รมว.พลังงานกำหนดออกทีโออาร์ประมูล”เอราวัณ-บงกช” ก.พ.61

กรุงเทพฯ 15 ธ.ค. -รมว.พลังงาน เร่งหารือแนวทางการประมูล”เอราวัณ-บงกช” กำหนดชัดออกทีโออาร์ เดือน ก.พ.61 และจะรู้ผลเร็วกว่าเดิมที่คาดว่าจะได้ผู้ชนะประมูลภายใน 7-8 เดือน ย้ำชัดจะสร้างความชัดเจน”โรงไฟฟ้าถ่านหิน-โซลาร์รูฟท็อป”


นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว. พลังงาน  เปิดเผยว่า นโยบายที่ตนจะต้องเร่งดำเนินการมี 3 เรื่องได้แก่ การเปิดประมูลแหล่งปิโตรเลียม “เอราวัณ-บงกช” โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ทั้งหมดให้เสร็จภายในเดือน มกราคม 2561 และจะออกประกาศเอกสารเชิญชวนการประมูล (ทีโออาร์) ภายในเดือน กุมภาพันธ์ 2561 อย่างไรก็ตาม จากที่มีการกำหนดมาตรการที่ชัดเจนสำหรับการให้ข้อมูลการประมูลทั้ง 5 หลักการ จึงมั่นใจว่า จะได้ผู้ชนะการประมูลเร็วกว่าคาดการเดิมที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำหนดไว้ ที่เดิมคาดว่าจะรู้ผลประมูลภายหลังออกประกาศทีโออาร์ภายใน 7-8 เดือน

นอกจากนี้ สิ่งที่จะเร่งดำเนินการ คือ การส่งเสริมเรื่องโซลาร์รูฟท็อป (การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา) ที่ขณะนี้ขอดูรายละเอียดทั้งหมดว่าจะประกาศรับซื้อเท่าใด หลักเกณฑ์เป็นอย่างไร หลังจากที่ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เห็นชอบให้รับซื้อ 300 เมกะวัตต์ ในขณะเดียวกันก็จะสร้างความชัดเจน เรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ ทั้งกระบี่และเทพา ว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่ อย่างไร


นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ  กล่าวว่า ความคืบหน้า การประมูลแหล่งเอราวัณ และแหล่งบงกช ปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดประมูล หาผู้ประกอบการที่จะเป็นผู้ร่วมดำเนินการสำรวจและผลิตกับรัฐ ภายใต้ระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต(พีเอสซี )โดย 5 องค์ประกอบสำคัญของการประมูลที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจน ได้แก่ 1.ข้อมูลปริมาณสำรองและปริมาณการผลิตทั้งในส่วนที่คาดว่าจะผลิตได้ และในส่วนที่ ยังไม่ได้สำรวจ  2.การรื้อถอนแท่นผลิต ที่มีรวมกว่า 300 แท่น โดยจะพิจารณาว่า แท่นใดที่ไม่การเก็บ (Decommissioning)เพราะปริมาณปิโตรเลียมหมดลง และการโอนแท่นที่ยังต้องการเก็บไว้ใช้งาน (Asset Transfer) ซึ่งต้องกำหนด หลักการและข้อตกลงสำหรับการโอน แท่นผลิตและค่าใช้จ่ายการรื้อถอน  โดยในส่วนนี้เดิมประมาณกันว่าจะมีมูลค่าการรื้อถอนราว 5,000 ล้านดอลลาร์ แต่ขณะนี้จากการประเมินทราบว่าค่ารื้อถอนจะลดลง

3. มาตรการที่สนับสนุนให้ผู้รับสัมปทานปัจจุบัน คือ เชฟรอนฯ และ บมจ. ปตท.สำรวจแลผลิต ปิโตรเลียม (ปตท.สผ. ) ลงทุนเพื่อรักษาระดับการผลิตจนสิ้นสุดอายุสัมปทาน   4.มาตรการที่สนับสนุนให้ผู้ชนะประมูลภายใต้สัญญาพีเอสซี  เพื่อรักษาระดับการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเริ่มสัญญาใหม่  และ 5.หลักการเกี่ยวกับราคาก๊าซธรรมชาติและผู้ซื้อ 


” รมว.พลังงานเร่งพยายามเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งท่านนัดประชุมอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ ” นายวีระศักดิ์ กล่าว -สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

หนุ่ม 31 ซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับคาที่ หลังมีปากเสียงเรื่องขับเฉี่ยวชน

หนุ่มไทยเชื้อสายอินเดีย ลูกเจ้าของร้านขายผ้าซิ่งเก๋งชนไรเดอร์ดับ ริมถนนสุขุมวิท หลังมีปากเสียงเรื่องขับรถเฉี่ยวไม่ลงมาเจรจา

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ขับรถชนไรเดอร์ดับ

พ่อพาญาติเยี่ยมลูกชายลูกครึ่งอินเดีย ที่หัวร้อนขับรถชนไรเดอร์ดับคาที่กลางสุขุมวิท เมื่อวานนี้ พร้อมไหว้ขอสื่อ อย่ามายุ่งกับครอบครัว

จำคุกทนายเดชา

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” ปมไลฟ์หมิ่น “อ.อ๊อด”

ศาลสั่งจำคุก 1 ปี “ทนายเดชา” คดีหมิ่น “อ.อ๊อด” ปรับ 1 แสนบาท ปมไลฟ์ด่าเสียหาย ให้รอลงอาญา โจทก์เตรียมอุทธรณ์ต่อ ขอให้ติดคุกจริง

ศาลให้ประกันหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนไรเดอร์ดับ

ครอบครัวไรเดอร์ที่ถูกหนุ่มลูกครึ่งอินเดียหัวร้อนขับรถไล่ชนเสียชีวิต กอดกันร้องไห้รับร่างและรดน้ำศพ ด้านศาลให้ประกันตัวผู้ต้องหา วงเงิน 600,000 บาท ติดกำไล EM-ห้ามออกนอกประเทศ

ข่าวแนะนำ

วันประวัติศาสตร์ สมรสเท่าเทียมวันแรก

วันนี้เป็นวันแรกที่กฎหมายสมรสเท่าเทียม มีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ ใน กทม. มีการจัดงานวันสมรสเท่าเทียมอย่างยิ่งใหญ่ เฉลิมฉลองให้กับเส้นทางการต่อสู้อันยาวนานกว่าที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้ ไม่ว่าเพศใดก็จะได้รับสิทธิการสมรสอย่างเท่าเทียมกัน

นาทีประวัติศาสตร์! นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา

นายกฯ ร่วมพิธีลงนาม FTA ไทย-เอฟตา ฉบับแรกไทยกับยุโรป ความสำเร็จรัฐบาลแพทองธาร สร้างโอกาสยุคทองการค้า-ลงทุน ทำเงินเข้าประเทศ

ตำรวจ ปปป.ซ้อนแผนบุกจับนายช่างโยธา เรียกรับเงิน 4 แสน

ตำรวจ ปปป. บุกจับนายช่างโยธาปฏิบัติงาน ฝ่ายโยธา สำนักงานเขตพระโขนง เรียกรับเงินค่าออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร 400,000 บาท

สมรสเท่าเทียม

นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้

“แพทองธาร” นายกฯ ส่งคลิปสารร่วมแสดงความยินดีกฎหมายสมรสเท่าเทียมบังคับใช้ ขอบคุณทุกภาคส่วนผ่านการต่อสู้กับอคติกว่า 2 ทศวรรษ ทำให้ ทุกตารางนิ้วของประเทศไทยโอบรับความหลากหลาย และเท่าเทียม