมด 16 คัน เดินรถขั้นต่ำวันละ 48 เที่ยวต่อวัน และหลังจากสิ้นสุดช่วงให้บริการฟรี จะจัดเก็บอัตราค่าโดยสารเป็นไปตามระยะทาง เริ่มต้นที่ 13-25 บาท 

อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า เส้นทางนำร่อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา-สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต (ทางด่วน) พร้อมให้บริการภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ด้วยรถโดยสารขนาดเล็กปรับอากาศขนาด 21 ที่นั่ง และประกันที่นั่งไม่มีที่ยืน ซึ่งเป็นมาตรฐานรถแบบใหม่ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ใช้ทดแทนรถตู้โดยสาร โดยในเส้นทางดังกล่าวจะมีจำนวนรถทั้งหมด 18 คัน เดินรถขั้นต่ำวันละ 48 เที่ยววิ่ง อัตราค่าโดยสาร 40 บาทตลอดสาย ให้บริการผ่านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (บรมราชชนนี) ถนนราชพฤกษ์ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) ตลาด อตก. สถานีรถไฟฟ้า BTS หมอชิต เที่ยวกลับผ่าน สำนักงานใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) ก่อนย้อนกลับเส้นทางเดิม.-สำนักข่าวไทย 


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ตึกถล่มพบเสียชีวิตเพิ่ม

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่าง

พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5 ราย ในพื้นที่โซน B และโซน C มีซากอาคารถล่มทับร่างอยู่ ทีมกู้ภัยเร่งกู้ร่างและค้นหาผู้สูญหายใต้ซากอาคารต่อเนื่อง

ชายวัย 50 ไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องเมียท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากตึก สตง.

ชายวัย 50 ปี ยกมือไหว้ขอโทษ ไม่มีเจตนากุเรื่องภรรยาท้อง 4 เดือน ติดใต้ซากอาคาร สตง.ถล่ม ด้านรอง ผบช.น. เตือนอย่าใช้โอกาสที่มีผู้ประสบเหตุสร้างความสงสารหลอกเอาทรัพย์สิน มีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่ม พบไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น

ผลตรวจตัวอย่างเหล็ก 28 ชิ้น ตึก สตง.ถล่มจากแผ่นดินไหว พบได้มาตรฐาน 15 ชิ้น ไม่ได้มาตรฐาน 13 ชิ้น ยังไม่สรุปเป็นสาเหตุตึกถล่ม ชี้ต้องดูหลายองค์ประกอบ

ข่าวแนะนำ

พ่อขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิตจากตึก สตง.ถล่ม

พ่อของหนุ่มขอนแก่น วัย 35 ปี หนึ่งในผู้สูญหายจากอาคาร สตง.ถล่ม ขอของขวัญวันเกิดให้ลูกชายรอดชีวิต ส่วนหนุ่มช่างประปา วัย 32 ปี เหยื่อตึก สตง.ถล่ม เผาแล้ว แม่ยังทำใจไม่ได้ สะอื้นไห้หน้าเมรุ

“ชัชชาติ” เผยเตรียมกู้ 5 ร่างที่พบ-ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน

ผู้ว่าฯ กทม. เผยเตรียมกู้ 5 ร่าง จาก 14 ร่างที่พบ ขนย้ายชิ้นส่วนอาคารแล้ว 100 ตัน ยันไม่ขีดเส้นตายหยุดช่วยเหลือ ปรับแผนเพิ่มการรื้อถอนด้วยเครื่องจักรหนักควบคู่ไปมากขึ้น