PTTGC พบนักลงทุนต่างชาติชั้นนำพร้อมต่อยอดลงทุนอุตฯ ปิโตรเคมีใน EEC

กรุงเทพฯ 12 ก.ย. –  PTTGC โชว์ศักยภาพความเชี่ยวชาญอุตสาหกรรมปิโตรเคมีร่วมขับเคลื่อนการลงทุนในพื้นที่ EEC จับมือพันธมิตรญี่ปุ่นและนักลงทุนต่างชาติ ดึงจุดแข็งด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่การต่อยอดอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อความยั่งยืน ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม


นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)หรือ PTTGC กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ  “New Emerging Opportunities Thai-Japan Partnership” ในงานสัมมนา “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในโอกาสครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น” ระหว่างนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นและไทย  PTTGC ในฐานะ Chemical Flagship ของกลุ่ม ปตท.ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีมาเป็นเวลา 30 กว่าปี ตั้งแต่เริ่มโครงการ Eastern Seaboard ที่ถือเป็นพื้นฐานอุตสาหกรรมอันหลากหลายของไทย และเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก ก่อให้เกิดการลงทุนตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น อุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเคมี จนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น อุตสาหกรรมพลาสติกและเคมีภัณฑ์ครบวงจร 

สำหรับพื้นที่ Eastern Seaboard ถือว่าเคยเป็น New S-Curve ของไทยที่ประสบความสำเร็จในอดีตก่อให้เกิดการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้นับแสนล้านบาท เป็นกลไกสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจของภาคตะวันออกและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เป็นต้นแบบของการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ทั้งนี้ PTTGC มีแผนลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับ EEC ระยะ 5 ปีข้างหน้า ประมาณ 130,000 ล้านบาท เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ตามเป้าหมายการเข้าสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม ขนส่งและการบิน การแพทย์ครบวงจร การแปรรูปอาหาร และดิจิทัล โดย PTTGC ตัดสินใจลงทุนหลายโครงการระยะเวลา 1-2 ปี ซึ่งจะมุ่งเน้นทั้งการเสริมสร้างความสามารถการแข่งขันของธุรกิจปัจจุบันให้เข้มแข็ง แข่งขันได้และส่งผลให้ PTTGC สามารถดึงดูดพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีสูงให้เข้ามาลงทุนเพิ่ม  


ส่วนแผนการลงทุนของบริษัทฯ ใน EEC ประกอบด้วย โครงการ Map Ta Phut Retrofit เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันการผลิตโรงงานที่มาบตาพุด ก่อสร้างโรงงานแนฟทาแครกเกอร์ขนาดกำลังการผลิต เอทิลีนที่ 500,000 ตันต่อปี และโพรพิลีน 250,000 ตันต่อปี , โครงการ PO/POLYOLS ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ Sanyo Chemical Industries, Ltd. (SCI) และ Toyota Tsusho Corporation (TTC) จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อตั้งโรงงานผลิต Polyols & PU System ภายใต้บริษัทร่วมทุน GC Polyols เพื่อขยายธุรกิจขั้นปลายน้ำสู่กลุ่มอุตสาหกรรม Polyurethane ที่มีมูลค่าสูง   ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตลาดกำลังมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีกำลังการผลิต โพลีออล 130,000 ตันต่อปี และ PU Systems กำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปี โดยคาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ประมาณปี 2563  

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกวิศวกรรมชั้นสูงประเภท High-Heat Resistant Polyamide-9T (PA9T) และ Hydrogenated Styrenic Block Copolymer (HSBC) แห่งแรกในประเทศไทย โดยลงนาม ในสาระสำคัญของข้อตกลงสัญญาร่วมทุนเบื้องต้น (Key Terms Joint Venture Agreement) กับบริษัท Kuraray Co., Ltd และบริษัท Sumitomo Corporation จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในรายละเอียด โครงการร่วมทุนดังกล่าวมีกำลังการผลิตของ PA9T อยู่ที่ 13,000 ตันต่อปี และ HSBC อยู่ที่ 16,000 ตันต่อปี โดยใช้วัตถุดิบจาก PTTGC , โครงการ Biocomplex PTTGC มีนโยบายด้านการดำเนินงานธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยให้ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GGC) เป็นบริษัทแกนนำของธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Flagship Company) ของกลุ่ม PTTGC

 นอกจากนี้ การลงทุนของ PTTGC ยังคำนึงถึงการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนตามหลัก 2E 1S ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ เน้นการลงทุนต่าง ๆ การสร้างงาน ด้านสิ่งแวดล้อม มีการลงทุนผ่าน GGC รวมทั้งมีการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม มีการดูแลชุมชน สังคม และการศึกษา การวิจัยผ่านสถาบัน VISTEC  นอกจากนี้ PTTGC พร้อมที่จะร่วมเป็นพันธมิตรที่มีศักยภาพกับกลุ่มนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศอื่น ๆ  ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์อันยาวนานของ PTTGC ประกอบกับการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการสนับสนุนด้านการตลาด การจัดจำหน่ายและการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ทั่วทุกภูมิภาคของโลก จะส่งผลให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายในพื้นที่ EEC มีศักยภาพและต่อยอดสู่อุตสาหกรรมแห่งงอนาคตตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

เหล้าเถื่อนลาว

เสียชีวิตรายที่ 6 คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว

คลัสเตอร์เหล้าเถื่อนในลาว มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเสียชีวิตเพิ่มรายที่ 6 เป็นหญิงชาวออสเตรเลีย เสียชีวิตขณะรักษาตัวในไทย

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ.

ย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ช่วยปฏิบัติราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก หลังถูกร้องทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา พร้อมช่วยเจ้าทุกข์ย้ายหน่วยตามร้องขอ

ไฟไหม้โรงงานพัดลม เผาวอดเสียหายกว่า 50 ล้าน

ไฟไหม้โรงงานผลิตพัดลมรายใหญ่ จ.สมุทรสาคร ระดมรถดับเพลิงระงับเหตุ กว่า 5 ชม. จึงควบคุมไว้ได้ในวงจำกัด เบื้องต้นเสียหายกว่า 50 ล้านบาท

ข่าวแนะนำ

ศึกชิงนายก อบจ.เพชรบุรี แชมป์เก่ายังแรง

เลือกตั้งนายก อบจ.เพชรบุรี ไม่คึกคัก ผลไม่เป็นทางการ “ชัยยะ อังกินันทน์” แชมป์เก่า คะแนนนำทิ้งห่างคู่แข่ง ด้านเลขาฯ กกต. เผยภาพรวมทั้ง 3 จังหวัด คนมาใช้สิทธิน้อย คาดเบื่อเลือกตั้ง 2 รอบ

คะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ

ลุ้นผลคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ.นครศรีธรรมราช นับเสร็จแล้วบางหน่วย ล่าสุด ณ เวลา 19.40 น. “วาริน ชิณวงศ์” เบอร์ 2 จากทีมนครเข้มแข็ง ชนะคู่แข่งขาดลอยในหลายหน่วย คะแนนทิ้งห่างแชมป์เก่า “กนกพร เดชเดโช” เบอร์ 1 จากพรรค ปชป.

ลุ้นผลเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายก อบจ.อุดรธานี ขณะนี้การนับคะแนนตามหน่วยต่างๆ เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ในขั้นตอนการรวมคะแนน ซึ่งในเขตเมือง ผลปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรคประชาชนมีคะแนนนำ แต่อำเภอรอบนอก ตัวแทนพรรคเพื่อไทยมีคะแนนนำอยู่หลายหน่วยเลือกตั้ง

เร่งประสานอินเตอร์โพลขอหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ”

ตำรวจเตรียมออกหมายจับเครือข่าย “หมอบุญ” ฉ้อโกง ลอต 2 รวมทั้งเร่งประสานอินเตอร์โพล ออกหมายแดงล่าตัว “หมอบุญ” กลับมาดำเนินคดี