คมนาคมระบุตั๋วร่วมแมงมุม เริ่มใช้ระบบรถไฟฟ้า มิถุนายนปีหน้า

กรุงเทพฯ 18 ต.ค. – คมนาคม ยืนยันตั๋วร่วมแมงมุม เริ่มใช้ระบบรถไฟฟ้า มิถุนายนปีหน้า นำร่องรถเมล์-แอร์พอร์ตลิ้ง”เริ่มก่อน ส่วนรถไฟฟ้าmrt-bts–เรือ เริ่ม ตุลา61   


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานลงนามความร่วมมือเพื่อดำเนินการเชื่อมต่อระบบตั๋วร่วม ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ,บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)(บีทีเอส)และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน)(บีอีเอ็ม) ว่า ระบบตั๋วร่วม(บัตรแมงมุม)ถือเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางให้ประชาชนโดยใช้บัตรใบเดียวสามารถเดินทางเชื่อมต่อการขนส่งสาธารณะในทุกระบบ โดยในเดือน มิ.ย.2561 ประชาชนจะสามารถใช้ตั๋วร่วมกับ รถไฟฟ้าแอร์พอร์เรลลิ้งก์ กับ รถเมล์ ขสมก.ขององค์การขนส่งทวลชนกรุงเทพหรือ ขสมก.ได้ก่อน ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าสายสีม่วง และ รถไฟฟ้าบีทีเอส นั้นประชาชนจะสามารถใช้ตั๋วร่วมได้ประมาณเดือน ต.ค.61  ส่วนระบบขนส่งทางน้ำ คาดว่าจะสามารถเข้ามาใช้ระบบตั๋วร่วมได้ในเดือน ต.ค.2561 เช่นกัน

“มั่นใจว่าประชาชนจะสามารถใช้ตั๋วร่วมตามกำหนดระยะเวลา  ไม่มีเลื่อนจากช่วงเวลาที่กำหนดอีก โดยในช่วงที่ตั๋วร่วมยังไม่สามารถใช้งานได้ ประชาชนสามารถขึ้นรถไฟ รถเมล์ ขสมก.ฟรีอยู่ แต่พอถึงวันที่ 1พ.ย.เป็นต้นไป ประชาชนที่มีบัตรสวัสดิการคนจน ก็สามารถใช้บัตรสวัสดิการกับ รถเมล์ ขสมก.ได้ทันที  ส่วนตั๋วร่วมที่จะใช้กับรถไฟฟ้าทั้งสายสีน้ำเงินและ รถไฟฟ้าสายสีม่วงนั้นจะสามารถใช้ได้พร้อมกันในเดือน ต.ค.ปี 61  อย่างไรก็ตามมั่นใจว่า หากเปิดระบบตั๋วร่วมให้ใช้ครบทุกระบบขนส่งสาธารณะ ในระยะยาวจะมีประชาชนเข้ามาใช้บริการเพิ่มขึ้นมากขึ้นแน่นอน เพราะผู้โดยสารเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาใช้เดินทางโดยรถไฟฟ้ามากขึ้น และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ทั้งนี้จากการเจรจาระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนผู้เดินรถไฟฟ้าด้วยกัน ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดถึงการลด หรือ ยกเว้นค่าแรกเข้าเมื่อใช้บริการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าของผู้บริการรายอื่น แต่ในส่วนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสายสีชมพู ที่บีทีเอส เป็นให้บริการจะยังมีการยกเว้นค่าแรกเข้าอยู่”


นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าสำหรับความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อเข้ามา จัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (CTC) ตลอดจนหน้าที่บริหารจัดการรายได้และกำหนดแนวทางดำเนินธุรกิจตั๋วร่วมนั้น ขณะนี้รฟม.อยู่ระหว่างการของบจากกระทรวงคมนาคมเพื่อนำไปจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาโครงสร้างองค์กรและสัดส่วนผู้ถือหุ้น คาดว่าจะดำเนินการร่างเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์) ภายในปีนี้เพื่อให้ได้ตัวเอกชนที่ปรึกษาโครงการภายในต้นปี 2561 ก่อนใช้ระยะเวลาศึกษาราว 4 เดือน ตลอดจนสรุปผลศึกษาฉบับสมบูรณ์รายงานสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ภายในมิ.ย. 61 หากได้รับการอนุมัติแล้วจะเร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกใช้เวลาราว 8เดือน-12เดือน หรือจะก่อตั้งบริษัทแล้วเสร็จภายในปี 62

สำหรับเป้าหมายที่รมว.คมนาคมได้ให้เอาไว้ว่าจะต้องเร่งสรุปแนวทางรูปแบบธุรกิจของบริษัทลูกภายใน 3 เดือนนั้น ก็จะเร่งดำเนินการตามเป้าหมายเมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะส่งเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมตลอดจนนำข้อสรุปดังกล่าวไปรวมกับผลศึกษาของที่ปรึกษาโครงการเพื่อเสนอที่ประชุมสคร.ต่อไป

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)(บีทีเอส) กล่าวว่า ในส่วนของรถไฟฟ้านั้นทาง บีทีเอส และ บีอีเอ็ม ได้ลงทุนเพื่อดำเนินการพัฒนาระบบตั๋วร่วม กว่า 300 ล้านบาทในการพัฒนาระบบ มั่นใจว่าเมื่อเปิดให้บริการตั๋วร่วมอย่างเต็มรูปแบบจะเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้บริการได้อย่างมาก


ด้านนายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าการติดตั้งตั๋วร่วมในระบบทางด่วนและมอเตอร์เวย์นั้น ล่าสุดกรมทางหลวง(ทล.)ได้รายงานว่าจะตั้งงบประมาณปี 2562 เพื่อดำเนินการติดตั้งระบบอ่านบัตรตั๋วร่วมและซอฟแวร์สำหรับการเก็บค่าใช้จ่าย โดยจะเริ่มดำเนินการจ้างเอกชนเพื่อติดตั้งระบบในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย. 2561 ก่อนใช้เวลาติดตั้งราว 3 เดือนเพื่อเปิดใช้ระบบตั๋วร่วมในมอเตอร์เวย์สาย 7 ช่วงกรุงเทพ-พัทยาก่อนเป็นเส้นทางแรกภายในต้นปี 2562 ก่อนจะดำเนินการติดตั้งและเปิดใช้งานต่อไปในมอเตอร์เวย์สาย 9 บางปะอิน-บางนาต่อไป อย่างไรก็ตามการติดตั้งระบบตั๋วร่วมของมอเตอร์เวย์นั้นจะนำเครื่องอ่านบัตรไปติดตั้งในช่องเก็บเงินธรรมดา (Cash) โดยไม่รวมกับระบบคิดเงินในช่องผ่านทางอัตโนมัติ (M-Pass) เนื่องจากเป็นคนละระบบกัน ส่งผลให้ทล.อาจต้องดำเนินการรื้อย้ายด่านเก็บเงินในบางแห่งเพื่อปรับช่องเข้าด่านเก็บเงินในระหว่างดำเนินการติดตั้งระบบตั๋วร่วม

สำหรับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)นั้นคาดว่าจะเริ่มจ้างเอกชนเพื่อเข้ามาออกแบบและติดตั้งระบบตั๋วร่วมบนทางด่วนทุกสายได้ในช่วงปลายปีหน้าเช่นกัน หลังจากนั้นจะใช้เวลาการติดตั้งราว 4-5 เดือน เพื่อเปิดใช้งานได้ก่อนกลางปี 2562 โดยจะเป็นการติดตั้งระบบเครื่องอ่านบัตร (Reader) ในช่องเก็บเงินธรรมดา (Cash) โดยไม่รวมกับระบบคิดเงินในช่องผ่านทางอัตโนมัติ (Easy-Pass) อย่างไรก็ตามทางด้านการขนส่งทางน้ำอย่างเรือด่วนและเรือข้ามฟากนั้นเบื้องต้นมีเพียงเอกชนผู้ให้บริการเรือข้ามฟากเจ้าพระยาที่ได้ดำเนินการติดตั้งระบบอ่านบัตรไปบ้างแล้วในบางแห่งโดยเอกชนจะลงทุนติดตั้งประตูกั้นบริเวณท่าเรือใหม่ทั้งหมดโดยจะใช้ประตูกั้นใหม่คล้ายกับรถไฟฟ้าเพื่อให้รองรับกับระบบตั๋วร่วมและเครื่องอ่านบัตรที่จะติดตั้ง ขณะที่เรือด่วนคลองแสนแสบนั้นเอกชนผู้ให้บริการยังไม่ได้เข้ามาหารือจึงยังไม่มีความชัดเจนว่าจะได้เชื่อมต่อระบบตั๋วร่วมหรือไม่ – สำนักข่าวไทย 

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง