กรุงเทพฯ 17 มิ.ย.-นายธเนศ วีระศิริ นายก
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)ยืนยันไม่ค้านใช้
ม.44 เร่งโครงการ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
แต่ควรให้คนไทยเข้าไปทำงานร่วมเพื่อให้เกิดการถ่ายโอนเทคโนโลยี
นายธเนศ กล่าวว่า ในขณะนี้มีข่าวลงคลาดเคลื่อนว่า ทาง
วสท. คัดค้านการใช้ มาตรา 44 ในการเร่งรัดโครงการโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่
1 กรุงเทพ-นครราชสีมา ซึ่งไม่เป็นความจริง การลงทุนอย่างรวดเร็วเป็นประโยชน์ต่อ
เศรษฐกิจของประเทศ แต่ที่แถลงข่าวออกมา คือ ขอโอกาสให้ ภาครัฐกำหนดให้ การทำงานให้วิศวกรคนไทย
หรือช่างของคนไทยมีโอกาสเข้าร่วมงานกับการทำงานของคนจีนด้วย เพื่อให้เกิดการการโอนถ่ายเทคโนโลยีในทุกระดับ
และเมื่องานก่อสร้างเสร็จสิ้น คนไทยจะได้ดูแลระบบโครงการได้เอง หรือมีความสามารถในการพัฒนาระบบรถไฟไดด้วยตัวเองบ้าง
ซึ่งการก่อสร้างในอดีตทุกโครงการ หากมีต่างชาติเข้ามาก่อสร้าง
คนไทยก็จะมีส่วนร่วมทั้งนั้น เช่น โครงการรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน โครงการขุดท่าเรือน้ำลึกสัตหีบที่สหรัฐ
ดำเนินการ ในขณะที่ โครงการถไฟฟ้าในจีน ในเกาหลีใต้
ที่เริ่มแรกก็เป็นต่างชาติมาก่อสร้าง แต่ก็ต้องมีวิศวกร จีน
เกาหลีใต้ทำงานประกบไปด้วย
“ ในข้อ 6 ของคำสั่ง
คสช.มาตรา 44 เรื่องรถไฟฟ้าไทย-จีน ยังเปิดช่องให้ รัฐบาลไทยกำหนดให้เกิดการประกบให้คนไทยทำงานร่วมกับวิศวกรจีนได้ ก็หวังว่ารัฐบาลจะเห็นความสำคัญเรื่องนี้
โดยข้อ 6 นั้นระบุว่า ในกรณีเห็นสมควรหรือมีปัญหาขัดข้องในการดําเนินการ
หรือกรณีมีข้อจํากัดทางกฎหมายอื่นใด นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีอาจเสนอให้ คสช.
แก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งนี้ได้”นายธเนศ
นายธเนศ ยัง ระบุด้วยว่า สภาวิศวกร
ซึ่งเป็น คนละหน่วยงาน กับ วสท.มีทำหน้าที่ดูแลวิศวกร ทั้งขึ้นทะเบียน
และกำกับดูแล ส่วนวิศวกรรมสถานฯหรือวสท.เป็นสมาคมวิชาชีพมีอายุ 74 ปีแล้ว
ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมการพัฒนาวิชาชีพให้กับวิศวกรและบุคคลทั่วไป
รวมถึงมีบทบาทให้ความช่วยเหลือประชาชน ทาง
วสท.ได้ติดตาม โครงการนี้ และเห็นด้วยกับสภาวิศวกรที่ได้เสนอให้นิติบุคลวิศวกรรม
และวิศวกร จีนที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในโครงการนี้ต้องผ่านการจดทะเบียนรับรองการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมของ
สภาวิศวกร เพราะการเข้าทํางานวิศวกรรมควบคุมในประเทศต่าง ๆ
วิศวกรผู้นั้นจําเป็นต้องมีความรู้ ทั้งในด้านกฎหมายก่อสร้าง สภาพการรับน้ำหนักบรรทุกของดินฐานราก
สภาวะ และการตอบสนอง ของน้ำหนักบรรทุกสําคัญ เช่น น้ำหนักบรรทุก แรงลม
และแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว รวมทั้งมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
การใช้กฎหมายมาตราพิเศษเพื่อยกเว้นให้วิศวกรจีนเช่นนี้จะสร้างความ เหลื่อมล้ำในการทํางานวิศวกรรมของวิศวกรต่างชาติ
“การขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกร ก็ไม่ใชเรื่องยาก
ที่ผ่านมาวิศวกรไม่ว่าจากประเทศไหน ก็ต้องผ่านขึ้นทะเบียน ด้วยวิธีการสอบสัมภาษณ์
เท่านั้น ไม่ได้ สอบข้อเขียน ที่ผ่านมาก็ทราบว่าทางสภาวิศวกร หารือกับภาครัฐ
และเห็นว่าหากจีนนำวิศวกรมา 100-200 คนมาทำงานก็ควรขึ้นทะเบียนเ พื่อให้ทราบกฏหมายไทย
อาจใช้เวลา1-2 เดือนเท่านั้น ไม่ได้ทำให้เกิดการกีดขวางโครงการหรือทำให้โครงการล่าช้าแต่อย่างใด”
นายธเนศ กล่าว–
ทั้งนี้ วสท.เสนอว่ รัฐบาลควรกําหนดให้มีการถ่ายโอน เทคโนโลยี (technology transferring) โดยสามารถดําเนินการได้ตั้งแต่การคํานวณออกแบบ (design) การกําหนดรายการประกอบแบบ และวัสดุ (specifications) การก่อสร้าง และการ ติดตั้ง (construction and erection) รวมทั้งการซ่อม และบํารุงรักษา (repair and maintenance) –สำนักข่าวไทย