ไทยพร้อมทบทวนข้อตกลงเจเทปา

กรุงโตเกียว 7 มิ.ย. – ไทย-ญี่ปุ่นหารือความร่วมมือยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ลงนาม 7 ฉบับ พร้อมทบทวนข้อตกลงเจเทปาร่วมพัฒนามากกว่าการลดภาษี 


นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมทีมเศรษฐกิจประชุมร่วมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 กรุงโตเกียว  โดยมีนายโยะชิฮิเดะ สึกะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น กับนายสมคิด เป็นประธานร่วม  การหารือครอบคลุมความร่วมมือยุทธศาสตร์เศรษฐกิจรอบด้านและแลกเปลี่ยนสัญญาลงนามร่วมกัน 7 ฉบับ  หัวใจสำคัญของการหารือครั้งนี้ คือ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นเขตเศรษฐกิจมุ่งเน้น 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีการลงทุน 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในระยะเวลา 5 ปี ทั้งการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาและศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกกรุงเทพฯ – ระยอง โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะ 3 ท่าเรือสัตหีบ และท่าเรือมาบตาพุด รวมทั้งการพัฒนาเมืองใหม่ 3 แห่งในภาคตะวันออก โดยกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (เมติ) พร้อมร่วมมือกับไทยพัฒนาอีอีซี 

นอกจากนี้ ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับการทบทวนข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปา) มุ่งการเปิดเสรีสินค้า บริการ และการลงทุนให้แก่กันและกัน แต่ความร่วมมือผ่านมานานแล้วและได้ส่งเสริมให้นักลงทุนทั้งประเทศเติบโตขึ้น จึงเห็นชอบให้ทบทวนกรอบข้อตกลงด้วยการเปลี่ยนแนวคิดจากเน้นการลดภาษี หันไปร่วมพัฒนาด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่อง Digital, Internet Of Think,AI หรือปัญญาประดิษฐ์ เพื่อช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านให้พัฒนารองรับการขยายการลงทุนของญี่ปุ่นได้ เริ่มนำร่องอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะมีเครือข่ายห่วงโซ่จำนวนมาก จึงมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ จัดเวทีเจรจาร่วมกับญี่ปุ่น 


รวมทั้งหารือความคืบหน้าความร่วมมือระบบราง โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยี “ชินคันเซ็น” ของญี่ปุ่น และการใช้เทคโนโลยีระบบรางของญี่ปุ่น เพื่อพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  หลังจากผลการศึกษาขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าในไทยผ่านระบบรางเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก – ตะวันตก เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีบางซื่อ เนื่องจากญี่ปุ่นแสดงความสนใจลงทุนสร้างระบบรางจากพระนครศรีอยุธยาต่อไปยังภาคตะวันออกเพิ่ม เพื่อหวังเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากไทยผ่านเมียนมาร์ต่อไปยังอินเดีย เพื่อร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่นผ่านระบบราง


เพราะญี่ปุ่นต้องการร่วมพัฒนาความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อเชื่อมโยงทางดิจิทัลสำหรับการค้าและการเงินรูปแบบใหม่ การยกระดับการค้าข้ามชายแดน การพัฒนาห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคเพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 นับเป็นแผนแม่บทกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) ไทยเตรียมเสนอระหว่างการเป็นประธาน ACMECS ปี 2561 รวมทั้งการหารือเพื่อความร่วมมือในการเสริมสร้างเอสเอ็มอีไทยในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเชื่อมโยงทางดิจิทัลระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (CLMVT) ทั้งนี้ จึงลงนามร่วมกันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคอุตสาหกรรมของไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการพัฒนาแรงงานคุณภาพทั้งหลังจากนายกรัฐมนตรีประกาศใช้ ม.44 เปิดทางให้พื้นที่อีอีซีตั้งโรงงาน วิทยาลัยอาชีว มหาวิทยาลัย ผลิตบุคคลากรตามความต้องการของภาคเอกชนในพื้นที่อีอีซี ยานยนต์ ระบบราง และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

นอกจากนี้ ยังลงนามความร่วมมือระหว่างกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่นกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  เพื่อร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล  และการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงระหว่างประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) ประจำกรุงเทพฯ กับอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงระหว่างประธานเจโทร  กรุงเทพฯ กับผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) และผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)  เพื่อจัดตั้งศูนย์รวมข้อมูลในไทยโดยใช้เทคโนโลยีสถานีอ้างอิงและปรับข้อมูลดาวเทียมนำทาง (CORS) จากดาวเทียมนำร่องที่มีประสิทธิภาพสูงจากที่เคยคลาดเคลื่อน 10 เมตร ลดเหลือ 10-20 เซ็นติเมตร เพื่อใช้ดูดาวเที่ยวแผนที่ นำเที่ยว อากาศยานไร้คนขับ ด้านอุตุนิยมวิทยา และอีกหลายด้านสำหรับพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งการใช้แผนที่ดาวเทียมวิเคราะห์ภูมิสารสนเทศสำหรับการตั้งโรงงานในพื้นที่อีอีซีพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลต่อเศรษฐกิจและสังคม และความเป็นธรรมลดปัญหาจากโรงงานในภายหลัง  

นายสมคิด กล่าวเพิ่มเติมว่า นายโยชิฮิเดะ สึกะ เลขาธิการ ครม.ญี่ปุ่น  พร้อมสั่งการให้ทุกหน่วยงานนำทีมมาร่วมจัดงานความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนไทย-ญี่ปุ่น ครบรอบ 130 ปี ช่วงนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเดินทางเยือนประเทศไทยปลายปีนี้.-สำนักข่าวไทย

ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

นร.หญิง ม.1 จมทะเลดับ หลังโรงเรียนพาไปทัศนศึกษาที่ระยอง

โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งใน จ.นครราชสีมา พานักเรียนไปทัศนศึกษาที่ จ.ระยอง นักเรียนหญิง ม.1 ถูกคลื่นดูดลงทะเลขณะเล่นน้ำ เสียชีวิต พ่อแม่สุดเศร้าสูญเสียลูกสาวคนเดียวของครอบครัว

น้ำท่วมเชียงใหม่

เชียงใหม่จมบาดาล น้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

น้ำท่วมในตัวเมืองเชียงใหม่ ยังวิกฤติ หลังน้ำในลำน้ำปิงขึ้นสูงสุดทรงตัวสูงกว่า 5.30 เมตร ซึ่งสูงที่สุดตั้งแต่มีการวัดระดับน้ำปิง

น้ำท่วมขนส่งเชียงใหม่กระทบผู้โดยสาร เปิดจุดจอดรับ-ส่งชั่วคราว

น้ำขยายวงกว้างเข้าท่วมสถานีขนส่งเชียงใหม่แห่งที่ 2 และ 3 เต็มพื้นที่ ระดับน้ำสูงเกือบ 50 ซม. ผู้ประกอบการขนส่งต้องนำรถทัวร์โดยสารออกมาจอดรับ-ส่งบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ ยืนยันผู้ประกอบการยังให้บริการตามปกติ

ระทึก! แท็กซี่พลิกคว่ำเกิดเพลิงไหม้ 5 ชีวิตรอดหวุดหวิด

รถแท็กซี่พลิกคว่ำและเกิดเพลิงลุกไหม้กลางถนนพระราม 9 ผู้โดยสารหญิงสติดีถีบประตูช่วยตัวเองและคนอื่นออกมาจากตัวรถรวม 5 ชีวิตได้ทัน แต่ในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 1 คน เป็นคนขับแท็กซี่ ตำรวจเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

ข่าวแนะนำ

เตรียมตั้ง 7 เตาไฟฟ้า พิธีพระราชทานเพลิงศพ นร.-ครู 23 คน

เตรียมพื้นที่ตั้ง 7 เตาไฟฟ้า กลางสนามโรงเรียนวัดเขาพระยาสังฆาราม จ.อุทัยธานี ในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นักเรียน-ครู 23 คน เหยื่อไฟไหม้รถบัสทัศนศึกษา วันที่ 8 ต.ค.นี้

เชียงใหม่ยังอ่วม เจอน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์

แม้ระดับน้ำปิงที่ทะลักท่วมตัวเมืองเชียงใหม่เริ่มลดลง จากที่เคยขึ้นสูงสุดถึง 5.30 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยวัดระดับมา จนทำให้เชียงใหม่เผชิญกับน้ำท่วมครั้งใหญ่สุดเป็นประวัติการณ์ บ้านเรือนหลายพันหลังและย่านการค้ายังจมน้ำ บางจุดยังท่วมสูงกว่า 2 เมตร ยังต้องเร่งอพยพผู้คนออกจากพื้นที่น้ำท่วม หลายคนต้องใช้ชีวิตอยู่ในรถที่จอดบนสะพาน

ภาคกลางเริ่มกระทบ น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วมบ้านประชาชน

น้ำเจ้าพระยาล้นข้ามถนนเข้าท่วมบ้านกว่า 30 หลังคาเรือน ต.ชีน้ำร้าย อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ส่วนชุมชุนริมท่าน้ำปากเกร็ด เริ่มกระทบ

ระทึก! เรือคณะนายอำเภอคว่ำ ขณะช่วยผู้ประสบภัย

กู้ภัยเข้าช่วยเหลือ เรือคณะนายอำเภอฮอดพลิกคว่ำ ขณะฝ่ากระแสน้ำเชี่ยวเข้าไปช่วยผู้ประสบภัย ขณะที่จุดอื่นในเชียงใหม่ เร่งอพยพประชาชนที่ยังตกค้าง