กรุงเทพฯ16 ส.ค.-บีโอไอหนุนผู้ประกอบการไทยออกลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน 6 ประเทศ ส่วนภาพรวมการออกไปลงทุนต่างประเทศปีนี้ จะมียอดลงทุนรวม 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
นางหิรัญญา สุจินัย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ กล่าวในการสัมมนา Thailand Oversea Investment Forum 2017 ว่า เพื่อบรรลุเป้าหมายนโยบายประเทศไทย 4.0 รัฐบาลจึงยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี พร้อม ส่งเสริมผู้ประกอบการออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน 6 ประเทศเป้าหมาย ได้แก่ เมียนมาร์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งบีโอไอ อยู่ระหว่างจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการลงทุนในประเทศเวียดนามที่กรุงฮานอยและที่กรุงจาการ์ต้าประเทศอินโดนีเซีย คาดว่า จะเปิดให้บริการในปีหน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่บีโอไอ จะทำงานร่วมกับทีมไทยแลนด์ในประเทศนั้น ๆ ขณะที่ประเทศเมียนมาร์ จะอยู่ในรูปโมบายยูนิตทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือกนักลงทุนไทย
เหตุผลที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากประเทศไทยมีค่าแรงสูงกว่า ในขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรฐษกิจต่ำกว่าประเทศเพื่อน การไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านจึงช่วยให้มีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น โดยผู้ประกอบการไทยจะได้รับโอกาสไปตั้งฐานการผลิต เพื่อแก้ปัญหาทั้งด้านแรงงาน วัตถุดิบและพลังงาน ปัจจุบันมีนักลงทุนผ่านการอบรม “หลักสูสร้างนักลงทุนไทยในต่างประเทศ” มาแล้ว 11 รุ่น มากกว่า 400 ราย โดย 89 รายไปลงทุนในต่างประเทศแล้ว และบีโอไอ ยังนำผู้อบรมหลักสูตรฯ รุ่นที่ 12-13 จำนวน 70 รายเดินทางไปศึกษาโอกาสและลู่ทางลงทุนในลาวและเวียดนามมาแล้ว
นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการ บีโอไอ กล่าวว่า ตัวเลขจัดเก็บโดยที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (อังค์ถัด) ระบุว่า ผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศภาพรวมในปีที่ผ่านมา มียอดรวม 13,229 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 463,015 ล้านบาท ประเทศที่นักลงุทุนไทย ออกไปลงทุนมากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งส่วนมากเป็นการลงทุนเพื่อออกไปลงทุนต่อในประเทศอื่น รองลงมาคือ เข้าไปลงทุนในประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีนและฮ่องกง ตามลำดับ
ส่วนปีนี้ ภาพการออกไปลงทุนในต่างประเทศบีโอไอคาดว่า จะมียอดรวมประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขการออกไปลงทุนปรับขึ้นลงตามการออกไปลงทุนของบริษัทขนาดใหญ่เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการออกไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน การลงทุนของไทยในประเทศเพื่อนบ้านเติบโตขึ้น
ส่วนมูลค่าการลงทุนของไทยในอาเซียนปี 59 ข้อมูลจากธนาคารแก่งประเทศำทย(ธปท.) พบว่า มียอดรวมอยูที่ 874,193 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29 ของเงินลงุทนในต่างประเทศทั้งหมด ประเทศในอาเซียนที่ไทยเข้าไปลงทุนมากที่สุดได้แก่ สิงคโปร์ รองลงมาคือ เวียดนาม มาเลเซีย และลาว ตามลำดับ ขณะที่อุตสาหกรรมที่ไทยออกไปลงทุนได้แก่ กิจการผลิตเช่น อาหาร เคมีภัณฑ์ เครื่องดื่ม รองลงมาคือ การค้าส่ง ค้าปลีก การเงินและการประกันภัย การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน รวมถึงการก่อสร้าง
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อาการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประเทศไทย จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับร้อยะ 3 ต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าอยู่ในระดับร้อยละ 6-8 ในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า การเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน จะให้โอกาสในการขยายตลาดขนาดใหญ่แก่ผู้ประกอบการไทย และยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นต้น ซึ่งสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ประเทศไทยที่มีอยู่แทบจะหมดลงไปแล้ว นอกจากนี้ การออกไปลงทุนในต่างประเทศ ยังช่วยแก้การขาดแคลนแรงงานและแก้ปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบได้ได้
ตัวอย่างโอกาสธุรกิจในอาเซียนที่ผู้ประกอบการไทยจะออกไปลงทุนได้ เช่น อาหารแปรรูป ผักผลไม้พรีเมี่ยม สินค้าอุปโภค-บริโภค โรงพยาบาล ร้านอาหาร พลังงาน วัสดุก่อสร้างเฟอร์นิเจอร์ ไลฟ์สไตล์ การขนส่ง การผลิตที่ใช้แรงงาน ไอที และการศึกษา-การฝึกอบรม
สำหรับการเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน แบ่งเป็น 2 กรณี กรณีเข้าไปลงทุนเพื่อมุ่งเข้าถึงตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน และกรณีเน้นการผลิตเพื่อส่งออกไปประเทศที่ 3 โดยกรณีเข้าถึงตลาด จะต้องเตรียมพร้อมลงทุนระยะยาว หาช่องว่าแข่งขันกับเจ้าตลาดรายใหญ่ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ร่วมมือกับผู้กระจายสินค้าหรือคู่ค้าที่มีแนวคิดตรงกัน และมีจุดแข็งเสริมกัน เข้าใจความแตกต่างของกำลังซื้อและพฤติกรรมการบริโภคในแต่ละพื้นที่ในประเทศใหญ่ มีพนักงานไปประจำ เพื่อให้เข้าใจตลาดอย่างแท้จริง ส่วนกรณีเน้นการผลิตเพื่อส่งออกไปประเทศที่ 3 การลงทุนควรลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมหรือ SZE เพื่อลดปัญหาที่ดิน และยังจะได้รับสิทธิประโยชน์จากการลงทุนมากกว่า อีกทั้งช่วยลดอุปสรรค์ด้านกฎระเบียบได้-สำนักข่าวไทย